X

กรมแพทย์ทหารอากาศ รับมอบหุ่นยนต์เพื่อการพยาบาลผู้ป่วย COVID-19

ปทุมธานี พิธีรับมอบหุ่นยนต์เพื่อการพยาบาลผู้ป่วย COVID-19 ให้กรมแพทย์ทหารอากาศ เพื่อใช้ประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วย

วันนี้ (วันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๖๓) พลอากาศโท เกรียงไกร โสธรชัย เจ้ากรมแพทย์ทหารอากาศ เป็นผู้แทนผู้บัญชาการทหารอากาศ รับมอบหุ่นยนต์เพื่อการพยาบาลผู้ป่วย COVID-19 (RTAF Nursing_Bot) หรือ “น้องถาดหลุม” จำนวน ๓ ตัว จาก พลอากาศโท เดชอุดม คงศรี ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช เพื่อนำไปมอบให้โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช และ โรงพยาบาลทหารอากาศ (สีกัน) นำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วย COVID-19

สำหรับหุ่นยนต์ในชุดแรกที่ส่งมอบให้กรมแพทย์ทหารอากาศ มีจำนวน ๓ ตัว ประกอบด้วย
– น้องถาดหลุม A1 จำนวน ๒ ตัว ใช้สำหรับการลำเลียงอาหาร ยา และเสื้อผ้าให้ผู้ป่วย
– น้องถาดหลุม A2 จำนวน ๑ ตัว ที่นอกจากจะมีความสามารถในการลำเลียงอาหาร ยา และเสื้อผ้าแล้ว ยังมีชุดอุปกรณ์ตรวจวัดอุณหภูมิอัตโนมัติ ระบบตรวจจับใบหน้าซึ่งจะตรวจจับและบันทึกภาพผู้ป่วย พร้อมบันทึกวันเวลา และข้อมูลอุณหภูมิที่ตรวจวัดได้ลงบนภาพผู้ป่วย แล้วนำไปเก็บในระบบฐานข้อมูลที่แพทย์และพยาบาลสามารถเรียกดูข้อมูลผ่านมือถือได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังได้ติดตั้งแท็ปเล็ตเพื่อให้แพทย์และพยาบาลสามารถติดต่อสื่อสาร หรือสอบถามอาการจากผู้ป่วยได้สะดวกและปลอดภัยมากขึ้น

โดยจะมอบน้องถาดหลุม A1 และ A2 อย่างละ ๑ ตัว ให้โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช และมอบน้องถาดหลุม A1 จำนวน ๑ ตัว ให้โรงพยาบาลทหารอากาศ (สีกัน) ทั้งนี้ ทีมงานวิจัยได้ทำการฝึกการใช้งานให้กับเจ้าหน้าที่พยาบาลในการควบคุมน้องถาดหลุมผ่านวิทยุควบคุม โดยเจ้าหน้าที่พยาบาลทุกคนสามารถควบคุมได้เป็นอย่างดี สำหรับการพัฒนาหุ่นยนต์ในชุดต่อไปตามนโยบายผู้บัญชาการทหารอากาศ จะพัฒนาการใช้งานให้เป็นแบบ AI ซึ่งไม่ต้องใช้เจ้าหน้าที่พยาบาลควบคุมการเคลื่อนที่ด้วยการบังคับวิทยุ และเพิ่มเติมขีดความสามารถอื่นตามความต้องการของแพทย์พยาบาลผู้ใช้งาน

นอกจากนี้ เจ้ากรมแพทย์ทหารอากาศ ยังได้รับมอบหุ่นยนต์จำนวน ๑ ตัว จาก คุณพีรพล ตระกูลช่าง กรรมการผู้จัดการบริษัท อาร์ วี คอนเน็กซ์ โดยหุ่นยนต์ตัวนี้พัฒนาขึ้นจากความร่วมมือของบริษัท อาร์ วี คอนเน็กซ์ กับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร บนมาตรฐานหุ่นยนต์ใช้งานทางทหาร โดยมุ่งเน้นการพัฒนาในประเทศและสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน ซึ่งด้วยเหตุที่เป็นการพัฒนาเองทำให้สามารถควบคุมองค์ประกอบสำคัญทั้งหมด ปรับเปลี่ยนได้ทั้ง Hardware และ Software ชิ้นส่วนต่างๆ ที่สำคัญก็ออกแบบและผลิตในประเทศ ในกรณีนี้จึงสามารถปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ประกอบบางส่วนให้ตอบสนองต่อการใช้งานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อสนับสนุนการส่งของหรืออาหารในพื้นที่ควบคุม ลดความเสี่ยงให้กับบุคลากรทางการแพทย์ โดยหุ่นยนต์สามารถรับน้ำหนักได้มาก มีรัศมีการควบคุมที่สามารถขยายได้ตามพื้นที่ปฏิบัติงาน ผู้ควบคุมสามารถสื่อสารกับผู้ป่วยได้แบบสองทางผ่านระบบสื่อสารไร้สายได้อีกด้วย

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of พนอ ชมภูศรี

พนอ ชมภูศรี

พนอ ชมภูศรี คลุกคลีในวงการสื่อสารมวลชนมานาน โดยเริ่มงานครั้งแรกในราวปีพศ.2540 โดยเข้าร่วมงานกับ นสพ.อาชญากรรม รายสัปดาห์ จากนั้นก็ทำงานเป็น ขทร.ไทยรัฐ นสพ.บ้านเมือง ก่อนจะไปยัง นสพ.คมชัดลึก และเครือเนชั่นกรุ๊ป รายงานข่าว ความเดือดร้อน ระวังภัย และข่าวพัฒนาในชุมชนในท้องถิ่นทางเนชั่นทีวี วันนี้พร้อมแล้วที่จะเป็นปากเสียง และนำเสนอการพัฒนาเมืองปทุมธานี