“รมว.ดีอี” จับมือ ปอท. แถลงจับคนร้ายหลอกคนออนไลน์ ถือฤกษ์ 9.9.19 บุกจับกุมพร้อมกัน 9 คดี
นายพุฒิพงศ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) และ พล.ต.ต.ไพบูลย์ น้อยนุ่น ผู้บังคับการกองปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี(ผบก.ปอท.) ร่วมกันแถลงข่าวผลเปิดปฏิบัติการ “09.09.2019 ปฏิบัติการทลายล้างข่าวปลอม” โดยมีการปฏิบัติการปิดล้อมตรวจค้นเป้าหมาย Fake News 9คดี 9จุด ตั้งแตวันที่ 19 ส.ค.-9 ก.ย. 62
นายพุฒิพงศ์ ปุณณกันต์ ระบุว่า แถลงข่าววันนี้เป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง 2 หน่วยงานซึ่งได้เคยมีโอกาสในการพูดคุยและประสานงานกันอย่างต่อเนื่องในเรื่องของการตรวจสอบข่าวกรองและข่าวปลอมต่างๆรวมถึงการบังคับใช้กฎหมายต่างๆให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตามพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ประจำปีพุทธศักราช 2550 ซึ่งตลอดระยะเวลาเกือบ 40 วันในการปฏิบัติหน้าที่ มีการประสานงานกันอย่างดีและมีความตั้งใจ ในการติดตามข่าวสารที่สร้างผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนในวงกว้าง ซึ่งปฏิบัติการในวันที่ 9 กันยายนที่ผ่านมาเป็นปฏิบัติการที่เข้าตรวจค้นใน 9 จุดทั่วประเทศ สิ่งหนึ่งที่ต้องการจะนำเรียนให้กับทุกคนทราบคือการปฏิบัติการต่างๆใน
การติดตามข่าวกรองและข่าวปลอม ไม่ได้มีเฉพาะแค่ข่าวการเมืองอย่างที่ทุกภาคส่วนเป็นห่วงแต่มีการครอบคลุมไปในหลากหลายมิติทั้งเรื่องของความมั่นคงและข่าวปลอมที่กระทบต่อคนไทยทุกคน ซึ่งได้มีการติดตามจับกุมผู้กระทำความผิดเข้ามารับกระทำความผิดในกรณีที่ทำให้ประชาชนเกิดความสับสน ซึ่งในนี้ควบรวมถึงกรณีข่าวภัยพิบัติที่สร้างความกังวลให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ รวมถึงการแอบอ้างทำให้พี่น้องประชาชนเสียทรัพย์ เช่นนามสกุลของนายกรัฐมนตรีและการแอบอ้างเป็นข้าราชการระดับสูงในกระทรวงมหาดไทย และอีกหนึ่งกรณีที่กระทบต่อพี่น้องประชาชนจำนวนมากคือกรณีของการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จากนั้นสิ่งเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่ทั้งตำรวจและกระทรวงดิจิทัลฯ ไม่ได้ต้องการรังแกใครแต่ต้องการที่จะปกป้องความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชนในวงกว้างโดยเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนได้ดำเนินการอย่างเต็มที่เพื่อป้องกันสิ่งเหล่านี้ไม่ให้เกิดขึ้นและสร้างความเสียหายเพิ่มมากยิ่งขึ้น
ข่าวน่าสนใจ:
โฆษก ปอท. ระบุว่า เนื่องจากการสื่อสารในปัจจุบันมีความรวดเร็วเพิ่มมากยิ่งขึ้นดังนั้นจึงทำให้การตรวจสอบ ข่าวปลอมและการหลอกลวงต่างๆของผู้ไม่หวังดีและทำให้ประชาชนเข้าใจผิดโดยปฏิบัติการในวันที่ 9 กันยายน 2562 ที่ผ่านมาโดยตำรวจถือฤกษ์ดี 09.09.2019 หน่วยปฏิบัติการพร้อมกัน 9 คดีเพื่อปฏิบัติให้เป็นตัวอย่างในการทำงานและไม่ให้เกิดขึ้นอีก
สำหรับคดีต่างๆ 9 คดี 9 จุด ประกอบด้วย
1. ข่าว “การประกาศพื้นที่ควบคุมพิเศษ 7 จุดในกรุงเทพฯ” จากกรณีที่มีกลุ่มผู้ไม่ประสงค์ดีวางวัตถุต้องสงสัยและวางวัตถุระเบิดหลายจุดในกรุงเทพฯ โดยตำรวจได้เข้าตรวจค้นบ้านพักย่านบางพลัดและเชิญตัวผู้ถูกกล่าวหามาพบพนักงานสอบสวนเพื่อรับทราบข้อกล่าวหา
2. ตำรวจเข้าจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญา โดยการทำความผิดหลอกลวงการปลอมเป็นคู่ค้าของผู้เสียหาย “สร้างข้อมูลอันเป็นเท็จผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์” (E-Mail Scam) เพิ่มเติมจำนวน 1 รายที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งผู้ต้องหาทั้งหมด 5 รายประกอบด้วยชาวไนจีเรีย 3 คนและคนไทย 2 คนทำเป็นขบวนการข้ามชาติซึ่งสามารถจับผู้ต้องหาได้ครบทั้งหมด 5 คนแล้ว
สำหรับมูลค่าความเสียหาย ที่เกี่ยวกับ”สร้างข้อมูลอันเป็นเท็จผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์” (E-Mail Scam)
– ปี 2561 ผู้เสียหายจำนวน 89 ราย มูลค่าความเสียหาย 382,959,212 บาท
– ปี 2562(ม.ค.-ส.ค.) ผู้เสียหายจำนวน 46 ราย มูลค่าความเสียหาย 121,334,171 บาท
3. การเข้าจับกุมผู้ต้องหาในคดี “หลอกรักออนไลน์” (Romance scam) โดยตำรวจได้มีการเข้าจับกุมผู้ต้องหาจำนวน 1 คนตามหมายจับศาลอาญาในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาซึ่งสร้างมูลค่าความเสียหายกว่า 1 ล้านบาท
สำหรับมูลค่าความเสียหาย ที่เกี่ยวกับ “หลอกรักออนไลน์” (Romance scam)
– ปี 2561 ผู้เสียหายจำนวน 102 ราย มูลค่าความเสียหาย 71,166,952 บาท
– ปี 2562(ม.ค.-ส.ค.) ผู้เสียหายจำนวน 58 ราย มูลค่าความเสียหาย 51,702,784 บาท
4. การเข้าจับกุมผู้ต้องหา”แอบอ้างเป็นข้าราชการระดับสูงของกระทรวงมหาดไทยและหลอกลวงเพื่อขายสินค้าออนไลน์” ประเภทโทรศัพท์และเสื้อผ้ามูลค่าความเสียหาย 5 ล้านบาท จำนวน 2 ราย โดยจากการสืบสวนสามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ 3 คนและเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับของศาลจังหวัดหัวหินด้วย โดยมีคดีอาญาติดตัวอีก 2 คดีและสามารถจับกุมได้ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามและจังหวัดสมุทรสาคร
5. กรณีการแอบอ้างว่า “เป็นลูกสาวของประธานาธิบดีของประเทศจีน” โดยตำรวจได้นำหมายศาลจังหวัดสมุทร เข้าทำการยึดอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดได้ในบ้านพักในอำเภอบ่อผุด จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งกระบวนการของคนร้ายคือการหลอกนำคลิปของศิลปินชาวไทยมาสร้างความสับสนให้กับประชาชนโดยการอ้างว่าคลิปดังกล่าวเป็นการร้องเพลง Cover ของลูกประธานาธิบดีจีน ลงบนเพจเฟซบุ๊กของกลุ่มคนร้าย
6. การเข้าตรวจค้นบ้านพักที่ทำการเผยแพร่ข่าว “แม่น้ำโขงแห้ง ปลาสูญพันธุ์” โดยตำรวจได้นำหมายค้นของศาลจังหวัดนนทบุรีเข้าตรวจค้นบ้านพักที่อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี และนำตัวมาดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.คอมฯ 2550 ม.14(2) โดยการกระทำผิด คือ การนำคลิปของจังหวัด ที่ไม่ได้ติดกับแม่น้ำโขงและอ้างอิงว่าประเทศจีนไม่ยอมปล่อยน้ำลงมายังแม่น้ำโขงจึงทำให้เกิดความเข้าใจผิดสู่ประชาชน
7. กรณี “หลอกขายผลิตภัณฑ์ประหยัดไฟฟ้า” ซึ่งตำรวจได้นำหมายค้นไปยังโกดังเก็บสินค้าในพื้นที่อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว และอำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี ตรวจยึดผลิตภัณฑ์ที่ผิดกฎหมายจำนวนมาก รวมถึงเตรียมสืบสวนติดตามผู้กระทำความผิดซึ่งเป็นชาวต่างชาติมาดำเนินคดี ซึ่งผู้กระทำความผิดได้นำเอาภาพของเจ้าหน้าที่ของการไฟฟ้ามาต่อคู่กับอุปกรณ์ที่กล่าวอ้างว่าประหยัดไฟฟ้าได้ซึ่งจากการเข้าตรวจสอบดังกล่าวมีการจัดตั้งศูนย์รับซื้อและส่งออกสินค้า ซึ่งวันหนึ่งมีการซื้อขายสูงถึงกว่า 100 ชิ้นต่อวัน และมีการส่งชิ้นส่วนแยกกันมาจากต่างประเทศและนำมาประกอบในประเทศไทย
8. กรณี “การแอบอ้างนามสกุลนายกรัฐมนตรีเพื่อไปหลอกขายของออนไลน์” ซึ่งผู้ต้องหาได้แอบอ้างนามสกุลของนายกรัฐมนตรีเพื่อหวังให้เกิดความน่าเชื่อถือและหลอกขายสินค้าออนไลน์ให้กับประชาชนทั่วไปโดยกระทำมาแล้วเป็นเวลากว่า 4 เดือนและสร้างความเสียหายนับแสนบาท โดยผู้ต้องหาใช้นามสกุลของพลเอกประยุทธ์จันทร์โอชาในการหลอกขายนาฬิกาประเภทต่างๆ โดยการโพสต์ภาพทำตัวเหมือนกับร้านขายนาฬิกายี่ห้อ g-shock ซึ่งผู้ต้องหาทางการโพสต์ภาพและนำภาพต่างๆไปหลอกขายในกลุ่มเฟซบุ๊กหลายกลุ่มซึ่งภาพที่ผู้ต้องหาใช้ไม่ได้มีสินค้าจริง
9. การจับกุมแอดมินเพจเฟซบุ๊ก “รับสมัครนักรบ กองทัพประชาชน” โดยตำรวจได้เข้าค้นบ้านพักย่านเมืองทองธานีจังหวัดนนทบุรี และพบผู้กระทำความผิด โดยผู้ต้องหาได้ยอมรับสารภาพและ นำตัวมาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
รมว.ดีอี ระบุว่า หากสังเกตจากการปฏิบัติการในวันที่ 9 กันยายนที่ผ่านมาจะสังเกตได้ว่าไม่ได้มีเฉพาะคดีการเมืองเท่านั้นแต่ครอบคลุมถึงคดีที่เกี่ยวข้องกับความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนและการถูกหลอกลวงจากผู้ไม่หวังดีและสร้างข่าวสารอันเป็นเท็จเพื่อที่จะทำให้เกิดความเข้าใจผิดกับพี่น้องประชาชน
ทั้งนี้ได้เตือนไปยังผู้ที่คิดจะกระทำความผิดหรือสร้างความสับสนให้กับพี่น้องประชาชนขอให้หยุดการกระทำดังกล่าวเพราะเนื่องจากเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานจะดำเนินการอย่างจริงจังและขอให้พี่น้องประชาชนวางใจในกรณีดังกล่าว
สำหรับรูปแบบข่าวปลอมของไทย
ข่าวปลอมที่เข้าใจง่ายที่สุด คือ ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง ซึ่งข้อมูลจากเริ่มเป็นความผิดก็ต่อเมื่อหน่วยงานนั้นปฏิเสธว่าข่าวดังกล่าวเป็นข่าวเท็จก็จะเริ่มเข้าสู่ พ.ร.บ.คอมฯ ขณะที่อีกส่วนหนึ่งคือหากสืบสวนไปแล้วพบว่าเป็นคนแรกในการส่งต่อข้อมูลข่าวปลอมดังกล่าว ก็จะถือว่าเป็นความผิด
พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รอง ผบก.ปอท./โฆษก ปอท. กระปุกวาดรูปแบบของข่าวปลอมในประเทศไทยจะสามารถแบ่งได้ประมาณ 4 ประเภท ได้แก่
1. เกรียน : ประเภทสร้างความปั่นป่วนให้กับสังคม
2. หวังเงิน : ประเภทสร้างพาดหัวที่อ้างอิงกับนักการเมืองและดารานักแสดงที่กำลังเป็นประเด็นเพื่อหลอกให้ประชาชนเข้าไปยังเว็บไซต์ดังกล่าวและได้รับเงินโฆษณา
3. ดูหมิ่น-เกลียดชัง : เป็นประเภทที่จะสร้างความเกลียดชังให้กับประชาชนในส่วนที่เรียกว่าวาทกรรมและ Hate Speed
4. หลอกขายของ
ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโทษที่อยู่ในพระราชบัญญัติ การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ปีพศ 2550 และมาเข้าข่ายตามมาตรา 14 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: