สินฝ้าย ผู้ใหญ่ที่เป็นภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง หรือ Borderline Personality Disorder จนทำให้เธอคิดฆ่าตัวตายถึง 2 ครั้ง และด้วยความโชคดีที่เธอรอดมาได้ และได้รับการรักษาจนกลับสู่ชีวิตปกติ ที่อยากให้ทุกคนที่เป็นภาวะนี้หรือคนใกล้ตัวได้อ่านเรื่องราวของเธอ ที่ยิ่งกว่าในนิยาย ในหนังสือ “ใต้รอยกรีด” It’s all about the cut.
ที่ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 47 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 17 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด เปิดตัวหนังสือ “ใต้รอยกรีด” It’s all about the cut. เขียนโดย “สินฝ้าย” อดีตผู้ป่วย ภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง หรือ Borderline Personality Disorder ร่วมกับ นพ.วิทยา วันเพ็ญ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ โรงพยาบาลพระราม 9 , อาจารย์เกษมสันต์ วีระกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด(มหาชน) และดำเนินรายการโดย คุณสุรางค์ ศรีษะ
“สินฝ้าย” เป็นหนึ่งในคนที่ป่วยเป็นภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง เธอใช้เวลา กว่า 1 เดือนในการเขียนเรื่องจริงของผู้หญิงคนหนึ่งที่เล่าออกมาให้ทุกคนได้เข้าใจว่าภาวะดังกล่าวเป็นอย่างไร “สินฝ้าย” เล่าว่า เธอเกิดมาแล้วรู้สึกว่าคุณแม่ไม่รัก เธอเป็นลูกคนกลาง โดยเธอคิดว่าเธออาจมีลักษณะนิสัยที่เหมือนพ่อที่ทิ้งแม่ของเธอไปมีครอบครัวใหม่ โดยวันแรกที่เธอเริ่มกรีดและทำร้ายร่างกายตัวเอง คือวันแรกที่เธอเริ่มมีประจำเดือน ช่วงนั้นเธอรู่สึก ว่า การกรีดเป็นเหมือนการทำให้ผู้ป่วยลืมแผลทางจิตใจที่เกิดขึ้น ซึ่งอาการที่เธอเป็นบานปลายจนไปถึงขั้นที่ ลองใจแฟนหนุ่มที่รักเธอมากด้วยการไปมีผู้ชายคนอื่น เพื่อพิสูนจ์คำที่ผู้ชายคนนั้นพูดว่า “จะอยู่กับเราตลอดไป” จริงหรือไม่ ?
นพ.วิทยา ให้เหตุผลว่า คนที่เป็นภาวะนี้จะไม่มีคำว่าตรงกลาง มีเพียงแค่ ขาวกับดำ “ถ้าเธอไม่ใช่คนดี เธอก็เป็นคนเลว” , “ถ้าเธอไม่รักเรา เท่ากับเธอเกลียดเรา” ผู้ป่วยจะไม่สามารถมองเห็นสีเทาหรือเขาใจตรงกลางระหว่าง ขาวและดำได้เลย
อาจารย์เกษมสันต์ ระบุว่า ภายในหนังสือเล่มนี้ “สินฝ้าย” เล่าว่าแฟนหนุ่มคนนี้รักเธอมาก ผ่านช่วงเวลาที่เธอกรีดเลือดจนต้องเข้าโรงพยาบาล ขณะที่เธอบ่นว่าไม่อยากนอนโรงพยาบาลก็พากลับมานอนที่บ้าน
อาการของ “สินฝ้าย” ขณะนั้นรุนแรงถึงขั้นที่ว่า ยิ่งรักมาก ยิ่งทำร้ายกันมากขึ้น เธอเคยทำร้ายร่างกายแฟนหนุ่ม และทำร้ายจิตใจมากขึ้น จนกระทั่งแฟนหนุ่มทิ้งเธอไป เธอระบุว่า “ในช่วงเวลานั้น เธอจะรู้สึกว่า แม้มีบางอย่างเปลี่ยนไป เราจะเห็นความเปลี่ยนไป เพียงแค่เขาออกไปหาเพื่อน ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เรารู้สึกว่าเขารักเราน้อยลง”
“แม่เป็นโรคไบโพล่าไม่ได้แปลว่าลูกจะเป็นไบโพล่าด้วย”
นพ.วิทยา ระบุว่า เราเป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน และถ้าหาคน คนนั้นเกิดมาในภาวะที่ไม่เหมาะสม จนทำให้บุคคลเหล่านั้นมีวิธีคิดต่างๆ และเป็นสาเหตุไปสู่โรคต่างๆ ภาวะทางจิตเหล่านี้เป็นผลมาจากหลายๆอย่าง ทั้งสภาพแวดล้อมทางสังคม จิตใจ และกรรมพันธุ์ อย่างไรก็ตามถ้าหกคนเป็นแม่ เป็นโรคไบโพล่า(อาการคนสองบุคลิก) ไม่ได้แปลว่าลูกจะเป็นไบโพล่าด้วย ซึ่งเคมีในสมองก็มีผลต่ออาการแปรปรวนทางจิตใจด้วย
หลังจากแฟนหนุ่มคนแรกของ “สินฝ้าย” ทิ้งเธอไป ทำให้เธออยู่เพียงตัวคนเดียวและทำให้ชีวิตเธอเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่แย่ลง ทั้งการสลับคู่นอนเพื่อคลายเหงา , การยิ่งเกี่ยวกับยาเสพติด และเธอก็ดำดิ่งลงไปเรื่อยๆ จากเดิมที่เธอคิดว่าจะสามารถควบคุมยาดสพติดมันได้ เธอก็ไม่สามารถความคุมมันได้และเธอรู้สึกว่าช่วงนั้นยาเสพติดเข้าไปมีส่วนทำให้สมองไม่สามารถแยกแยะอะไรได้เลย ทันทีที่ยาเสพติดเข้ามาผสม ทำให้อาการตอนนั้นเธอแย่ลง ไม่สามารถแยกแยะตรรกะต่างๆได้ จากเดิมที่กรีดและทำร้ายร่างกายเพื่อกลบอาการป่วยทางจิตใจ กลายเป็นกรีดเพื่อความสนุก
แม่กลับกลายเป็นคนแรกที่เธอตัดสินใจโทรหาเป็นคนแรก
เมื่อเธอรู้สึกว่าไปถึงจุดที่ตกต่ำที่สุดในชีวิต เธอกลับโทรหาคนที่เธอคิดว่าเกลียดที่สุดในชีวิต นั่นคือ “แม่” กลับกลายเป็นว่าแม่ของเธอเป็นคนที่เข้ามาช่วยเธอออกจากขุมนรกนี้ ซึ่งก่อนหน้านี้เธอเกลียดแม่ของเธอมากที่สุดเพราะเธอเป็นลูกคนกลางที่ทุกคนตามใจ ยกเว้นแม่ของเธอที่ไม่ตามใจอะไรเธอเลย แม่ของเธอเลือกที่จะพาเธอไปนั่งสมาธิ , ปฏิบัติธรรม เพื่อลดอาการต่างๆ ในช่วงที่ “สินฝ้าย” รู้สึกว่าไม่ต้องการทำอะไรเลย ในช่วงที่เธอ รู้สึกเหมือนม้าที่คึกคะนองแต่ต้องมานั่งสมาธิ แม่ของเธอก็บังคับให้เธอนั่งสมาธิ จนทำให้เธอสามารถกลับมาสู่โลกปกติ แต่อาการของเธอก็ยังมีอยู่ เมื่ออาการของเธอเริ่มดีขึ้น เธอเริ่มเข้ารับการรักษา ออกกำลังกาย และทานยาตามที่หมอสั่ง ช่วงนั้นเธอรู้สึกว่า การนั่งสมาธิที่แม่ทำเป็นตรรกะเดียวกัน คือ เดิมเธอกรีดร่างกายเพื่อบรรเทาทุกข์ในจิตใจ แต่สิ่งที่การนั่งสมาธิให้คือการนำความทุกทางจิตใจมาบรรเทาด้วยการควบคุมลมหายใจ
“สินฝ้าย” เคยผ่านการฆ่าตัวตายมาแล้ว ถึง 2 ครั้ง ทุกรอยสักของเธอคือการปิดบังรอยกรีดของเธอ ในหนังสือ “ใต้รอยกรีด” It’s all about the cut. ได้บอกเล่าเรื่องราวถึง ในการฆ่าตัวตายครั้งแรกของเธอ เธอถึงขั้นที่ผสมยาและเตรียมฉีดเข้าสู่ร่างกาย และครั้งที่ 2 ที่เธอคิดจะฆ่าตัวตาย คือช่วงเวลาที่เธอรู้ว่าเธอไม่สามารถหายขาดจากโรคนี้ได้ ประกอบกับเธอเป็นโรคซึมเศร้าจึงทำให้ เธอกลับมามีปัญหาอีกครั้งหนึ่ง แต่ก็ได้รักการรักษาจนสามารถกลับสู่สภาวะปกติได้
นพ.วิทยา ระบุว่า ผู้ป่วยภาวะนี้ในต่างประเทศ ที่ได้รับการรักษาจนกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ ผู้ป่วยจะมีการบอกเล่าประสบการณ์ที่พบเจอสู่ผู้ที่ป่วยโรคนี้ เพื่อให้ผู้ป่วยคนอื่นๆรู้ว่า “ภาวะนี้ถึงแม้ว่าจะไม่มีทางหายขาด แต่ก็สามารถรักษาได้ให้กลับมาใช้ชีวิตปกติ” โดยการรักษาจะต้องเริ่มจากการหาสาเหตุก่อน ซึ่งในกรณีของ “สินฝ้าย” คือการที่เธอรู้สึกว่าเธออยู่โดดเดี่ยวตัวคนเดียวและแม่ของเธอไม่รักเธอ แล้วจากนั้นจึงเริ่มการรักษาต่อโดยการพัฒนาวิธีคิด และประสบการณ์ใช้ชีวิตของผู้ป่วย ภาวะนี้จะต่างจากโรคซึมเศร้างตรงที่ โรคซึมเศร้าจะมีจุดพีคของแต่ละคน อาจจะใช้เวลา 2 สัปดาห์ ถึง 1 เดือน แต่ภาวะนี้กินระยะเวลายาวนานกว่ามาก
อาจารย์เกษมสันต์ กล่าวว่า สาเหตุที่ตัดสินใจตีพิมพ์เรื่องนี้อย่างรวดเร็ว เพราะมองว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคนอย่างแน่นอน ตอนกองบรรณาธิการอ่านต้นฉบับ ถึงกับน้ำตาคลอเบ้ากันไปตามๆกัน แม้หนังสือเล่มนี้อาจเหมือนนิยายเล่มหนึ่ง แต่ผมยืนยันเลยว่านี่คือเรื่องจริงของผู้หญิงคนหนึ่ง ที่มีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง หรือ Borderline Personality Disorder
“สินฝ้าย” ระบุว่า ตามกำหนดการณ์เดิมก่อนถึงงานเปิดตัว ทางทีมงานวางแผนว่าจะพูดคุยกับเธอผ่านทาง Skype(โปรแกรมคุยโทรศัพท์ทางไกล) เพราะเธอได้งานที่ประเทศตุรกี แต่ทันทีที่บริษัทของเธอเห็นรอยกรีดบนตัวเธอ บริษัทตัดสินใจส่งตัวเธอกลับประเทศไทย”ทันที” ซึ่งเธอได้แจ้งไปแล้วว่าเธอเคยมีภาวะนี้ เหตุการณ์นี้แสดงว่าไม่ใช่แค่คนไทยแต่คนทั่วโลกอีกหลายๆประเทศก็ยังไม่เข้าใจ ที่ไม่เข้าใจภาวะที่เธอเป็น
“ไม่ว่าใครก็ตามที่เป็นภาวะนี้หรือคนใกล้ตัวที่เป็นภาวะนี้สิ่งเดียวที่ต้องหาให้คือ กระจก ไม่ใช่กระจกเงา แต่เป็นกระจกที่จะสะท้อนตัวเขาเอง ให้เขาเห็นว่าสิ่งรอบตัวเขาเป็นอย่างไรและสิ่งที่เขาเป็นตอนนี้เป็นอย่างไร” สินฝ้าย กล่าว
สำหรับเรื่องราวของ “สินฝ้าย” ในหนังสือเรื่อง “ใต้รอยกรีด” It’s all about the cut. สามารถหาซื้อได้ที่ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 47 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 17 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ที่บูทซีเอ็ด V10 จนถึงวันที่ 7 เมษายน 2562 และพบกับสินฝ้ายได้ในวันที่ 30 มี.ค. เวลา 17.00 น. – 17.50 น. และ 31 มี.ค. เวลา 12.00 น. – 12.50 น.
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: