ที่จังหวัดนครปฐมผู้สื่อข่าวรายงานว่า น.ส.ธนนันท์ ศรีสุวะ เกษตรจังหวัดนครปฐม ผลักดันด้านอารักขาพืช ขับเคลื่อนงานผ่านกลไกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน หรือ ศจช. จนมีผลงานโดดเด่น แก้ปัญหา และสร้างแนวทางการกำจัดข้าวดีดในนาข้าว พร้อมการคิดค้นนวัตกรรม “ก้านยาวรูดข้าวดีด”
เกษตรกรในศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนบ้านคอกช้าง อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ใช้วิธีการกำจัดข้าวดีด ในระยะข้าวเริ่มออกรวง ด้วยการใช้ไม้ยาวประมาณ 2 – 3 เมตร พันด้วยผ้าชุบสารเคมีแล้วเดินรูดรวงข้าวดีดในนา แต่การเดินรูดด้วยวิธีนี้มักมีปัญหาด้านแรงงานและการรูดข้าวดีดที่ไม่สม่ำเสมอ ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนบ้านคอกช้าง จึงได้คิดค้นนวัตกรรม “ก้านยาวรูดข้าวดีด” ขึ้นมาใช้ทดแทน ได้ผลแม่นยำ มีประสิทธิภาพในการกำจัดข้าววัชพืช (ข้าวดีด) ได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ประหยัดเวลาไม่ทำให้ข้าวเกิดแผลเหมือนการตัดด้วยใบมีดซึ่งเป็นสาเหตุให้เชื้อโรคเข้าสู่ต้นข้าวได้
เกษตรกรสามารถทำใช้เองได้ ดังนี้
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง ร้านอาหารผวา!! แก๊งคอลเซ็นเตอร์ป่วน อ้างสั่งอาหารหรู "พระกระโดดกำแพง" หลอกร้านดังเกือบเสียเงินแสน
- มุกดาหาร-มักง่ายจุดไฟเผาขยะข้างกองยาง ลุกลามไหม้เป็นกองเพลิง
- มุกดาหาร -รับสมัครนายก อบจ.มุกดาหาร วันแรกสุดคึกคัก อดีตนักการเมืองแห่สมัครชิงเก้าอี้
- ชมรมโฮปฯ ร่วมกับชุมชน จัดกิจกรรม ซานตาโฮป แจกของขวัญให้กับเด็กในชุมชนกว่าพันชิ้น
วัสดุ – อุปกรณ์
1. รางอะลูมิเนียมยาว 6 เมตร
2. ด้ายดิบยาว 6.5 เมตร
3. ลวดทองเหลือง ขนาด 0.2 มิลลิเมตร ยาว 3 เมตร
4. สายผ้าใบคล้องคอแบบปรับความยาวได้
5. สารกำจัดวัชพืชในนาข้าวชนิดดูดซึม เช่น สารกูลโฟซิเนต
วิธีทำ
1. นำลวดทองเหลืองมาตัดท่อนความยาว 20 เซนติเมตร ทำเป็นตะขอสำหรับเกี่ยวด้ายดิบ จำนวน 6 เส้น งอส่วนบนและส่วนล่าง
เป็นรูปตัวซี (ควรใช้ลวดทองเหลืองเพราะมีความทนทานต่อการกัดกร่อนของสารเคมี)
2. ใช้ตะขอทองเหลืองมาเกี่ยวกับรางอะลูมิเนียม ระยะห่างตะขอประมาณ 1 เมตร เพื่อใช้แขวนด้ายดิบ สังเกตให้ด้ายดิบไม่ให้ตกท้องช้าง
3. นำสายผ้าใบผูกตรงกลางของรางอะลูมิเนียมเพื่อใช้เป็นสายคล้องคอ เกี่ยวก้านยาวรูดข้าวดีด
วิธีนำไปใช้ประโยชน์
1. ช่วงเวลา สำหรับการใช้อุปกรณ์รูดข้าวดีดในช่วงระยะข้าวดีดเริ่มออกรวงถึงระยะน้ำนม
2. นำด้ายดิบชุบสารเคมีกำจัดวัชพืช กูลโฟซิเนตให้ชุ่มชื้นแต่ไม่ให้สารเคมีหยดเพราะจะโดนใบข้าวเสียหายได้
นำด้ายดิบแขวนไว้บนตะขอทองเหลืองที่ยึดติดไว้กับรางอะลูมิเนียม
3. นำก้านยาวรูดข้าวดีดแขวนบนบ่าไหล่ ปรับระดับสายให้ด้ายดิบพอดีกับรวงข้าวดีด ปักไม้ทำสัญลักษณ์ขอบเขตของการรูดข้าวดีด
แต่ละครั้ง (กันหลงแนวและไม่ทั่วถึง)
4. รูดข้าวดีด 1 – 2 ครั้ง ต่อรอบการเพาะปลูก หากยังพบข้าวดีดมีจำนวนมาก ให้รูดข้าวดีดครั้งที่ 2 ห่างกัน 2 สัปดาห์
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: