ท่องไป..ตามใจตน / เขื่อนบางลาง
วันก่อนมีโอกาสได้”ท่องไป…ตามใจตน” โดยได้ร่วมเดินทางไปกับคณะผู้สื่อข่าวคณะใหญ่ ในคณะนี้ประกอบไปด้วยผู้หลักผู้ใหญ่ในวงการสื่อสารมวลชนหลากหลายช่อง หลากหลายสถานี มุ่งหน้าลงไปยังพื้นที่ใต้สุดแคว้นแดนสยาม…เบตง จังหวัดยะลา เพื่อนพี่น้องพอรู้ข่าวว่าจะลงไปเบตง จังหวัดยะลา..ต่างพากันถามไถ่ด้วยห่วงใยในความปลอดภัย
เราก็ตอบไปว่า..รู้มัย เบตงเมืองน่าอยู่
ข่าวน่าสนใจ:
- DSI ร่วมบริจาคน้ำดื่มให้ท่านจุฬาราชมนตรี เพื่อช่วยเหลือและเยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
- ผู้กำกับ สภ.บางเสาธง เชิญตัวคู่กรณีทั้งสองฝ่ายพูดคุยถึงเหตุการณ์ที่รถชนกันแล้วมีอ้างรู้จักตำรวจ
- พิธีเปิดนิทรรศการฟอสซิลช้างดึกดำบรรพ์และสัตว์ร่วมยุคในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
- นักท่องเที่ยวแห่ชมดอกไม้งามดอยตุง ชิมอาหารพื้นถิ่น ถ่ายรูปดอกไม้สวย
เมื่อเครื่องลงที่สนามบินหาดใหญ่ ก็พบกับเจ้าหน้าที่ ปชส.ยะลา มารอรับ(น่ารักที่สุด)พาเราขึ้นรถตู้พาตรงดิ่งเข้ายะลา..งานแรกที่เราไปถึงคืองาน”ของดีเมืองยะลา” อันนี้ก็ขอละไว้คราหน้าขอไปที่เขื่อนบางลาง ก่อนนะ…เพราะชอบเป็นส่วนตัว
วันนั้นทีมงานใหญ่มุ่งหน้าไปเขื่อนบางลาง 5 คันรถตู้ เส้นทางจากยะลาฃ
กว่าจะไปถึงตัวเขื่อน ก็นะ..หนักอยู่ แต่ไม่ท้อเพราะไม่ได้วิ่งไปแบบพี่ตูน
2 ชั่วโมงเต็มๆ กว่าจะถึง แต่ถึงแล้วชื่นใจ สวยงามมีประโยชน์
แบบไม่ใช่สวยแต่รูป แต่จูบไม่หอม
เขื่อนบางลาง เป็นอะไรที่ งดงาม ควรค่ากับการเดินทาง
กว่า 40 ปี ที่เขื่อนแห่งนี้ รับใช้ชุมชนคนลุ่มน้ำปัตตานี..มารู้จักเขื่อนแห่งนี้กันหน่อยนะครับ
เขื่อนบางลาง ตั้งอยู่ ต.บางลาง อ.บันนังสตา จ.ยะลา เป็นเขื่อนเอนกประสงค์แห่งแรกของภาคใต้ ดำเนินการตามแผนพัฒนาลุ่มน้ำปัตตานี ตัวเขื่อนเป็นเขื่อนหินถมแกนดินเหนียว มีความสูง 85 เมตร สันเขื่อนยาว 430 เมตร กว้าง 10 เมตร อ่างเก็บน้ำมีความจุ 1,420 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่รับน้ำเหนือเขื่อน 2,080 ตารางกิโลเมตรเริ่มดำเนินการก่อสร้างมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2519 แล้วเสร็จเดือนมิถุนายน 2524 การก่อสร้างได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีก็ด้วยความเสียสละ ร่วมมือ ร่วมใจ จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ทั้งจากราษฎรในพื้นที่ หน่วยงานราชการต่างๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่เข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่ เขื่อนแห่งนี้จึงมีขึ้นเพื่ออำนวยประโยชน์แก่ประชาชนในภูมิภาคนี้ของประเทศอย่างแท้จริง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อน เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2524
เนื่องจากการก่อสร้างเขื่อนบางลาง ท้าให้ราษฎรที่อาศัยอยู่ในบริเวณท้องที่อำเภอบันนังสตา และอำเภอธารโต ซึ่งมีอยู่ประมาณ 1,100 ครอบครัวต้องถูกน้ำท่วมดังนั้น กฟผ. จึงได้ร่วมมือและประสานงาน กับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ให้ความช่วยเหลือราษฎรดังกล่าว โดยจ่ายเงินค่าชดเชยที่ดินและทรัพย์สินในราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม รวมทั้งจัดสรรที่ท้ากินและที่อยู่อาศัยให้แก่ราษฎรครอบครัวละ 20 ไร่ โดยแบ่งเป็นที่อยู่อาศัย 2 ไร่ และที่เพาะปลูก 18 ไร่นอกจากนี้แล้วยังให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งสหกรณ์โดยจัดตั้งวงเงินประมาณ 10 ล้านบาท ให้สมาชิกกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำและผ่อนส่งระยะยาว
น้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนบางลางสามารถอำนวยประโยชน์ในด้านการชลประทานแก่พื้นที่เพาะปลูก ของจังหวัดยะลาและปัตตานีเป็นพื้นที่ 380,000 ไร่ซึ่งน้ำที่ปล่อยออกมาสามารถนำมาผลิตไฟฟ้าได้ เฉลี่ยปีละประมาณ 289 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ช่วยส่งเสริมระบบไฟฟ้าในภาคใต้ให้มีความมั่นคงยิ่งขึ้น นับเป็นผลพลอยได้ที่มีคุณประโยชน์มหาศาลนอกจากนี้ อ่างเก็บน้ำเขื่อนบางลางยังช่วยบรรเทาอุทกภัยในบริเวณตอนล่าง ของลุ่มแม่น้ำปัตตานีที่เคยเกิดขึ้นเสมอได้เป็นอย่างดี รวมทั้งเป็นแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญในภาคใต้ ที่ช่วยเสริมอาชีพและรายได้แก่ราษฎรที่อาศัยอยู่ใกล้เขื่อนและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดยะลา
กฟผ. เขื่อนบางลาง ได้ให้ความสำคัญต่อภารกิจของงานความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชนและสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับภารกิจผลิตไฟฟ้า การทำงานด้านสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วม เป็นการสนับสนุนและพัฒนาการดำเนินงานด้านชุมชนสัมพันธ์ให้เป็นระบบ และเกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน ทั้งนี้เพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับชุมชน ให้สาธารณชนมีความรู้ความเข้าใจในภารกิจของ กฟผ. ก่อให้เกิดการร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงานของ กฟผ. ให้ราบรื่นและประสบผลสำเร็จ รวมถึงส่งเสริมและพัฒนาชุมชน เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ของการเป็นองค์กรที่ “รับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม”
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: