ปทุมธานี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมตลาดไท เฝ้าระวังผักและผลไม้นำเข้าและโครงการผักร่วมใจ ตามมาตรการเฝ้าระวังผักและผลไม้ที่อาจมีสารพิษตกค้างทางการเกษตร สร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค
วันนี้ (3 ก.พ. 2563) นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการจำหน่ายผักผลไม้นำเข้า และโครงการผักร่วมใจ พร้อมด้วยนายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ณ ตลาดไท เพื่อสร้างความมั่นใจในการบริโภคผักผลไม้ที่จำหน่ายในประเทศ โดยมี นายชาธิป รุจนเสรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี นายนิติชัย วิริยานนท์ นายอำเภอคลองหลวง หัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
ข่าวน่าสนใจ:
กระทรวงเกษตรเกษตรและสหกรณ์ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้มีการบูรณาการร่วมกันในการกำกับดูแลผักและผลไม้ที่จำหน่ายในประเทศ และการเฝ้าระวังสารพิษตกค้างตลอดห่วงโซ่ ครอบคลุมตั้งแต่ การปลูก การคัดบรรจุ การจำหน่าย การบริโภค ในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเป็นผู้รับผิดชอบหลักในเรื่องการปลูก ที่ผ่านมาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่สามารถปฏิบัติตามระบบจัดการคุณภาพ (Good Agiculture Pracices GAP) พืช ซึ่งจะมีเกณฑ์ที่ควบคุมดูแลการใช้สารเคมีทางการเกษตรอย่างเข้มงวด แต่อาจมีเกษตรกรบางรายที่พบการใช้สารเคมีไม่ถูกต้องอยู่บ้าง
โดยกรมวิชาการเกษตรได้แจ้งผลการตรวจพบสารเคมีทางการเกษตรที่เกินมาตรฐานให้เกษตรกรทราบเพื่อนำไปปรับปรุงและเสนอแนวทางแก้ไขปัญหามายังกรมวิชาการเกษตร หากตรวจพบปัญหาซ้ำ กรมวิชาการเกษตรจะพิจารณาให้พักใช้ใบรับรองแหล่งผลิตพืชแต่หากเป็นแปลงใหม่ที่มีผลการตรวจประเมินไม่ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด กรมวิชาการเกษตรจะไม่ออกใบรับรองGAP ให้เกษตรกรรายนั้น หรือหากตรวจพบวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ซึ่งเป็นสารเคมีที่ห้ามนำเข้า-ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง จะสั่งเพิกถอนใบรับรอง และสารวัตรเกษตรจะเข้าติดตามตรวจสอบร้านค้าจำหน่ายสารเคมี ทางการเกษตรในพื้นที่ หากพบการกระทำผิดจะแจ้งเรื่องส่งฟ้องดำเนินคดีต่อไป
คณะกรรมการอาหารและยา ได้ออกคำชี้แจงมาตรการเฝ้าระวังผักและผลไม้ที่อาจมีสารพิษตกค้างทางการเกษตร ทั้งที่ด่านนำเข้า สถานที่คัดบรรจุรวมทั้งสถานที่จำหน่ายทั่วประเทศ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค โดยมาตรการดังกล่าวจะดำเนินการตรวจสอบสารพิษตกค้างทางการเกษตรและการแสดงฉลากของผักและผลไม้ ณ ด่านอาหารและยา สถานที่คัดและบรรจุและสถานที่จำหน่ายทั่วประทศ รวมถึงกระบวนการคัดและบรรจุ ณ สถานที่คัดและบรรจุทั่วประเทศอีกด้วย
ซึ่ง อย.ได้มีการชี้แจงกับเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน ได้แก่ เครือข่ายเกษตรกร ผู้ประกอบการคัดและบรรจุ ผู้นำเข้า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีก ทราบเกี่ยวกับมาตรการดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา โดยหากตรวจพบสารพิษตกค้างในผักและผลไม้เกินค่ามาตรฐาน จะมีโทษปรับสูงสุด50,000 บาท แต่หากมีปริมาณสารพิษตกค้างในปริมาณที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ จะมีโทษจำคุกสูงสุด 2 ปี หรือปรับสูงสุด 20,00 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ทั้งนี้ ประชาชนสามารถเลือกซื้อผักผลไม้สังเกตจากสัญลักษณ์ OR Code ที่อยู่บนฉลากหรือสอบถามจากผู้ขาย เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ผักและผลไม้นั้นมาจากแหล่งที่มีคุณภาพ สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ว่าผักผลไม้นั้นมีความปลอดภัย ผลิตมาจากสถานที่ที่ได้รับการรับรอง
.
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: