“องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน” เปิด 6 ข้อส่งถึง “ประยุทธ์” สมัย 2 เน้นแก้ “คอร์รัปชัน” เชื่อวุฒิสภามีเกียรติมากพอ เมื่อต้องตรวจสอบรัฐบาล หวังดัชนีคอร์รัปชันปรับดีขึ้นเรื่อยๆ
(13 มิ.ย. 62)นายวิเชียร พงศธร ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เปิดเวที “ACT เรียกร้องรัฐบาลใหม่เน้นปราบโกง” พร้อมขอทุกพรรคการเมืองร่วมตรวจสอบการทำงานเพื่อความโปร่งใสของรัฐบาล ดำเนินรายการโดย ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการฯ โดยการรวบรวม 6 ข้อเสนอจากภาคประชาชน
นายวิเชียร พงศธร ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ระบุว่า คอร์รัปชันยังคงเป็นปัญหาวิกฤติที่ประชาชนต้องการให้มีการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เห็นได้จากผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประเด็นนี้อย่างต่อเนื่อง รัฐบาลใหม่จึงจำเป็นต้องมีนโยบายและลงมือปราบปรามคนโกงชาติด้วยอย่างจริงใจและจริงจัง เนื่องจากเป็นเงื่อนไขสำคัญต่อเสถียรภาพของรัฐบาลที่จะต้องได้รับความเชื่อถือจากประชาชนคนไทยและการยอมรับจากนานาประเทศ อันจะส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของชาติ ตลอดจนการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสังคมไทย
ข่าวน่าสนใจ:
- นนทบุรี กระบะเมา เฉี่ยว จยย.ล้ม พลเมืองจอดช่วย กับถูก จยย.อีกคันพุ่งชนซ้ำเจ็บ 4
- กกต.ตรัง พร้อมเปิดสนาม จัดเลือกตั้งอบจ. เปิดยิม 4,000 ที่นั่งรับสมัคร พื้นที่กว้างขวางรองรับกองเชียร์ผอ.กกต.ตรัง เผยการข่าวพบ 3…
- บุรีรัมย์ ปล่อยแถวระดมกวาดล้าง ตรวจค้น ยาเสพติด ก่อนปีใหม่
- เก๋งซีวิคพุ่งชนต้นไม้ หนุ่มฮ่องกง-สาวไทย ติดคาซากรถเจ็บสาหัส คาดหลับในหลังกลับเที่ยวงานเทศกาลดนตรีชื่อดัง
องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ ได้รวบรวมความคิดเห็นของประชาชนและทบทวนงานที่ภาคส่วนต่างๆ ได้ขับเคลื่อนตลอดมา เพื่อกำหนดเป็นข้อเสนอถึงรัฐบาลชุดใหม่ รับไปเป็นนโยบายด้านการต่อต้านคอร์รัปชันและการสร้างเสริมระบบธรรมาภิบาล ให้สอดคล้องกับเสียงเรียกร้องของประชาชน ใน “6 วาระสำคัญ” ดังนี้
- รับฟังเสียงประชาชน ปกป้องและสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน
- เปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างและการใช้อำนาจในการบริหาร ที่ประชาชนเข้าถึงง่ายเพื่อมีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบ ซึ่งจะช่วยสร้างความไว้วางใจจากประชาชน อีกทั้งยังเป็นการสร้างความโปร่งใสและแสดงถึงการมีธรรมาภิบาลในการบริหารประเทศ
- กำกับดูแลคนในพรรคร่วมรัฐบาลอย่างเคร่งครัด ไม่ให้มีพฤติกรรมฉ้อฉล คดโกง และมีมาตรการลงโทษ ถอดถอนอย่างชัดเจน หากมีปัญหาส่อเค้าไปในทางทุจริตควรแก้ไขโดยพลัน
- สนับสนุนให้องค์กรตรวจสอบ เช่น ป.ป.ช. ได้ทำงานอย่างเป็นอิสระ ปราศจากการแทรกแซง
- เรื่องโยกย้ายข้าราชการ ควรโปรงใสและเป็นธรรม ไม่เห็นแก่พวกพ้อง ก็จะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือในสังคม
- การสร้างความต่อเนื่องในการบังคับใช้กฏหมาย ระเบียบปฏิบัติต่างๆอย่างเข้มข้น และลดทอนส่วนที่ไม่จำเป็น เช่น ระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างที่ผ่านมา ที่เข้มงวดมากขึ้น และมีประสิทธิภาสูง หลายโครงการสามารถประหยัดงบประมาณไปได้หลายหมื่นล้านบาท
นายวิเชียร ระบุว่า ที่ผ่านมา การเข้าไปตรวจสอบโครงการใหญ่ๆ ได้รับความร่วมมืออยู่ในระดับที่ดี บางโครงการอาจจะได้รับความร่วมมือไม่เต็มที่เพราะอาจจะยังไม่คุ้นเคยในการร่วมมือกับหน่วยงานใหม่ๆ ซึ่งหากพบผู้ที่มีเจตนาไม่บริสุทธิ์ ก็มีกลไกในการแก้ไขอยู่ เช่นการรายงานต่อหน่วยงานต้นสังกัด
ปัจจุบันมีการนำเรื่องของคอรัปชั่นมาเป็นเครื่องมือทางการเมือง ทางองค์กรฯ มองว่า การที่ได้รับข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานต่างๆหรือสื่อมวลชน องค์การฯก็มีกระบวนการกลั่นกรองอยู่เสมอ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราจะต้องยังคงความน่าเชื่อถืออยู่ด้วย เรื่องไหนที่เราพบการทุจริตก็ยังต้องส่งให้หน่วยงานก็ต้นสังกัดอยู่ และส่วนที่ต้องเปิดเผยต่อสาธารณะชนก็ต้องอาศัยสื่อมวลชนในการเผยแพร่ ดังนั้นเมื่อถึงจุดที่ประชาชนจะได้รับทราบก็จะผ่านกระบวนการกลั่นกรองมาระดับกนุ่งแล้ว ซึ่งการติดตามผลว่าโครงการต่างๆมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสิน และองค์กรฯ ก็มีเครื่องมือวิจัยที่นำข้อมูลมาวิเคราะห์มากกว่านำความรู้สึกมาวิเคราะห์ เช่น การวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่เรียกว่า CSI : Corruption Situation Index ที่จะมีการสำรวจข้อมูลทุกๆ 6 เดือน และช่วงปลายปีที่ผ่านมา ก็มีการทำแบบสำรวจความคิดเห็นหรือที่เรียกว่า “โพล์ต้านโกง(แบบสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อนโยบายการต่อต้านคอรัปชั่น)”
ซึ่งนอกเหนือจากฝ่ายบริหารที่จะทำการตรวจสอบแล้ว ฝ่ายนิติบัญญัติอย่างรัฐสภา
หากเห็นเรื่องราวที่มิชอบ ก็สามารถเข้ามาตรวจสอบและสร้างธรรมาภิบาลให้กับระบบการเมืองไทยและการแก้ไขต่อระบบการคอร์รัปชันได้ ซึ่งองค์กรฯ ก็ต้องทำงานร่วมกับรัฐบาล แต่ก็ต้องตรวจสอบรัฐบาลไปด้วย
ส่วนความกังวลที่หลายฝ่ายมองว่า สมาชิกวุฒิสภา ได้รับการแต่งตั้งจาก คสช. จะส่งผลต่อการตรวจสอบรัฐบาลใหม่หรือไม่เรื่องนี้นายวิเชียร เชื่อว่า ส.ว. มีเกียรติเพียงพอ เมื่อถึงเวลาที่ต้องใช้ธรรมาภิบาลและใช้การตรวจสอบจะตรวจสอบอย่างดี อย่างไรก็ตามประชาชนยังจับตาดูอยู่
ขณะที่อีกหนึ่งเรื่องที่ทั่วโลกจับตามองและจัดอันดับอยู่ คือ ดัชนีภาพลักษณ์การคอร์รัปชั่น (CPI : Corruption Perception Index) นายวิเชียร มองว่า คะแนนมาจากหลายส่วน การกำหนดเป้าคงเป็นเรื่องที่ยาก การแก้ไขไม่กี่โครงการคงไม่ได้ทำให้คะแนนเราดีขึ้น แต่ต้องแก้ไขอย่างเป็นระบบ แต่ส่วนตัวก็อยากให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ อยากให้หลังจากนี้
ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการฯ ระบุว่า เดิมกฏหมาย พ.ร.บ.ข่าวสาร มีมาตั้งแต่ปี 2542 แต่ที่ผ่านมา มีการเรียกร้องให้แก้ไขมาตลอด จึงมีการเขียนกฏหมายขึ้นมาใหม่ คือ พ.ร.บ.การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาธารณะ ซึ่งเป็นข้อเสนอที่ถอดออกมาจาก รธน. ที่เขียนไว้ ในช่วงที่ผ่านมา ข้อเสนอเรื่องการเปิดเผยข้อมูลสู่ประชาชนจริงๆ ยังไม่มีความคืบหน้ามากนัก ตัว พ.ร.บ.อย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ ต้องมีมาตรฐานในการเปิดเผยให้ประชาชนเข้าถึงได้อย่างเต็มที่ เช่น รูปแบบดิจิทัล หรือ การเผยแพร่บนเว็บไซต์
สำหรับหลักการสำคัญประการหนึ่งขององค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) หรือ ACT ในฐานะที่เป็นองค์กรภาคประชาชนที่มีหน้าที่ขับเคลื่อนการต่อต้านคอร์รัปชัน คือ การที่จะติดตาม ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลควบคู่ไปกับการสนับสนุนและพร้อมให้ข้อเสนอแนะด้วยเช่นกันในการผลักดันกฎหมายและสร้างกลไกเพื่อให้เกิดการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมกับการสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชน โดยมีเป้าหมายสูงสุดมุ่งเน้นเรื่องความยั่งยืนของประเทศเป็นที่ตั้ง
นายวิเชียร พงศธร ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) กล่าวว่า ก่อนที่รัฐบาลจะแถลงนโยบายพัฒนาประเทศต่อสาธารณชนในด้านต่างๆ
ซึ่งในส่วนท้องถิ่นก็มีโครงการชื่อ CoST ซื่งเป็นโครงการที่ตรวจสอบโครงการก่อสร้างในระดับท้องถิ่น อีกทั้งยังมีโครงการ “หมาเฝ้าบ้าน” ที่คอยจับตาท้องถิ่น ถึงแม้ว่าทั้งประเทศจะมีผู้ที่ผ่านการอบรมในครั้งนี้เพียง 1,000 คน และมีผู้ที่นำไปปฏิบัติและส่งข้อมูลกลับมายังองค์กรฯไม่มากนักแต่ ผู้ที่ผ่านการอบรมโครงการนี้ ก็มีเครือข่ายอยู่ในท้องถิ่นที่ตนเองอาศัยอยู่ ดังนั้นกลุ่มคนเหล่านี้จะรู้ว่าเมื่อได้รับข้อมูลจากเครือข่ายแล้วจะต้องทำอย่างไรต่อ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: