วันที่ 12 มีนาคม 2567 สำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม ร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอบางเลน ส่งเกษตรกรผู้ผลิตข้าว ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (เครือข่าย) ตำบลไผ่หูช้าง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม เข้ารับการพิจารณาคัดเลือกศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ดีเด่น ระดับเขต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
ข่าวน่าสนใจ:
- มทบ.32 เสริมกำลังเตรียมป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่น PM 2.5
- สอ.สามัญศึกษาเพชรบูรณ์ประชุมใหญ่ โชว์กำไร 52 ล้าน พร้อมเลือกตั้งกรรมการและผู้ตรวจสอบกิจการ
- ผู้กำกับ สภ.บางเสาธง เชิญตัวคู่กรณีทั้งสองฝ่ายพูดคุยถึงเหตุการณ์ที่รถชนกันแล้วมีอ้างรู้จักตำรวจ
- นครพนม เปิดคลิป วัยรุ่น เหิมหนัก ยกพวกใช้มีดไล่ฟันคู่อริ พร้อมทุบทำลายทรัพย์สินอย่างไม่เกรงกลัวกฏหมาย
โดยมีนายสุนทร ก้อนทอง เกษตรกรต้นแบบเจ้าของแปลงเรียนรู้ ได้ให้คำแนะนำในการทำนาว่า การทำนาโดยไม่เผาฟาง หันมาใช้การย่อยสลายฟางด้วยจุลินทรีย์ ช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้กับดินได้อย่างดี อาจจะทำนาช้าหน่อย แต่ผลผลิตคุ้มค่า มีการปรับปรุงพัฒนาดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ ช่วยลดต้นทุนการผลิตข้าว พร้อมกับการแปรรูปข้าวเองภายในกลุ่ม การปรับเปลี่ยนเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ข้าวที่ได้ มีปริมาณ 800-900 กิโลกรัม/ไร่ (ผลผลิตสูงมาก) คุณภาพดี มีกลิ่นหอมตั้งแต่เริ่มจะเก็บเกี่ยวได้ ที่สำคัญ เกษตรกรปลอดภัยจากการใช้สารเคมี ผู้บริโภคได้รับประทานข้าวที่ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (เครือข่าย) ตำบลไผ่หูช้าง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐมแห่งนี้ มีการจัดทำแปลงเรียนรู้ จำนวน 4 แปลง ได้แก่แปลงนาสาธิตการทำนาไม่เผาตอซังแปลงนาสาธิตข้าว กข 43 แปลงนาสาธิตข้าวไรซ์เบอรี่ และแปลงผักสวนครัว
มีฐานเรียนรู้ ดังนี้
ฐานเรียนรู้ที่ 1 การย่อยสลายฟางและการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าว
วิทยากรหลักประจำฐาน : นายสุนทร ก้อนทอง
ฐานเรียนรู้ที่ 2 การจัดการศัตรูข้าวโดยวิธีผสมผสาน(IPM)
วิทยากรหลักประจำฐาน : นางสาวดวงใจ เตี้ยทอง
ฐานเรียนรู้ที่ 3 การใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ
วิทยากรหลักประจำฐาน : นายวิชาญ เกิดศรีชัง
ฐานเรียนรู้ที่ 4 เกษตรพอเพียงและการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร
วิทยากรหลักประจำฐาน : นายไชยยา วิมูลชาติ
ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (เครือข่าย) ตำบลไผ่หูช้าง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐมแห่งนี้ เปิดรับเกษตรกรที่สนใจอยากเรียนรู้การทำนา สามารถติดต่อ เข้าไปเยี่ยมชม ขอความรู้ พร้อมสร้างเครือข่ายได้เลย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: