X

เกษตรนครปฐม ชู ผลผลิตข้าวคุณภาพสูง ทำการเกษตรที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ด้วยหลัก BCG Model

 

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะผู้บริหาร ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเกษตรกรในพื้นที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐมติดตามผลการดำเนินงานของเกษตรกรแปลงใหญ่ข้าวไผ่หูช้าง เกษตรกรเข้มแข็ง ยืนหยัดทำนา โดยไม่เผาฟาง เป็นไปตามนโยบายส่งเสริมเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรเป็นผู้ให้บริการ
ทางการเกษตรครบวงจรและการจัดการทรัพยากรทางการเกษตรทำการเกษตรที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม (Go Green) ด้วย BCG และ Carbon Credit

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ท่านร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า ได้เน้นนโยบายการแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร เพื่อให้ “เกษตรกรกินดี อยู่ดี มีรายได้ มีอาชีพที่มั่นคง สินค้าเกษตรมูลค่าสูง ทรัพยากรเกษตรยั่งยืนและภาคเกษตรไทยคือผู้นำสินค้าเกษตรในตลาดโลก”การสร้างวิธีการทำงาน สู่การปฏิบัติ อาทิ การจัดตั้งศูนย์บริการประชาชนภาคการเกษตร การรับมือภัยธรรมชาติ ยกระดับสินค้าเกษตร เสริมศักยภาพเกษตรกร การจัดการทรัพยากรทางการเกษตร และทำการเกษตรที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

สำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม โดยนางสาวธนนันท์ ศรีสุวะ เกษตรจังหวัดนครปฐม ได้นำเสนอผลการดำเนินงานของเกษตรกรแปลงใหญ่ข้าวไผ่หูช้าง เป็นหนึ่งในผู้ผลิตข้าวที่มีคุณภาพมาตรฐาน ได้ส่งเสริมการทำเกษตรในรูปแบบแปลงใหญ่ ผลักดันให้เกษตรกรในพื้นที่รวมกลุ่มจัดตั้งเป็นแปลงใหญ่ข้าวตำบลไผ่หูช้าง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม มีการทำแผนการดำเนินงานร่วมกัน พัฒนาผลผลิตให้มีคุณภาพ มีมาตรฐาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามความต้องการของผู้บริโภค ใช้หลักตลาดนำการผลิต โดยการบริหารจัดการให้สำเร็จตามนโยบายแปลงใหญ่ของกรมส่งเสริมการเกษตร ในด้านการลดต้นทุนการผลิต และการเพิ่มผลผลิต เกษตรกรลดการใช้สารเคมีเพียงอย่างเดียว มาใช้วิธีการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน สมาชิกในกลุ่มแปลงใหญ่ร่วมกันทำสารชีวภัณฑ์ สามารถลดค่าสารเคมีลงได้ไร่ละ 300 บาท ปรับเปลี่ยนจากนาหว่านเป็นนาดำ ใช้เมล็ดพันธุ์เพียง 10 – 15 กิโลกรัม/ไร่ เมื่อเทียบกับนาหว่านซึ่งจะใช้เมล็ดพันธุ์ 20 – 25 กิโลกรัม/ไร่ สามารถลดต้นทุนเมล็ดพันธุ์ได้ไร่ละ 200 บาท การเพิ่มผลผลิตข้าว เน้นการปรับปรุงบำรุงดิน โดยการไถกลบตอซังก่อนทำนา สามารถเพิ่มธาตุอาหารในดินมากกว่า 20 ธาตุ ส่งผลให้ผลผลิตข้าวสูงขึ้นจาก 800 ก.ก./ไร่ เพิ่มเป็น 1,000 ก.ก./ไร่ และพัฒนาคุณภาพผลผลิตให้ได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตข้าว GAP

นอกจากนั้น ยังแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มโดยผลิตเป็นข้าวสารบรรจุสุญญากาศ ตรา “ข้าวไผ่หูช้าง” ซึ่งจำหน่ายผ่านช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ อาทิ ตลาดชุมชน การออกร้านกับหน่วยงานต่างๆ โรงงานแปรรูปแป้งข้าว เพจเฟซบุ๊ค อย่างไรก็ตาม ในระยะต่อไป

เกษตรกรกำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์จากรำข้าว เป็น “น้ำมันรำข้าว” เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร อันเป็นกลยุทธ์ที่สร้างมูลค่าให้เพิ่มสูงขึ้น และลดปริมาณการสูญเสียในกระบวนการผลิต ตลอดจนเกิดความสมดุลของระบบนิเวศ ตามหลักการ Zero Waste ลดขยะให้เป็นศูนย์ แต่กลุ่มแปลงใหญ่ข้าวไผ่หูช้าง กำลังจะเปลี่ยนขยะให้เป็นทอง ในอนาคตต่อไป

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน