เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2567 ที่จังหวัดนครปฐม นายอรรถวุฒิ พึ่งเนียม รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐมมาเป็นประธานเนื่องในวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติณ.สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 16 นครปฐม ตำบลลำเหย อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐมพร้อมหัวหน้าส่วนกระทรวงแรงงานทั่ง5หน่วยงานหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดนครปฐม วันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติโดยมีนางสาวศิริธร เลาหะวิไลย
ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 16 นครปฐมต้อนรับ
ข่าวน่าสนใจ:
- นายกเทศบาลตำบลนาคำ แจงเหตุต้องระงับเพลิงล่าช้า จากกรณีเหตุเพลิงไหม้บ้านพักอาศัยของชาวบ้าน
- ประชาชนแห่ เสกเหรียญหลวงปู่คำไหล ในพระมหาเจดีย์วัดดัง แห่ตีเลขน้ำตาเทียน หลังสาธุชนนับพันแห่ร่วมพิธี
- ตรัง จัดใหญ่ 12 วัน งานฉลองรัฐธรรมนูญและงานกาชาดจ.ตรัง 4-15 ธ.ค.นี้ รีแบร์นใหม่! ย้อนยุคงานเหลิมแต่แรก แสดงบินโดรนพิธีเปิด วธ.ทุ่ม 3.4 ล้าน…
- นครพนม : นักวิ่งกว่า 3,000 คน ร่วมการแข่งขัน ‘นครพนม-คำม่วน มาราธอน ซีซั่น 6’ เชื่อมสัมพันธ์สองฝั่งโขง ชมสวยที่สุดที่นครพนม
นายอรรถวุฒิ พึ่งเนียม รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐมกล่าวว่า วันนี้ เมื่อปีพุทธศักราช 2513 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร(พระ-บาด-สม-เด็ด-พระ-บอ-รม-ชะ-นะ-กา-ทิ-เบด-มะ-หา-พู-มิ-พน-อะ-ดุน-ยะ-เดด-มะ-หา-ราด-บอ-รม-มะ-นาด-บอ-ผิด) ได้เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดงานแนะแนวอาชีพและแข่งขันฝีมือช่างแห่งชาติ ณ ลุมพินีสถาน และพระราชทานพระราชดำรัสเกี่ยวกับการช่างของไทยความตอนหนึ่งว่าช่างทุกประเภท เป็นกลไกสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตของบ้านเมืองและของทุกคน เพราะตลอดชีวิตของเรา เราต้องอาศัยและใช้บริการหรือสิ่งต่าง ๆ ที่มาจากฝีมือของช่างอยู่ทุกวี่ทุกวัน ผู้เป็นช่าง จึงสมควรได้รับความเอาใจใส่สนับสนุนจากทุก ๆ ฝ่าย ยิ่งในสมัยปัจจุบันวิทยาการทุกอย่างเจริญก้าวหน้า ยิ่งจำเป็นต้องส่งเสริมมากเป็นพิเศษ เพื่อให้ได้ช่างที่มีความสามารถสูง ให้มีสิ่งใช้สอยที่มีคุณภาพดีและเพียงพอกับความต้องการ ในการส่งเสริมนั้น มีปัญหาอันควรจะได้พิจารณาช่วยเหลืออยู่สามประการ ประการแรก ได้แก่ ปัญหาเรื่องการให้ความรู้ทางหลักวิทยาการ และความรู้ทางการออกแบบ ประการที่สอง ได้แก้ปัญหาเรื่องฝีมือ ซึ่งจะต้องปรับปรุงให้มีความประณีตและประสิทธิภาพ
ได้มาตรฐานจริง ๆ ประการที่สาม ได้แก่ ปัญหาเรื่องการจัดหางานและหาตลาด เพื่อช่วยให้ช่างได้มีงานทำ มีตลาดที่จะส่งสินค้าที่ผลิตได้ไปจำหน่าย การช่วยเหลือทั้งสามประการนี้ จะต้องกระทำให้สอดคล้องกันไป เพื่อให้ช่างมีรายได้และผลกำไร สำหรับนำมาเป็นทุนรอนสร้างฐานะและความก้าวหน้า” พระองค์ได้ฝากความคิดนี้ไว้เป็นแนวทางปฏิบัติที่สำคัญ
จากกระแสพระราชดำรัสดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงสายพระเนตรอันยาวไกลที่มีพระราชดำริถึงความสำคัญของช่างฝีมือ ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อทุกคนในสังคม จึงจำเนต้องพัฒนาให้มีฝีมือตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน เพราะนั่นหมายถึงคุณภาพของสินค้าและบริการตลอดจนความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อประเทศไทย แม้จะผ่านมาถึง ๕๔ ปีแล้วยังคงทันสมัยและนับวันจะทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ซึ่งกรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้น้อมนำใส่เกล้ามาปฏิบัติในการพัฒนากำลังแรงงานให้มีฝีมือพัฒนาสู่มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สร้างมูลค่าเพิ่ม ทั้งด้านการผลิตสินค้าและบริการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของประเทศ สร้างการยอมรับในประชาคมเศรษฐกิจอาเชียนและประชาคมโลกเมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ คณะรัฐมนตรีมีมติถวายพระราชสมัญญาแด่พระองค์เป็น “พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย”พร้อมกับกำหนดให้วันที่ 2 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ซึ่งในวันนี้ได้เวียนมาบรรจบครบอีกวาระหนึ่งปวงข้าพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยผู้บริหาร ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างในสังกัดกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ผู้แทนกระทรวง กรมต่าง ๆ องค์กรอิสระและประชาชนต่างพร้อมใจกันอยู่ ณ ที่แห่งนี้ ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านอย่างหาที่สุดมิได้ พระองค์ทรงเป็นที่รักของปวงชนชาวไทย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่จะสถิตอยู่ในดวงใจตราบนิรันดร์ปวงข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายความจงรักภักดีขอตั้งจิตปฏิญาณน้อมนำกระแสพระราชดำรัสไปปฏิบัติด้วยความตั้งใจมั่นสืบไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: