ปทุมธานี ลุงพลป้าแต๋น วอนให้คนก่อเหตุมอบตัว หลังเจ้าหน้าที่ ศพฐ.ใช้เวลากว่า 12 ชม.นำเข้าเครื่องจับเท็จ
วันที่ 8 มค.2564 เจ้าหน้าที่ตำรวจร่วมกับเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานได้นำตัว ลุงพล หรือนายไชย์พล วิภา และ ป้าแต๋ม นางสมพร หลาบโพธิ์ เดิมทางมายังศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 1 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เพื่อเข้าสู่กระบวนการเครื่องจับเท็จ ทั้งนี้สืบเนื่องจากคดีน้องชมพู่ บ้านกกกอก โดยเมื่อนำตัวทั้งสองคนมาถึงเจ้าหน้าที่ได้นำตัวเข้าไปในอาคารโดยทันทีไม่มีการให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนที่รอทำข่าวอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้จากการสังเกตสีหน้าของทั้งลุงพล และป้าแต๋น สีหน้าปกติไม่มีร่องรอยของความเครียดใดๆ
จนกระทั่งเวลา 21.00 น.เจ้าหน้าที่ตำรวจศูนย์พิสูจน์หลักฐานได้นำตัวนายไชย์พล วิภา หรือลุงพล พร้อมด้วย นางสมพร หลาบโพธิ์ หรือป้าแต๋น เดินทางออกทางประตูด้านหลัง หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการสอบสวนด้วยเครื่องจับเท็จ ลุงพลได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า “หลังจากที่ตนเองเข้าไปก็มีเจ้าหน้าที่ซักถามประมาณ 4-5 ท่าน โดยใช้เครื่องจับเท็จมีการใช้กล้องและเครื่องจับชีพจร โดยถ้าคนมีพิรุธหรือโกหกชีพจรก็จะไม่ปกติ เพราะใช้กระแสไฟฟ้า ส่วนคำถามนั้นตัวลุงเองนั้นจำไม่ได้ เพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ซักถามวนไปวนมาจนจำไม่ได้ แต่คำตอบที่ให้ตอบคือ ใช่ กับ ไม่ใช่เท่านั้น โดยคำถามจะเป็นการถามซ้ำๆ ไม่น่าจะเกิน 10 คำถาม โดนส่วนตัวไม่ได้รู้สึกอึดอัดใจ แต่คำถามนั้นจะถามวนไปวนมาทำให้เราตอบผิดตอบถูก เพราะว่าไม่ได้มีการอธิบาย เพียงแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ เท่านี้
ข่าวน่าสนใจ:
ซึ่งตอนนี้อยากบอกวิญญาณน้องชมพู่ว่าให้กำลังใจลุงกับป้าเหมือนเดิม ถ้าน้องยังอยู่นะ เพราะตอนนี้ลุงกับป้าต่อสู้มาถึงทุกวันนี้ ก็เพื่อความยุติธรรมให้กับน้อง ถ้าใครรู้ตัวว่าทำกับชมพู่ก็อยากให้ออกมารับผิดในสิ่งที่ทำ เพราะเวลาก็ผ่านหลายเดือนแล้ว เพราะการทำร้ายลักษณะนี้ กฎหมายเมืองไทยไม่น่าจะติดคุกตลอดชีวิต เพราะกฎหมายไทยมีการลดหย่อนด้วย ก็ขอให้เขาออกมายอมรับสิ่งที่เขาทำ ความรู้สึกตอนก่อนเข้าหรือหลังเข้าก็รู้สึกเหมือนเดิมครับ ห้องข้างในมันเย็นครับ เปิดแอร์เย็นก็มาก
ส่วนป้าแต๋น กล่าวว่า ก็รู้สึกตื่นเต้น แต่ก็รู้สึกโล่งเพราะพี่น้องมาตรงนี้หมด ส่วนคำถามนั้นตนไม่แน่ใจว่าเหมือนกันหรือป่าว เพราะยังไม่ได้คุยกันเลย เพราะลุงพึ่งออกมาก ส่วนคำถามของป้าก็ตอบเพียงแค่ว่า ใช้หรือไม่ใช่เหมือนกัน โดยคำถามส่วนมากจะเกี่ยวกับน้องชมพู่ แต่ตนจำไม่ได้ เพียงจำได้ว่าแค่ใช่กับไม่ใช่เท่านั้น หลังจากที่ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวเสร็จแล้วทั้งลุงพลและป้าแต๋นก็ได้ขึ้นรถกระบะกลับบ้านกกกอก จ.มุกดาหาร โดยทันที เพราะมีงานทำบุญที่วัดยังรออยู่
พล.ต.ต.สันติ์ สุขวัจน์ รองผู้บัญชาการสำนักงานพิสูจน์หลักฐาน เปิดเผยถึงการนำลุงพล – ป้าแต๋น เข้าเครื่องจับเท็จ ว่า เป็น 1 ในกระบวนการสอบสวน และเป็นส่วนหนึ่งของหลักฐานที่จะใช้ประกอบสำนวนคดีนี้ แต่ไม่ใช่การชี้ขาดว่าใครคือคนร้ายฆาตกรรมน้องชมพู่ส่วนสาเหตุที่ตำรวจฝ่ายสืบสวนเชิญคนในครอบครัวของน้องชมพู่ รวมถึงลุงพลกับป้าแต๋น ให้มาเข้าเครื่องจับเท็จ เนื่องจากเห็นว่า เป็นบุคคลใกล้ชิดที่สามารถเข้าถึงตัวน้องชมพู่ได้ง่าย โดยที่เด็กไม่ร้องหรือต่อต้าน ซึ่งไม่ได้หมายความว่าบุคคลเหล่านี้คือคนร้าย หรือ ผู้ต้องสงสัย ในคดีสำหรับการนำลุงพล – ป้าแต๋น เข้าเครื่องจับเท็จวันนี้ เจ้าหน้าที่ได้เชิญป้าแต๋น เข้าสู่กระบวนการก่อน โดยเริ่มเข้าเครื่องจับเท็จเวลา11.00 น.แล้วเสร็จในเวลา 15.00 น.รวมระยะเวลา 4 ชั่วโมง ส่วนลุงพล เข้าเครื่องจับเท็จตั้งแต่15.00น.เป็นต้นไป บรรยากาศการเข้าเครื่องจับเท็จของลุงพล – ป้าแต๋น นั้น เป็นไปด้วยดี ไม่มีใครที่มีอาการเครียด หรือ เจ็บป่วย
ส่วนกระบวนการเข้าเครื่องจับเท็จที่ผ่านมา ตำรวจได้ใช้ประกอบสำนวนคดีสำคัญมาแล้วหลายคดี อย่างเช่น คดีเสริม สาครราช ฆาตกรรมแฟนสาว และคดีหมอวิสุทธิ์ ฆาตกรรมแพทย์หญิงผัสพรโดยผลจากการเข้าเครื่องจับเท็จของทั้ง 2 คดี ที่มีการจับปฏิกิริยาของร่างกายในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญทำการซักถาม เป็นหลักฐานส่วนหนึ่งที่ศาลรับฟัง จนนำไปสู่การพิจารณาคดี สำหรับการทำงานของเครื่องจับเท็จ จะเริ่มจาก การซักถามประวัติของบุคคล ก่อนจะอ่านคำถามในการเข้าเครื่องจับเท็จให้ฟัง พร้อมกับสร้างความคุ้นเคยของทั้ง 2 ฝ่าย คือผู้เชี่ยวชาญกับผู้ที่เข้าเครื่องจับเท็จ ซึ่งในครั้งนี้ก็คือลุงพลกับป้าแต๋น หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ได้ติดตั้งอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ทางการแพทย์เพื่อวัดคลื่นหัวใจและความดัน // ขั้นตอนนี้ถ้าหากมีการโกหก แม้ร่างกายภายนอกจะดูปกติ แต่ปฏิกิริยาภายในจะแสดงมาในรูปแบบกราฟ จากนั้นผู้เชี่ยวชาญก็จะนำกราฟวิเคราะห์ ก่อนสรุปผลส่งให้พนักงานสอบสวนภายใน 30 วัน เพื่อประกอบในสำนวนคดี ส่วนศาลจะรับฟังหรือไม่ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ และยืนยันว่า เครื่องจับเท็จที่นำมาใช้กับลุงพล – ป้าแต๋น มีมาตรฐานสากล เพราะเป็นแบบเดียวกันกับที่สหรัฐอเมริกาใช้ ซึ่งถือเป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: