“กองทุนสื่อปลอดภัย” จัดเสวนานานาชาติในการต่อต้าน “ข่าวปลอม” และแบ่งปันความรู้ จากสำนักข่าวระดับโลกอย่าง “เอเอฟพี” , “รอยเตอร์” และนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนจากต่างประเทศ เพื่อหาแนวทาง รวมถึงสร้างการรู้เท่าทันสื่อในองค์กรต่างๆที่เข้ารวมการเสวนา
(17 มิ.ย. 62)นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และอีก 7 ภาคีเครือข่ายนักวิชาการและนักวิชาชีพสื่อ จัดงาน “International Conference on Fake News” โดยได้รับเกียรติจากผู้แทนภาคีเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศเข้าร่วมงาน อาทิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัล ไต้หวัน , นักวิชาการด้านสื่อมวลชน มหาวิทยาลัยฮ่องกง , นักเคลื่อนไหวทางการเมืองเรื่อง Free Democrat Party จากเยอรมนี , ตัวแทนจากสำนักข่าว รอยเตอร์(Thomson Reuters) และ เอเอฟพี(AFP) ซึ่งนอกเหนือจากการเสวนาในช่วงเช้า ยังมีการอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้กับผู้ร่วมเสวนาเพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับข่าวปลอม โดยเป้าหมายในครั้งนี้เพื่อทำให้สื่อมวลชนควรทำเมื่อมีการเผยแพร่ข่าวลวงในสังคม
โดยนายวสันต์ ภัยหลีกลี้ ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ระบุว่า
ข่าวปลอมเป็นเรื่องที่สามารถสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงทั้งในไทยและต่างประเทศ ซึ่งสถานการณ์นี้มีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากขึ้น และมองว่าการเสวนาในครั้งนี้จะทำให้ประชาชนและสื่อมวลชนมีภูมิต้านทานข่าวปลอมและรู้เท่าทันสื่อ
สำหรับเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาภาคีเครือข่าย นักวิชาการและนักวิชาชีพสื่อทั้ง 8 แห่งประกอบด้วยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ , มูลนิธิฟรีดริช เนามัน , สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) , คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ , สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ , องค์การกระจายเสียงและการแพร่สาธารณะแห่งประเทศไทย(ThaiPBS) ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือและประกาศปฏิญญารวมพลังขับเคลื่อนและต่อต้านข่าวลวง , ข่าวปลอม รวมถึงร่วมมือในการจัดงานครั้งนี้ เพื่อแบ่งปันข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์ในการรับมือปัญหาข่าวปลอมและข่าวลวงของแต่ละประเทศ โดยการร่วมมือกันของภาคีเครือข่าย ซึ่งการจัดงานครั้งนี้จะเป็นการสร้างจุดเริ่มต้นในการขับเคลื่อนสังคมไทยให้สามารถรับมือกับปัญหานี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้านคุณคัทรินทร์ บันนัคค์ ผู้อำนวยการศูนย์ มูลนิธิฟรีดริช เนามัน องค์กรส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพเพื่อประชาธิปไตยแบบเสรี ประจำประเทศไทย ระบุว่า องค์กรของเรา ก่อตั้งมาเมื่อประมาณ 60 ปีก่อน ภายหลังจากยุคสงครามโลก ครั้งที่ 2 ในยุคนั้นเราต้องการที่จะทำให้ประชาชนไม่ต้องการระบอบเผด็จการนาซีเหล่านั้น เพราะฉะนั้นวิธีการที่เราทำนั่นก็คือ การสร้างความรู้และความเข้าใจให้กับพี่น้องประชาชน ซึ่งหนึ่งในเครื่องมือของเผด็จการเหล่านั้น คือ การสร้างโฆษณาชวนเชื่อ เราจึงมองว่า ควรจะมีการสร้างภาคีเครือข่ายทั่วทั้งโลกเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ขณะที่ในปัจจุบันทุกคนก็สามารถที่จะเข้าถึงข้อมูลและเผยแพร่ข้อมูลได้ด้วยตนเอง เพราะฉะนั้นจึงถือเป็นอีกหนึ่งความท้าทาย สำหรับมูลนิธิเนื่องจากบางข้อมูลอาจเป็นข่าวปลอมและทำให้ประชาชนเข้าใจผิด และในยุคที่สื่อสังคมออนไลน์เข้ามามีบทบาทสำคัญหน้าที่ของเราคือการที่ต้องการข่าวลวงและข่าวปลอมเรานั้นไม่ให้มีผลต่อประชาชน
ไต้หวันสร้างรัฐบาลที่โปร่งใสเพื่อลดข่าวปลอม
ขณะที่นายออเดรย์ ถัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลของไต้หวัน มองว่า แต่ละคนมีหน้าที่แตกต่างกัน ซึ่งรัฐบาลก็มีหน้าที่สร้างความปลอดภัยและความมั่นคงให้กับประเทศ ส่วนสื่อสารมวลชนก็มีหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลให้กับพี่น้องประชาชน สถานะการณ์ในประเทศไต้หวันเอง สิ่งที่เรียกว่าข่าวปลอม คือ สิ่งที่มีผลต่อสังคมและประชาธิปไตย ซึ่งในประเทศไต้หวันใช้เวลาเฉลี่ย 60 นาทีในการที่จะตอบโต้ต่อข่าวลือต่างๆ ซึ่งข่าวหนึ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไต้หวัน คือข่าวปลอมที่ระบุว่า “การปลูกผมสำหรับคนหัวล้านจะต้องโดนปรับ 1 ล้านดอลลาร์ไต้หวันและจะเริ่มมีผลในช่วงสัปดาห์หน้า” โดยทันทีที่ ประธานธิบดีหญิงของไต้หวันทราบก็ตอบโต้ออกมาอย่างรวมเร็ว ว่า “ถึงแม้ฉันมีโอกาสที่จะหัวล้าน แต่ฉันก็คงไม่ลงโทษคนที่หัวล้านแบบนั้น”
ขณะที่วิธีที่ไต้หวันจะต่อกรกับข่าวปลอมและข่าวลือเหล่านี้คือการที่มีภาคีเครือข่ายและการร่วมมือกันของหน่วยงานต่างๆในการตรวจสอบข้อมูลต่างๆ คุณถึงมีการใช้ระบบตอบโต้อัตโนมัติในการเช็คข่าวลือและข่าวปลอมผ่านแอพพลิเคชั่นที่ประชาชนใช้ เช่น Line เพราะระบบตอบโต้อัตโนมัติไม่มีงานอารมณ์เสียและจะตอบโต้กลับอย่างสุภาพเสมอ ขณะที่ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมามีการหาเสียงอย่างบริสุทธิ์ใจรวมถึงมีการป้องกันโฆษณาชวนเชื่อจากต่างชาติด้วยการตรวจสอบแหล่งที่มาของเงินทุนต่างๆของผู้ลงสมัครเลือกตั้ง
อีกหนึ่งวิธีที่ไต้หวันใช้นั่นก็คือการที่เปิดกว้างให้กับพี่น้องประชาชนในการเข้ามาร่วมพูดคุยและระบุถึงปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นโดยมี 1 วันในสัปดาห์ที่ ให้ประชาชนเข้ามาร่วมพูดคุยกับรัฐมนตรี รวมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคน อยู่ในระบบที่รัฐบาลเปิดกว้างให้ประชาชนตรวจสอบผ่านทางระบบออนไลน์ การทำให้รัฐบาลที่เปิดเผยและทำให้พี่น้องประชาชนเชื่อก็ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง แล้วเมื่อประชาชนเชื่อสื่อสารมวลชนก็ทำหน้าที่ของตนเองและรายงานอย่างตรงไปตรงมา รวมถึงทำให้การทำงานของรัฐบาลโปร่งใสมากขึ้น
ในอนาคตแอพพลิเคชั่นไลน์จะมีการร่วมกับรัฐบาลไต้หวันเพื่อที่จะตรวจสอบข่าวปลอมโดยการ นำเอาระบบตรวจสอบ ข่าวปลอมของรัฐบาลไต้หวันเข้ามาใช้และเผยแพร่ในแอพพลิเคชั่นของตนเอง นอกเหนือจากการตรวจสอบข่าวปลอมแล้วรัฐบาลมีการส่งเสริมให้ประชาชนรู้เท่าทันสื่อในการสร้างซีรีส์โทรทัศน์ในการให้ความรู้ประชาชน
นายออเดรย์ ถัง มองว่า การรายงานข่าวระหว่างสำนักข่าวในเอเชียและสำนักข่าวในยุโรป ไม่ได้แตกต่างกันมากในแง่ของการ เสาะแสวงหาข่าวและรายงานข่าว แต่แตกต่างกันในแง่ของความเป็นไป ในการทำข่าวที่รุนแรงน้อยกว่า ในยุคที่ทุกๆคนมีสื่ออยู่ในมือของตนเอง รัฐบาลจะไม่ทำการปิดใช้ดังกล่าว เป็นเรื่องราวที่ ร้านหลังแผ่ไต้หวันจะใช้วิธีการบอกกล่าวให้กับประชาชนทราบว่าความจริงคืออะไรและประชาชนจะเป็นผู้ตัดสิน
ขณะที่ภายในงานมีการเสวนาเรื่อง “การต่อกรกับข่าวปลอม และนโยบายเพื่อต่อกรกับข่าวปลอมที่เกิดขึ้น” โดยมีตัวแทนจาก มหาวิทยาลัยแห่งฮ่องกง , สำนักข่าวรอยเตอร์ , สำนักข่าวเอเอฟพี , องค์กรข่าวออนไลน์ที่ไม่หวังผลกำไรในฟิลิปปินส์(Vera Files) และ ตัวแทนจากสภาผู้แทนราษฎรเยอรมนี
นายมาซาโตะ คาจิโมโต้ นักวิชาการด้านสื่อมวลชน มหาวิทยาลัยฮ่องกง ระบุว่า ทุกคนจะต้องเข้าใจบริบทว่าข่าวปลอมคืออะไร คนที่ทีข่าวปลอมเขาทำเพื่ออะไรและมีจุดมุ่งหมายอะไรในการสร้างข่าวปลอม เพื่อที่พวกเขาจะได้บอกได้ว่าตอนไหนคือข่าวปลอมและขาวจริง แต่สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือ เข้าพบส่วนใหญ่มักมาพร้อมกับข่าวการเมือง ดูในหลายๆประเทศมีเกณฑ์ในการตรวจสอบข่าวต่างๆและเปิดกว้างให้ทุกๆคน ในการเช็คข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ
สำนักข่าวระดับโลกต่อกรกับ “ข่าวปลอม” อย่างไร ?
คุณนูอาส-นา ซานูซี สำนักข่าวรอยเตอร์ ระบุว่า สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ผู้ศึกษาจะต้องไม่ด่วนตัดสินใจว่าเรื่องใดเป็นเรื่องจริงหรือเรื่องใดเป็นข่าวลวง แต่สื่อมวลชนจะต้องทำได้ที่บอกว่าประชาชนอย่าเพิ่งแชร์ข่าวต่างๆในแผ่นที่ให้รอการตรวจสอบจากสำนักข่าวที่เชื่อถือได้ก่อน ตัวอย่างการทำงานของสำนักข่าวรอยเตอร์ ซึ่งรอยเตอร์มองว่าการที่แต่ละคนอยู่ในพื้นที่แล้วพบเห็นเหตุการณ์ดังกล่าว กลับลืมเรื่องของการตรวจสอบข้อเท็จจริงบางอย่าง ไป ดังนั้นหน้าที่ของผู้ที่อยู่ภายในสำนักงานจะต้องทำหน้าที่ในการตรวจสอบข้อมูลต่างๆที่ไหลเข้ามาในระบบ
ขณะที่สิ่งหนึ่งที่สำนักข่าวรอยเตอร์ทำนั่นก็คือเวลาที่นำภาพมาจากอินเทอร์เน็ต ภาพเหล่านั้นจะต้องระบุแหล่งที่มาได้ด้วย เหตุการณ์สึนามิที่ “ปาลู” สิ่งที่ รอยเตอร์ทำนั่นก็คือการติดต่อคนรอบข้างเพื่อที่จะติดต่อไปยังคนถ่ายคลิปและระบุแหล่งที่มา ความเร็วก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ข่าวเข้าถึงคนเป็นจำนวนมากแต่ความถูกต้องก็เป็นสิ่งหนึ่งที่เราจะต้องคำนึงถึง แม้ข่าวที่เรานำเสนออาจจะล่าช้ากว่าคนอื่นๆแต่ข่าวของเราก็ตรวจสอบแล้วว่าเป็นเรื่องจริง ซึ่งบางครั้ง ก็ไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีต่างๆมากมาย เพียงแค่ใช้เทคโนโลยี “การค้นหาภาพในกูเกิ้ล” ก็สามารถตรวจสอบได้ว่าคราวต่างๆเป็นเรื่องจริงหรือไม่ โดยยกตัวอย่างภาพในกรณีที่ มีข่าวว่ากองทัพเมียนมาร์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยจากการตรวจสอบของรอยเตอร์ พบว่าภาพดังกล่าว คือ ภาพของสถานการณ์อื่นแล้วนำมาสร้างความเข้าใจผิด
นายอีริค วิซซาร์ด สำนักข่าวเอเอฟพี ระบุว่า ปัจจุบันผู้คนเชื่อมั่นในสื่อสารมวลชนน้อยลง สิ่งหนึ่งที่ สำนักข่าวเอเอฟพี พยายามทำมันก็คือสร้างความเชื่อมั่นให้กับพี่น้องประชาชนอีกครั้งหนึ่ง ปัจจุบันมีการสร้างข่าวปลอมเยอะมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสุขภาพเรื่องของการเมืองเศรษฐกิจและสังคมและมีความแนบเนียนเพิ่มมากขึ้น เรามองว่าประชาชนจะต้องมีความรู้เท่าทันสื่อด้วย ในอดีตมีกระบวนการมากมายในการส่งข่าวจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งแต่ในปัจจุบันการส่งข่าวต่างๆมีความรวดเร็วเพิ่มมากขึ้นจนทำให้ประชาชน และผู้ที่ทำงานด้านสื่อสารมวลชนตรวจสอบข่าวได้ไม่ทัน หนังสือจะต้องปรับตัวให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลก
สำนักข่าวเอเอฟพีเองก็มีเรื่องของหลักการต่างๆในการเขียนข่าวต่างๆและการนำเสนอข่าวของสำนักข่าว ดังนั้นนักข่าวของ AFP จะมีกฏเกณฑ์ต่างๆมากมายก่อนที่จะนำเสนอเพื่อให้ประชาชนไว้วางใจ
สำนักข่าว AFP มีนักข่าวประมาณ 40 คนในการทำการตรวจสอบค่าต่างๆที่เกิดขึ้นบนสื่อสังคมออนไลน์ทั่วโลก ร้านอาหาร 10 ของการทำงานเป็นการหาข่าวและอีกร้อยละ 50 เป็นการตรวจสอบข่าวดังกล่าวที่หามาซึ่งทางสำนักข่าวมีการเริ่มทำการตรวจสอบข่าวจากสถานที่ต่างๆที่แรกในแอฟริกา
ในยุโรปเองก็มีการทำการตรวจสอบภาคีเครือข่ายสื่อต่างๆภายใต้ชื่อ Cross Check ซึ่งค่าต่างๆที่ถูกส่งเข้าไปในระบบจะถูกตรวจสอบโดยภาคีเครือข่าย ซึ่งในตัวอย่างของสิ่งที่เครือข่ายทำได้ก็คือข่าวของนายเอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ที่มีข่าวลือว่า ไปเปิดบัญชีเงินในต่างประเทศ เมื่อตรวจสอบแล้วกลับพบว่าไม่เป็นความจริง และข่าวไหนที่ไม่เป็นความจริงก็จะไม่ถูกเผยแพร่ไหนภาคีเครือข่ายสื่อที่อยู่ใน Cross Check
ตรวจข่าวปลอมทำคนเดียวไม่ได้
ลูซิเลีย เอส โซดีเป จาก VERA Files องค์กรข่าวออนไลน์ที่ไม่หวังผลกำไรในฟิลิปปินส์ มองว่า มีการใช้ข้อมูลต่างๆผ่านภาคีเครือข่ายกว่า 21 องค์กรซึ่งหนึ่งในองค์กรนั้นก็คือ AFP และหนึ่งในภาคีเครื่อข่ายของเรา คือ Facebook ซึ่ง Facebook ก็เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของชาวฟิลิปปินส์มากขึ้น ทำให้การโพสต์เรื่องราวต่างๆลงในสื่อสังคมออนไลน์เป็นเรื่องที่ง่ายกันมากขึ้น ดังนั้นการเป็นภาคีเครือข่ายระหว่างองค์กรกับ Facebook จึงเป็นเรื่องที่ดีในการตรวจสอบข่าวปลอมต่างๆ ซึ่งการตรวจสอบความจริงต่างๆก็รวมถึงคำพูดจากเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วย ซึ่งข่าวปลอมที่เราพบ แบ่งออกเป็น 4 ประเภทนั่นคือ การกล่าวอ้างที่ผิดๆ , ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง , ข่าวปลอมที่ต้องการสร้างความเข้าใจผิด และ ข้อมูลที่สร้างความสับสนในคำพูดของคนๆนั้น
กฏหมายจะเข้ามาช่วยลดปริมาณข่าวปลอม
นายมาริโอ แบรนเดนเบิร์ก ตัวแทนจากสภาผู้แทนราษฎรเยอรมนี ระบุว่า ข่าวปลอมไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคม จะอยู่กับเรามาตั้งแต่อดีตกาล ในเยอรมันมีปัญหาเรื่องผู้อพยพจึงทำให้ข่าวปลอม เข้ามามีบทบาทในการสร้างความเข้าใจผิดให้กับประชาชน 8 ใน 10 ขาวปลอมทั้งหมดเป็นข่าวเกี่ยวกับเรื่องผู้อพยพ และประชาชนเรื่องที่จะเชื่อข่าวปลอมเรานั้นดังนั้นเยอรมันจึงเลือกที่จะออกกฎหมายในการต่อต้านข่าวปลอม ข่าวต่างๆที่ถูกปล่อยออกมาในแต่ละที่บนโลกออนไลน์จะต้องถูกตรวจสอบได้และผู้เผยแพร่จะต้องยืนยันภายใน 24 ชั่วโมงถ้าเป็นข่าวจริงและมีแหล่งที่มาซึ่งหากไม่สามารถทำได้ก็อาจถูกปรับถึงกว่า 50 ล้านยูโร ซึ่งในฐานะผู้เผยแพร่ข่าวก็มีหลายทางเลือกไม่ว่าจะเป็นการถอดข่าวที่ไม่มีแหล่งที่มานั้นการถูกฟ้องหรือยอมจ่ายค่าปรับ 50 ล้านยูโร ในอนาคตการเข้ามา ของปัญญาประดิษฐ์และนำมาทำสิ่งที่เรียกว่า “Deep Fake” คือการนำข้อมูลต่างๆของบุคคลต่างๆมาสร้างเป็นวีดีโอและสร้างเสียงสังเคราะห์จนทำให้คล้ายคลึงกับต้นฉบับ ดังนั้้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรต่างๆจะต้องให้ความร่วมมือกับรัฐบาลในการตรวจสอบเรื่องราวที่ไม่เป็นความจริงเหล่านี้
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: