7 วันอันตราย วันที่ 5 เสียชีวิตเพิ่มอีก 54 ราย เจ็บ 494 ราย รวม 5 วัน เจ็บ 2,807 คน ลดลงจากปีที่แล้ว 290 คน ดื่มแล้วขับยังครองแชมป์สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ส่วนจักรยานยนต์นำที่ 1 ตลอด 5 วัน ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด
(16 เม.ย. 62)นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แถลงในฐานะประธานแถลงข่าวสรุปผลการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 62 ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผย สถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่ 15 เมษายน 62 ซึ่งเป็นวันที่ 5 ของการรณรงค์”ขับรถมีน้ำใจ รักษาวินัยจราจร” พบว่า
- เกิดอุบัติเหตุ 472 ครั้ง ลดลง 77 ครั้ง
- ผู้เสียชีวิต 54 ราย ลดลง 18 ราย
- ผู้บาดเจ็บ 494 คน ลดลง 77 คน
รวม 5 วัน ตั้งแต่วันที่ 11 – 15 เม.ย. 62
- เกิดอุบัติเหตุ 2,702 ครั้ง ลดลง 290 ครั้ง
- ผู้เสียชีวิต 297 ราย ลดลง 46 ราย
- ผู้บาดเจ็บ 2,807 คน ลดลง 290 คน
ส่วนจังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิตตายเป็นศูนย์ มี 8 จังหวัด จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 104 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ อุดรธานี 14 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 104 คน
สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่
- ดื่มแล้วขับ ร้อยละ 40.68
- ขับรถเร็ว ร้อยละ 27.54
ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 78.85 ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรง ร้อยละ 67.16
ข่าวน่าสนใจ:
- กาญจนบุรี พิธีตักบาตรพระ 10,000 รูป ฉลองตั้งเมือง 193 ปี พร้อมอุทิศส่วนกุศลแด่บรรพบุรุษผู้มีพระคุณต่อประเทศชาติ
- คู่แข่งนอกสายตานายก ก้อย “พนธ์ มรุชพงษ์สาธร” ขอวัดดีกรีว่าที่นายก อบจ.แปดริ้ว
- ระทึก เพลิงไหม้บ้าน 2 ชั้นวอดทั้งหลัง น้องแมว 7 ชีวิต รอดตายหวุดหวิด โดย 3 ตัวโดนไฟลวกบาดเจ็บ
- มุกดาหาร -เลขาธิการ ป.ป.ส. ควงแม่ทัพภาค 2 ลงเรือตรวจสกัดกั้นการนำเข้ายาเสพติดตามแนวชายแดนไทย-ลาว จ.มุกดาหาร
ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 16.01 – 20.00 น. ร้อยละ 32.42
ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุดอยู่ในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 23.36
ทั้งนี้ ได้จัดตั้งจุดตรวจหลัก 2,040 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 65,308 คน เรียกตรวจยานพาหนะ 1,092,735 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดี รวม 235,383 ราย มีความผิดฐานไม่สวมหมวกนิรภัย 64,926 ราย ไม่มีใบขับขี่ 57,452 ราย ทั้งนี้ได้มีการตรวจปริมาณแอลกอฮอล์ โดยการให้เป่าทางลมหายใจและในส่วนของผู้ที่ไม่สามารถเป่าได้ก็จะใช้วิธีการเจาะเลือด ซึ่งตั้งแต่วันที่ 11 -15 เมษายน มีผู้ขับขี่ที่ถูกส่งไปเจาะเลือดแล้วทั้งหมด 1,814 รายในจำนวนนี้มีปริมาณแอลกอฮอล์เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดร้อยละ 51 และในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปีพบปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดถึงร้อยละ 33 ขณะเดียวกันได้ดำเนินคดีกับสถานประกอบการและร้านค้าที่ทำผิดกฎหมายรวมทั้งสิ้น 1,301 ครั้ง โดยพบการกระทำความผิดขายนอกเวลา โฆษณาส่งเสริมการตลาด และขายในพื้นที่ห้ามขาย โดยเฉพาะการจำหน่ายสุราให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี และผู้ที่มีอาการมึนเมา ดังนั้นร้านค้าต้องไม่ขายสุราให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปีและผู้ที่เมาสุรา ไม่ขายในสถานที่ห้ามขายและไม่ขายนอกเวลา เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุช่วงทางบนท้องถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์
นพ.สุขุม กล่าวอีกว่า กระทรวงสาธารณสุขพร้อมให้การดูแลประชาชนที่เดินทางกลับจากภูมิลำเนาและกลับจากการท่องเที่ยวตลอด 24 ชั่วโมง โดยร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงมหาดไทย เจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ อาสาสมัคร และจิตอาสา โดยย้ำว่า ผู้ขับขี่สาธารณะต้องมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดเป็นศูนย์คือต้องห้ามดื่มอย่างเด็ดขาด ขณะเดียวกันเดียวกันกระทรวงสาธารณสุข ได้เตรียมความพร้อมทั้งในด้านบุคลากรแพทย์และพยาบาลขึ้นเวรเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์รวมถึงเตรียมเวชภัณฑ์และเลือดเกิน 110 เปอร์เซ็นต์เพื่อดูแลประชาชน อย่างไรก็ตามช่วงนี้ต้องระมัดระวังเรื่องการดื่มสุราแล้วบุกเข้ามาภายในโรงพยาบาล ซึ่งเป็นการรบกวนการทำงานของบุคลากรและอาจ ทำให้คนป่วยได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตได้อีกด้วย จึงต้องขอความเห็นใจและกระทรวงสาธารณสุขจะดำเนินคดีตามกฎหมาย โดยร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองตำรวจและอัยการ อย่างไรก็ตามในการป้องกันผู้เมาสุราบุกรุกนั้น ไม่สามารถปิดโรงพยาบาลห้ามไม่ให้คนเข้ามาได้ แต่มีการเน้นเรื่องการดูแลความปลอดภัยอย่างเข้มงวด โดยการล็อคประตู และเพิ่มเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้มากยิ่งขึ้นเพื่อเป็นการปกป้องเจ้าหน้าที่และปกป้องผู้ป่วย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: