X

“หัตถกรรมดอกบัว”และ”สไบมอญ” อัตลักษณ์ท้องถิ่นสานต่อทุนทางวัฒนธรรม สร้างรายได้ให้กับชุมชน

ปทุมธานี วัฒนธรรม โชว์“หัตถกรรมดอกบัว”และ”สไบมอญ” อัตลักษณ์ท้องถิ่นสานต่อทุนทางวัฒนธรรม สร้างรายได้ให้กับชุมชน

ที่ชุมชนคุณธรรมวัดบางหลวง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเทศบาลตำบลบางหลวง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนและผู้สนใจงานศิลป์ดินปั้นเป็นหนึ่งในหัตถกรรมพื้นบ้านของชุมชนคุณธรรมวัดบางหลวงในปัจจุบันมีการทำดอกไม้ประดิษฐ์จากวัสดุต่างๆมากมายเพราะ ดอกไม้มีสีสันที่สดใสทำให้ผู้ที่ได้ชื่นชมรู้สึกมีความสุขและสบายใจ ดินก็เป็นวัสดุหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ประดิษฐ์เพราะถือว่าเป็นวัสดุที่ประดิษฐ์แล้วมีความสวยงามเหมือนจริงใกล้เคียงธรรมชาติมากศิลปะการปั้นถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นด้วยการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ จากดินเหนียวริมคลองสู่แป้งขนมปังพัฒนาเป็นดินไทยประยุกต์ สรรค์สร้างเป็นรูปคน – สัตว์ – ดอกไม้หลากหลายรูปแบบกลายเป็นงานศิลปะที่วิจิตรบรรจง สวยงามบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทยเป็นงานแฮนเมดที่มีคุณค่าโดยเฉพาะดอกบัวหลวง ทำจากดิน สวยไม่แพ้ดอกบัวจริงๆที่มีความงามไม่ว่าจะดอกตูมหรือดอกบาน

ผลิตภัณฑ์ดินไทยเป็นงานที่เสริมรายได้ให้แก่ครอบครัว ชุมชน สร้างความรัก ความสามัคคีปรองดองกันมีกิจกรรมร่วมกันในชุมชน เกิดผลงานมีคุณค่าทางความงาม เกิดการถ่ายทอดภูมิปัญญาชาวบ้าน ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และยังคงความเป็นเอกลักษณ์และมรดกทางวัฒนธรรม นอกเหนือจากดอกบัวหลวง สัญลักษณ์ประจำจังหวัดปทุมธานี ที่ใครหลายคนรู้จักคุ้นเคยกันอยู่แล้วกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเทศบาลตำบลบางหลวง ยังมีมนต์เสน่ห์ทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจอีกด้านอย่างการทำผ้า “สไบมอญ” จากฝีมือคนไทยเชื้อสายมอญที่มีการสืบทอดผ่านรุ่นแล้วรุ่นเล่า

นับเป็นผลิตภัณฑ์สร้างชื่อเสียงให้กับชาวไทยเชื้อสายมอญในจังหวัดปทุมธานีใต้ภูมิปัญญาและทุนทางวัฒนธรรมดั่งเดิมที่มีมาแต่อดีต อัตลักษณ์ชาวมอญถูกถ่ายทอดผ่าน ‘สไบมอญ’ มาช้านาน สีสันและลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ไม่ว่าจะเป็นลายดอกมะเขือ ลายดาวล้อมเดือน ลายหงษ์ ลายดอกบัว ฯลฯ ล้วนดึงดูดความสนใจและสะดุดตาทุกครั้งเมื่อพบเห็น สไบมอญไม่ได้มีดีแค่สวยงาม แต่วันนี้ผ้าสไบมอญกำลังสร้างรอยยิ้ม สร้างโอกาส ผ่านศูนย์การเรียนรู้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเทศบาลตำบลบางหลวง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เพื่อสร้างโอกาสและสร้างอาชีพให้กับคนในชุมชนผ่านการอบรมเรียนรู้เรื่องการปักสไบมอญ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวไทยเชื้อสายมอญ

“คนมอญจะออกวัดไปทำบุญหรือไปตามเทศกาลต่างๆจะต้องห่มผ้าสไบแสดงถึงความเคารพสถานที่เป็นการสุภาพบางครั้งผู้ชายใช้ผ้าสไบปูแล้วก็กราบ”เราจะเห็นสไบชายสะบัดที่มีสีสันไม่เหมือนกันลายปักมือไม่เหมือนกันแสนสวยงามและนุ่มนวลสไบมอญมีสองแบบคือสไบถัก และสไบปักความสวยของสไบอยู่ที่ลายของสไบว่าละเอียดขนาดไหนและฝีมือลายปักตั้งแต่ตอนวาดลายกันเลยเสน่ห์ของสไบมอญเมืองปทุมธานีที่สุดก็คือ “ที่อื่นอาจจะใช้จักรแต่ที่นี่เราใช้มือปัก”เพราะถือเป็นแก่นหลักของสไบมอญด้วยสังเกตได้ว่าผู้ปักจะต้องใจเย็นนุ่มไปตามลายอันชดช้อยและเข็มที่ปักลงแต่ละเข็มจะแม่นยำไปตามลายไม่ห่างเกินไปไม่ชิดเกินไปเรียกได้ว่าเราจะรู้สึกถึงลมหายใจของผู้ปักก็จากลายของสไบได้ทันทีที่เห็นเอกลักษณ์ของสไบมอญ

คือขอบจะเป็นลายคลื่น และมีลายเล็กๆเป็นดอกไม้ใบไม้เรียงรายกันไปตามลายคลื่น“เราจะอนุรักษ์ลายต่างๆของสไบมอญไว้อย่างเคร่งครัดเพื่อให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้สืบทอดภูมิปัญญานี้ ให้อยู่คู่กับคนมอญเราตลอดไป” กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเทศบาลตำบลบางหลวง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี นำโดย นางจิตรา วิจิตรการ ประธานกลุ่ม นางทิพย์สุคนธ์ มหาวรรณ์ นางราณี ชื่นสุวรรณ์ ได้รักษาศิลปหัตถกรรม “สไบมอญ”และ“หัตถกรรมดอกบัว”ถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังได้สืบสานเรียนรู้ และอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่ตลอดไป

นางสาวฐิต์ณัฐ สมบัติศิริ วัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี เปิดเผยว่า ด้วยผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาและทุนทางวัฒนธรรม(CPOT) หรือของดีบ้านฉัน เป็นผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการที่สะท้อนภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอันมีความโดดเด่นของชุมชนในท้องถิ่น ส่งเสริมให้คนในพื้นที่มีความรัก ความผูกพัน และความภาคภูมิใจในบ้านเกิด รวมทั้งพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมในพื้นที่ให้สามารถสร้างอาชีพ สร้างคุณค่าทางสังคมและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนให้สูงขึ้น และสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืน

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of พนอ ชมภูศรี

พนอ ชมภูศรี

พนอ ชมภูศรี คลุกคลีในวงการสื่อสารมวลชนมานาน โดยเริ่มงานครั้งแรกในราวปีพศ.2540 โดยเข้าร่วมงานกับ นสพ.อาชญากรรม รายสัปดาห์ จากนั้นก็ทำงานเป็น ขทร.ไทยรัฐ นสพ.บ้านเมือง ก่อนจะไปยัง นสพ.คมชัดลึก และเครือเนชั่นกรุ๊ป รายงานข่าว ความเดือดร้อน ระวังภัย และข่าวพัฒนาในชุมชนในท้องถิ่นทางเนชั่นทีวี วันนี้พร้อมแล้วที่จะเป็นปากเสียง และนำเสนอการพัฒนาเมืองปทุมธานี