X
แผนที่ประจวบคีรีขันธ์

ความเป็นมา-ข้อมูลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นจังหวัดหนึ่งใน 25 จังหวัดภาคกลาง ของประเทศไทย ความยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ ประมาณ 212 กิโลเมตร และชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 224.8 กิโลเมตร มีส่วนที่ แคบที่สุดของประเทศอยู่ในเขตตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง จากอ่าว ไทยถึงเขตแดนพม่าประมาณ 12 กิโลเมตร ระยะทางจากกรุงเทพฯ ตามทางหลวงแผ่นดินสายเอเชียหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ประมาณ 323 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมงเศษ และตามเส้นทางรถไฟสายใต้ ประมาณ 318 กิโลเมตร ใช้เวลา เดินทางประมาณ 6 ชั่วโมง

มีเนื้อที่ประมาณ 6,367.620 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 3,979,762.5 ไร่ มีอาณาเขต ติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้

ทิศเหนือ – จังหวัดเพชรบุรี
ทิศใต้ – ชุมพร
ทิศตะวันออก – อ่าวไทย
ทิศตะวันตก – อ่าวไทย

 

ประวัติความเป็นมา 

เมืองประจวบคีรีขันธ์ เดิมชื่อ เมืองนารัง เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ครั้งที่ ๒ เมืองนารัง ได้ถูกทิ้งร้างจนถึงรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้สร้างเมืองใหม่ที่คลองบางนางรม แล้วย้ายที่ตั้งของเมืองไปตั้งที่เมืองกุย ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้เปลี่ยนชื่อเมืองกุย เป็นเมืองประจวบคีรีขันธ์ แต่ตัวศาลาที่ว่าการเมืองยังคงตั้งอยู่ที่อําเภอกุยบุรี ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้รวมเมืองปราณบุรีเมืองประจวบ และเมืองกําเนิดนพคุณเข้าเป็น เมืองเดียวกัน

พระราชทานนามเมืองว่า เมืองปราณบุรีตั้งที่ว่าการอยู่ที่อ่าวเกาะหลักส่วนเมือง ปราณบุรีเดิมให้คงเรียกว่าเมือปราณมีฐานะเป็นอําเภอในสมัยรัชกาลที่ ๖ ทรงเห็นว่าชาวบ้าน ยังคงเรียก เมืองปราณ สับสนกับชื่อ เมืองปราณบุรี ซึ่งทางราชการย้ายมาตั้งที่เมืองเกาะหลัก จึงทรงโปรดเกล้าให้เปลี่ยนชื่อเมืองปราณบุรีเป็นเมืองประจวบคีรีขันธ์จนถึงปัจจุบัน

คำขวัญประจำจังหวัด : เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าวสับปะรด สวยสดหาดเขาถ้ำ งามล้ำน้ำใจ

สัญลักษณ์ประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ตราสัญลักษณ์ประจวบคีรีขันธ์

  • ศาลามณฑป หมายถึง พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ในถ้าพระยานคร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างไว้ เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๓ และเคยเสด็จไปประทับที่ถ้านี้ ๒ ครั้ง ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ก็เคยเสด็จไปประทับที่นี่อีก
  • ภาพเกาะเบื้องหลัง หมายถึง เกาะหลัก ซึ่งเป็นสถานที่สําคัญแห่งหนึ่งมาแต่โบราณ จึงได้ นํามาเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด
  • จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ใช้อักษรย่อว่า “ปข”
  • ภาษาอังกฤษ Prachuap Khiri Khan


แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ : ชายหาด/ทะเล หัวหิน หาดบ้านกรูด เขาตะเกียบ อ่าวแม่รําพึงสวนสนประดิพัทธ์
น้ําตกปุาละอู หาดสามพระยา ถ้ำแก้ว หาดเขาเต่า ถ้ำไทร จุดชมวิว หิน เหล็ก ไฟ อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด
ทุ่งสามร้อยยอด หมู่บ้านไหมไทย จุดชมวิวเขาแดง วนอุทยานปราณบุรี คลองเขาแดง/จุดชมวิวเขาแดง วนอุทยานกุยบุรี เขาสามร้อยยอด น้ําตกไทรคู่ หาดวนกร อ่าวบ่อทองหลาง น้ําตกห้วยยาง หาดทางสาย เกาะนมสาว เกาะร่ําร่า และกุยบุรีซาฟารีเมืองไทย เป็นต้น

แหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์/วัฒนธรรม/ศาสนา : วังไกลกังวล สถานีรถไฟหัวหิน หลวงพ่อทวด
วัดห้วยมงคล สนามกอล์ฟหลวงหัวหิน ศาลเจ้าแม่ทับทิม พิพิธภัณฑ์จอมพลสฤษดิ์ พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ (ถ้ําพระยานคร) หลวงพ่อโต วัดตาลเจ็ดยอด ศาลหลักเมืองประจวบคีรีขันธ์ เขาช่องกระจก ด่านสิงขร อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ พระมหาธาตุเจดีย์ภักดีประกาศ เขาธงชัย ตําหนักกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เขาถ้ำม้าร้อง

นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้กองทัพบก จัดสร้าง “พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบูรพกษัตริย์แห่งสยาม” พร้อมอุทยานประวัติศาสตร์โดย พระราชทานชื่อว่า “อุทยานราชภักดิ์” เพื่อเป็นการเทิดทูนและประกาศเกียรติคุณสมเด็จพระมหากษัตริย์แห่งสยามทั้ง 7 พระองค์ ทุกพระองค์ล้วนทรงสร้างคุณูปการที่ยิ่งใหญ่ต่อประเทศชาติ จึงนับได้ว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ และแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์เพื่อน้อมสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์อีกด้วย

อีกทั้งยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่สร้างขึ้นมาใหม่ เพื่อทําให้การท่องเที่ยวในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
มีครบถ้วนสมบูรณ์ เน้นความมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่มีแห่งเดียว ซึ่งมีอําเภอหัวหินเป็นความโดดเด่นของจังหวัด ได้แก่
ตลาดโต้รุ่งหัวหิน โกลเด้นเพลซ ไร่องุ่นหัวหินฮิลวินยาร์ด เพลินวาน ตลาดน้ําหัวหิน สวนน้ำวานานาวา For Art’s Sake หัวหิน เป็นต้น

ที่มา : จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of ปณิดดา เกษมจันทโชติ

ปณิดดา เกษมจันทโชติ

จบการศึกษาจาก คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น ฝึกงานที่หนังสือพิมพ์จุดประกาย/เสาร์สวัสดี (กรุงเทพธุรกิจ) และอมรินทร์ทีวี มีความสนใจด้านศิลปะวัฒนธรรม การศึกษา และสิ่งแวดล้อมเป็นพิเศษ