X

เมื่อหมอทำหน้าที่ เกินเวลาเพื่อรักษาคนไข้ ทำไมกลับถูกสอบสวน ?

แพทย์และพยาบาลรวมตัวกันจัดประชุมเพื่อหาทางออกปัญหาที่เกิดขึ้นในกระทรวงสาธารณะสุข เมื่อหมอและพยาบาลทำเกินหน้าที่จนถูกดำเนินคดี เพราะการเล่นกำลังภายในโยกย้ายคนและงบภายในองค์การ

(3 พ.ค. 62) สมาคมแพทย์อาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย และเครือข่ายพัฒนาระบบกฏหมายเพื่อสังคมสมดุล จัดการประชุมปฏิบัติการ เรื่อง ทางออกความเป็นธรรมในระบบ ปปช. – สปสช. – สธ. ด้านการทุจริตต่อหน้าที่และงบแผ่นดิน ในการตรวจสอบการใช้เงินแผ่นดิน ของ สปสช. และ บทลงโทษทางวินัย การไล่ออกข้าราชการทางการแพทย์ ผู้สุจริตและเสียสละเพื่อผู้ป่วย ที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณะสุข

เนื่องจากก่อนหน้านี้ ปปช. มีข้อพิพาทกับข้าราชการสาธารณะสุข ใช้อำนาจตามกฏหมาย และวินิจฉัยการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ จนทำให้บุคลากรทางการแพทย์ ที่บริสุทธิ์และสุจริต บางส่วนถูกลงโทษให้ออกจากราชการ โดยที่ไม่มีการไต่สวน อีกทั้งยังมีกรณีการสอบสวนเรื่องงบประมาณของ สปสช. ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อประชาชน

พญ.เชิดชู สมสวัสดิ์ อริยศรีวัฒนา กรรมการแพทยสภา และ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ กรรมมาธิการการสาธารณะสุข สนช. ระบุว่า เป้าหมายการประชุมครั้งนี้เพื่อหาทางออกให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น เมื่อบุคลากรทางการแพทย์ถูกสอบสวนทั้งๆที่ทำเพื่อประชาชน เช่น หมอทำงานเกินเวลาเพราะผู้ป่วยรอเป็นจำนวนมาก หรือแม้กระทั่ง พยาบาลทำงานเกินเวลาจนไม่สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลับถูกดำเนินการสอบสวน ซึ่งปัญหาเหล่านี้เกิดเป็นปัญหาอยู่บ่อยครั้ง จึงอยากให้หน่วยงานต่างๆหันมาใส่ใจบุคลากรทางการแพทย์มากกว่านี้ พร้อมตั้งข้อสงสัยว่า “ทำไมการดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการถึงดำเนินการได้รวดเร็วกว่า ผู้ที่ทุจริตในระดับที่ใหญ่กว่านี้ทั้งๆที่หลายๆหน่วยงานก็ชี้มูลความผิดมาแล้ว ?” และเมื่อผู้ใต้บังคับบัญชาถูกชี้มูลความผิด จะมีผู้บังคับบัญชาคนไหนเอาหน้าที่ตนเองไปเสี่ยงเพื่อยื่นเรื่องต่อสู้ให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา ? เพราะเมื่อยื่นเรื่องอุธรณ์ไปแล้ว พบว่ามีความผิดจริง ผู้บังคับบัญชาก็ถูกสอบสวนอีก

“เรามีข้อกฏหมาย , ข้อจริยธรรมต่างๆบังคับเรา เราทำผิดจริยธรรมก็ไม่ได้ ทำงานกันสัปดาห์ละ 120 ชัวโมง แล้วยังกลับถูกสอบสวนอีก แล้วแถมถูกไล่ออกอีก” พญ.เชิดชู กล่าว

ซึ่งเรื่องที่เกิดขึ้นจริงคือ แพทย์และพยาบาลตามต่างจังหวัด ตามโครงการของ สปสช. คือ มีการเซ็นต์สัญญากับผู้อำนวยการโรงพยาบาล ทั้งที่ไม่อยู่ในขอบเขตอำนาจ ให้ส่งคนไปศูนย์อนามัยตำบล ทั้งๆที่แพทย์รายดังกล่าวต้องตรวจสัปดาห์ละ 5 วัน และต้องลงไปตรวจโรงพยาบาลระดับชุมชนอีก 4 วัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ กลับถูกดำเนินคดีทางวินัย นี่จึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เกิดปัญหาแล้วบุคลากรทางการแพทย์มองว่าไม่เป็นธรรม รวมถึงกรณีการทุจริจน้ำยาฟอกไตที่มีการเก็บที่ไม่มีประสิทธิภาพแล้วทำให้น้ำยาเสื่อมประสิทธิภาพ จนผู้ถูกร้องเองถูกฟ้องหมิ่นประมาทกลับ

“เราต่อสู้กับเรื่องพวกนี้จนทนายถามกลับเราว่า คุณหมอ-พยาบาล รักษาคนเพื่อประเทศชาติ แล้วประเทศชาติช่วยอะไรคุณหมอตอนถูกฟ้องหัวโตแบบนี้ ?”

นายภูมิวัฒน์ รัตนผล ผู้เชี่ยวชาญด้านการไต่สวนและกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ระบุว่า ปปช. จำเป็นต้องวินิจฉัยจากพยานหลักฐาน เพราะ ปปช. ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ แต่กำลังจะตัดสินเหตุการณ์นั้น โดยระบบราชการของไทย การทุจริตทำคนเดียวไม่ได้ ดังนั้นคนทำผิดมักทิ้งร่องรอยอยู่เสมอ ทั้งนี้ทั้งนั้น ปปช. ก็คำนึงถึงชื่อเสียงของผู้ถูกตรวจสอบด้วย อีกทั้งตามกฏหมายใหม่ ยังเปิดโอกาสให้ยื่นศาลปกครองวินิจฉัยอีกครั้งหนึ่งได้ ภายใน 30 วัน และ ผู้ถูกสอบมีสิทธิ์ที่จะรู้ว่าคณะกรรมการสอบสวนเป็นใคร พร้อมทั้งยื่นเรื่องให้เปลี่ยนคณะกรรมการสอบสวนได้หากมองว่า มีผลประโยชน์และทำให้ผลการสอบสวนไม่เที่ยงธรรม

สำหรับกระบวนการของ ปปช. มีการเปิดโอกาสให้ผู้ถูกสอบสวน ได้โต้แย้งข้อกล่าวหาและหาพยานหลักฐานมาชี้แจ้ง ไม่ได้ปักใจเชื่อทุกคำกล่าวหา ซึ่ง ปปช. เคยมีเอกสารส่งไปยังหน่วยงานต่างๆ ว่า ถ้าหากมีการสอบสวนจาก ปปช. จะไม่มีผลต่อการเลื่อนตำแหน่งและการโยกย้ายตำแหน่ง และเมื่อ ปปช. ตัดสินออกมาแล้วผู้บังคับบัญชาสามารถทำเรื่องโต้แย้งได้ และเมื่อตัดสินชี้มูลความผิดแล้วผู้ถูกร้องสามารถยื่นเรื่องอุธรณ์ภายใน 30 วัน ต่อศาลปกครองได้

ขณะที่ก่อนหน้านี้มีข้อสงสัยจากบุคลากรทางการแพทย์ ที่ว่า “ทำไม ปปช. ไม่เชียวชาญความผิดทางวินัย ทำไมถึงมาตัดสิน” นายภูมิวัฒน์ ระบุว่า ปปช. ไม่ใช่เชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่ง หรือไม่เชียวชาญ เพียงแต่ ปปช. พิจารณาตามหลักกฏหมาย การทำผิดแบบใด เข้าข่ายกฏหมายแบบใด และเมื่อวิเคราะห์ตามพยานหลักฐานแล้วมีความผิด กฏต้องนำมาเทียบกับฐานความผิดของ กพ.

ศาสตราจารย์จรัญ ภัคดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ระบุในแง้ของกฏหมายและทำความเข้าใจกับบุคลากรทางการแพทย์ ในหลักการของกฏหมายการบริหารงบประมาณและบุคลากรเพื่อป้องกันการทุจริตต่อหน้าที่และงบแผ่นดิน ระบุว่า บางครั้งบุคลากรทางการเงินก็จำเป็นต้องปฏิบัติตามคำสั่งหัวหน้า เพราะระบบราชการปัจจุบัน หากใครขัดใจหัวหน้า หรือ ทักท้วง ติติง ผู้ที่มียศสูงกว่า อาจไม่เจริญในหน้าที่การงาน และเมื่อถึงเดือนที่โยกย้ายข้าราชการ อาจถูกสั่งพ้นจากตำแหน่ง และเมื่อถูกตรวจสอบ บุคลากรชั้นผู้น้อยก็ถูกร่างแห เมื่อมีการดำเนินคดีด้วย

โดย ศาสตราจารย์จรัญ ให้เหตุผลว่า สาเหตุที่ ปปช. ต้องแข็งข้อ เพราะว่า ตัวบทกฏหมายถูกออกแบบให้ ปปช. จำเป็นต้องแข็งข้อเพื่อต่อสู้กับเนื้อร้ายของประเทศ คือ การคอรัปชัน เพราะการทุจริตเพียงแค่ 1 บาทก็ถือว่าทุจริตแล้ว ดังนั้นคนที่ตั้งใจทุจริตจึงไม่ทุจริตแค่ 1 บาท บางครั้งทำให้ บุคลากรทางการแพทย์เองก็ต้องรู้ขอบเขตของกฏหมาย และเปิดใจให้กว้างรับฟังข้อมูลจากข้าราชการชั้นผู้น้อย ซึ่งการบังคับใช้กฏหมายบางครั้งก็ต้องมีการปรับปรุง เพื่อให้ข้าราชการที่บริสุทธิ์และสุจริตมีกำลังใจในการทำงาน

ขณะที่ก่อนหน้านี้ กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์เคยรวมตัวเชิญเหล่าแกนนำพรรคการเมืองเข้ามาพูดคุยถึงสิ่งที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องการ ทั้งใน เรื่อง จำนวนบุคลากร และงบประมาณ ซึ่ง พญ.เชิดชู ตั้งเป้าหมายว่า หลังจากการประชุมครั้งนี้จะเกิดความเปลี่ยนแปลงและจะเรียกร้องต่อไปยังนายกรัฐมนตรีคนใหม่ และ รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณะสุขคนใหม่ เพื่อให้ปัญหานี้ได้รับการแก้ไข

อ่าน : หมอ-พยาบาล จัดเสวนา ตั้งคำถามกับพรรคการเมือง ก่อนเลือกตั้ง

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of นพฤทธิ์ กมลสุวรรณ

นพฤทธิ์ กมลสุวรรณ

ผู้ประกาศข่าว รายการ 77 ข่าวเด็ด ช่อง FIVE Channel HD / ผู้สื่อข่าว การเมืองและสังคม เว็บไซต์ 77ข่าวเด็ด และผู้สื่อข่าวออนไลน์ BrickinfoTV.com