X

ชาวปทุมฯร่วมตักบาตรพระร้อยทางเรือและประเพณีลำพาข้าวสาร สืบสานวัฒนธรรม-ประเพณีลุ่มน้ำเจ้าพระยา

ปทุมธานี ชาวปทุมฯร่วมตักบาตรพระร้อยทางเรือและประเพณีลำพาข้าวสาร สืบสานวัฒนธรรม -ประเพณีลุ่มน้ำเจ้าพระยา

วันที่27 ต.ค.61 ที่ วัดสำแล อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี นายชาธิป รุจนเสรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ประธานในพิธีเปิดงานประเพณีตักบาตรพระร้อย (ทางน้ำ) และงานสืบสานประเพณีลำพาข้าวสาร จังหวัดปทุมธานี ประจำปี 2561 พร้อมด้วยนางกาญจนี รุจนเสรี รองนายกเหล่ากาชาดจังหวัดปทุมธานี นางสาวกันตรัตน์ เริ่มสูงเนิน นายอำเภอสามโคก นายวินัย เนตรพระฤทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล นางสาวฐิต์ณัฐ สมบัติศิริ วัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานีและประชาชน เข้าร่วมพิธีเพื่อสืบสานประเพณีท้องถิ่นที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดปทุมธานี


ปทุมธานีเป็นจังหวัดที่อยู่ในภาคกลางของประเทศไทย ทางเหนือของกรุงเทพมหานคร มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน มีความเป็นถิ่นฐานบ้านเมืองมาแล้วไม่น้อยกว่า 300 ปี เมื่อไม่นานนี้พึ่งจะฉลองนามปทุมธานี 200 ปี และเมืองสามโคก 385 ปี บริเวณสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชาวมอญเมืองสามโคก ความสะดวกสบายในการสัญจรไปมาทาน้ำ โดยอาศัยเรือเป็นพาหนะ บ้านเรือนที่ปลูกติดใกล้ชิดกันโดยมีวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน


ประเพณีตักบาตรพระร้อยในเทศกาลวันออกพรรษาตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 การตักบาตรพระร้อยเป็นประเพณีของวัดที่อยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่งแม่น้ำ โดยจะตกลงกำหนดแบ่งกันเป็นเจ้าภาพเพื่อไม่ให้ตรงกัน เพราะถ้าตรงกันแล้วจำนวนพระที่มารับบิณฑบาตจะได้ไม่ครบ 100 รูป และต้องการให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายรู้กำหนดเวลา จะได้เตรียมจัดทำอาหารหวานคาวไว้ทำบุญตักบาตรได้ถูกต้อง


ที่ผ่านมาเมื่อถึงช่วงเทศกาลงานบุญชาวบ้านก็จะจัดเตรียมข้าวปลาอาหาร พร้อมนำไปทำบุญตักบาตรเนื่องในเทศกาลวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา อย่างวันออกพรรษานี้ ชาวบ้านจะเดินทางมาทำบุญที่วันใกล้บ้าน การตักบาตรพระร้อยทางเรือนั้นเป็นวันสำคัญที่ประชาชนมักเข้ามาทำบุญเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ครอบครัวและเป็นการสานต่อวัฒนธรรมที่ดี ให้ลูกหลาน เยาวชนรุ่นต่อไปได้เห็นได้บ่มเพาะความดีที่ได้เข้าวัดทำบุญ ฟันเทศน์ฟังธรรมจากพระสงฆ์ความรู้เกิดความเลื่อมใส


นางสาวฐิต์ณัฐ สมบัติศิริ วัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า การจัดการตักบาตรพระร้อยเป็นหน้าที่ของวัดที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาและริมคลอง แต่ก็ไม่ได้กำหนดไปเสียทุกวัด หากวัดที่ไม่ได้ติดแม่น้ำก็จะเรียกประเพณีนี้ว่าตักบาตรเทโว ส่วนใหญ่จะจัดให้มีการตักบาตรเฉพาะในวัดใหญ่ๆ ตามที่ยึดถือกันมาแต่ดั้งเดิมเพราะว่าต้องนิมนต์พระภิกษุมาเป็นจำนวนมาก ดังที่เรียกว่า พระร้อย ด้วยความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของบรรดาพุทธศาสนิกชน การตักบาตรพระร้อยจึงเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ของจังหวัดปทุมธานี ส่วนงานสืบสานประเพณีลำพาข้าวสาร เป็นประเพณีการบอกบุญกฐิน โดยพ่อเพลงแม่เพลงและผู้ร่วมกิจกรรมจะลงเรือที่จัดเตรียมไว้ ร้องเพลงลำพาข้าวสาร บอกบุญเชิญชวนประชาชนริมแม่น้ำออกมาทำบุญ ข้าวสาร อาหารแห้ง และปัจจัย ตามกำลังศรัทธาใส่กระบุงในเรือลำพาข้าวสารที่เตรียมไว้ แล้วนำไปถวายวัดที่กำหนด

พงศ์พัทธ์ วงศ์ยะลา…รายงาน

 

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of พนอ ชมภูศรี

พนอ ชมภูศรี

พนอ ชมภูศรี คลุกคลีในวงการสื่อสารมวลชนมานาน โดยเริ่มงานครั้งแรกในราวปีพศ.2540 โดยเข้าร่วมงานกับ นสพ.อาชญากรรม รายสัปดาห์ จากนั้นก็ทำงานเป็น ขทร.ไทยรัฐ นสพ.บ้านเมือง ก่อนจะไปยัง นสพ.คมชัดลึก และเครือเนชั่นกรุ๊ป รายงานข่าว ความเดือดร้อน ระวังภัย และข่าวพัฒนาในชุมชนในท้องถิ่นทางเนชั่นทีวี วันนี้พร้อมแล้วที่จะเป็นปากเสียง และนำเสนอการพัฒนาเมืองปทุมธานี