วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 ที่เรือนจำกลางนครปฐม นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เป็นประธาน และร่วมลงนามในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วยการคืนคนดีสู่สังคม โดยการฝึกวิชาชีพ การประกอบอาหารให้แก่ผู้ต้องขัง ระหว่างกรมราชทัณฑ์ กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ และผู้เชี่ยวชาญด้านการประกอบอาหาร
ข่าวน่าสนใจ:
- ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย เชิญส่วนราชการ เอกชน สื่อมวลชน 50 คน เยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนกระตุ้นการท่องเที่ยว-เศรษฐกิจในชุมชน อย่างยั่งยืน
- นนทบุรี ผัวหึงโหด ใช้ปืนจ่อยิงหัวเมียเสียชีวิตหลังนำส่งโรงพยาบาล
- “ปลายฝน ต้นหนาว เคาท์ดาวน์ มิวสิคเฟส สุราษฎร์ธานี” ไฮไลท์ประกวดควายไทยมูลค่ากว่า 10 ล้าน
- บรรยากาศคึกคัก รับสมัครเลือกตั้งนายก อบจ. ส.อบจ. สกลนคร วันแรก
โดยมี รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ นายสุทธิพงษ์ สุริยะ (อ.ขาบ) Food stylist รางวัลออสการ์อาหารโลก และนายแบรด ชื่นสมทรง Master Chef Thailand ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงดังกล่าว พร้อมด้วยนายขวัญไชย สันติภราภพ ผู้บัญชาการเรือนจำกลางนครปฐม และนางสาวริศรา ศิริสุทธิเดชา เลขานุการกรม รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการกองพัฒนาพฤตินิสัย ร่วมเป็นพยานในบันทึกข้อตกลงฯ ในครั้งนี้
นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่การเรียนรู้ สนับสนุนการพัฒนาพฤตินิสัยให้กับผู้ต้องขัง เป็นการสร้างงานสร้างอาชีพ เพื่อให้สามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวภายหลังพ้นโทษ ป้องกันการกระทำผิดซ้ำ โดยกรมราชทัณฑ์ได้สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการส่งเสริม และสนับสนุนเครื่องมือการจัดการความรู้ พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมวิชาชีพด้านการประกอบอาหารต่างๆ
โดยวิทยากรที่มีชื่อเสียง และความเชี่ยวชาญเข้ามาให้ความรู้ พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ต้องขังกลับสู่สังคมอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน อีกทั้งการดำเนินการดังกล่าวยังสอดคล้องกับนโยบายรวมพลังขับเคลื่อน 8 มิติ ยกระดับสร้างความเปลี่ยนแปลงในมิติที่เกี่ยวกับการพัฒนาพฤตินิสัย โดยเฉพาะการพัฒนา และต่อยอดการฝึกวิชาชีพที่สอดคล้องกับตลอดแรงงาน โดยอาศัยศักยภาพของทรัพยากรที่มีได้อย่างเหมาะสม
นายสหการณ์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมราชทัณฑ์ขอขอบคุณมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพและผู้เชี่ยวชาญด้านการประกอบอาหารและออกแบบอาหาร ที่ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการฝึกวิชาชีพด้านการประกอบอาหารให้แก่ผู้ต้องขัง ตลอดจนหน่วยงานภาคีที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนให้โอกาสกับผู้ต้องขัง ได้นำความรู้ไปเป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพภายหลังการพ้นโทษ เพื่อสร้างโอกาสและได้รับการยอมรับจากสังคม โดยไม่หวนกลับไปกระทำผิดซ้ำอีก
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: