ช่วงตุลาคม 2 ปีที่ผ่านมาผมมีโอกาสได้ไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน ใน 2 มณฑล คือ เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย เมืองหยินชวน และ เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ เมือง อุรุมชี โดยไปในฐานะนักศึกษาหลักสูตรการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 7 สถาบันพระปกเกล้าฯ
สิ่งที่พบเจอและประทับใจ จากการสัมผัสประสบการณ์ตรงในครั้งนั้น ผมเห็นว่า จากสภาพทางกายภาพและภูมิประเทศ ของทั้งสองมณฑลนี้ที่รัฐบาลจีนตั้งให้เป็นเขตปกครองตนเอง โดยที่ประเทศจีนมีทั้งหมด 5 เขตปกครองตนเองสองมณฑล คือ เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ มีผู้คนที่หลากหลายที่มา ทั้งชาติพันธุ์ ศาสนา ความเชื่อและวัฒนธรรม ตลอดจนประเพณีที่อาจจะแตกต่างจากคนจีนในมณฑลอื่นๆ
รัฐบาลจีน โดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้ดำเนินนโยบายด้านต่างๆ ทั้งทางด้าน การปกครอง วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา ที่ยอมรับและให้แต่ละชาติพันธุ์ที่หลากหลายในพื้นที่ สามารถดำรงอัตลักษณ์ ความเชื่อ และวัฒนธรรมของตนเอง ภายใต้ความหลากหลายได้ และมีการสร้างทัศนะคติ การยอมรับความหลากหลายที่ต้องอยู่ร่วมกันได้ โดยให้แต่ละกลุ่มเหล่านั้น บริหารจัดการตนเอง ผ่านการควบคุมในระดับการเมืองในส่วนที่เป็นเรื่องใหญ่ เพื่อนำพาประเทศจีนก้าวไปข้างหน้าแข่งขันกับนานาอารยประเทศได้ ตลอดจนเป็นการสร้างความสันติสุขให้กับประชาชนและประเทศ
นักศึกษาหลักสูตรนี้มีที่มาจากหลากหลายสาขาอาชีพ และหน้าที่ความรับผิดชอบ หลายคนให้บทสรุปและมุมมองที่น่าสนใจว่า สำหรับประเทศไทยนั้น ปัญหาที่เกิด ไม่ว่าจะเรื่องใดก็ตาม ทั้งเรื่องความเหลื่อมล้ำ ความเท่าเทียม การยอมรับวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ศาสนา และชาติพันธุ์ ของกลุ่มคนที่ถือว่าเป็นส่วนน้อยของสังคมไทย เช่น คนไร้บ้าน คนพลัดถิ่น และ ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ ฯลฯ ปัญหาส่วนหนึ่งมาจากความเชื่อ มุมมอง ทัศนคติ ของผู้กำหนดนโยบาย
ที่มองปัญหาและมองผู้คนเหล่านั้นไม่เท่ากับคนส่วนใหญ่ หากสามารถปรับทัศนคติ ปรับมุมมอง ยอมรับการมีอยู่จริง และหาทางแก้ไขปัญหา โดยให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม และกำหนดนโยบายร่วมกัน ตามความต้องการที่แท้จริง ภายใต้พระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ตรัสว่า “ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ” ก็จะเกิดสังคมสันติสุข อย่างแท้จริง.
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: