ปทุมธานี ผวาโรงงานแปรรูปไก่ งัดมาตรการเข้มกำหนดพื้นที่ควบคุมสูงสุดบริเวณตลาดไท หลังพบเป็นแหล่งแพร่เชื้อ
นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าฯ ปทุมธานี ประธานกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปทุมธานี ได้มีหนังสือคำสั่งจังหวัดปทุมธานี เรื่อง การกำหนดเขตพื้นที่ควบคุมโรคติดต่อในบางพื้นที่ของจังหวัดปทุมธานี เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้ถือปฏิบัติแล้วนั้น โดยที่ปรากฏสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ขึ้นใหม่ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี โดยพบผู้ป่วยยืนยันรายใหม่เป็นแบบกลุ่มก้อน (คลัสเตอร์) ในพื้นที่ตลาดไท อ.คลองหลวง และมีการกระจายเป็นวงกว้างในหลายจังหวัด ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค
คำสั่งจังหวัดปทุมธานี ที่6961/2564 เรื่อง การกำหนดเขตพื้นที่ควบคุมโรคติดต่อในบางพื้นที่ของจังหวัดปทุมธานีตามที่จังหวัดปทุมธานีได้มีคำสั่งมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้ถือปฏิบัติแล้ว นั้นโดยที่ปรากฎสถานการณ์การแพร่ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVD- 19)ขึ้นใหม่ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี โดยพบผู้ป่วยยืนยันรายใหม่เป็นแบบกลุ่มก้อนในพื้นที่ตลาดไท อ.คลองหลวงและมีการกระจายเป็นวงกว้างในหลายจังหวัด ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการแพร่ ระบาดของโรค ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 34 และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ประกอบกับข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548(ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548(ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2564 และข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 27) ลงวันที่ 10 กรกฎคม 2564และคำสั่งจังหวัดปทุมธานี ที่ 6328/2564 ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2564 ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปทุมธานี ตามมติที่ประชุม ครั้งที่ 36/2564 เมื่อวันที่ 14 กรกฏาคม 2564
จึงให้ดำเนินการดังต่อไปนี้ “ตลาดไท” พื้นที่ควบคุมโรคติดต่อสูงสุด-เข้มงวด
ข้อ 1. กำหนดพื้นที่บริษัท ไทย แอ็กโกร เอ็กซเชนจ์ จำกัด (ตลาดไท) ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง เป็นเขตพื้นที่ควบคุมโรคติดต่อสูงสุดและเข้มงวด โดยมีมาตรการ ดังนี้
1.1 ให้ผู้ค้า ลูกจ้างและแรงงานที่เดินทางเข้าตลาดไท ต้องตรวจหาเชื้อโควิด – 19 ด้วยวิธี Antigen Test Kit ทุกสัปดาห์ หรือมีหลักฐานการตรวจที่มีผลเป็นลบหรือไม่พบเชื้อโควิด-19 ไม่เกิน 7 วันแสดงต่อเจ้าหน้าที่ก่อนเข้าตลาดไท
1.2 ให้ผู้อยู่อาศัยอาคารพาณิชย์ ผู้ประกอบการธุรกิจอื่น ๆ โดยรอบ ผู้ซื้อและทุกคนที่มาใช้บริการในพื้นที่ตลาดไท ต้องแสดงหลักฐานได้รับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี Antigen Test Kt ทุก 7 วัน หรือมีหลักฐาน การตรวจที่มีผลเป็นลบหรือไม่พบเชื้อโควิด – 19 ไม่เกิน 7 วัน แสดงต่อเจ้าหน้าที่ก่อนเข้าตลาดไท
1.3 กำหนดให้มีด่านตรวจคัดกรองก่อนเข้าพื้นที่ เพื่อคัดกรองหลักฐานหรือผลการตรวจเชื้อที่มีผลเป็นลบหรือไม่พบติดเชื้อ ส่วนผู้ที่เคยติดเชื้อจะต้องมีหลักฐานการติดเชื้อ มากกว่า 14 วัน หรือใบรับรอง
การกักตัวหลังการวินิจฉัยครบระยะเวลา 14 วัน
1.4 ให้ตลาดไท จัดพื้นที่ตรวจ Antigen Test Kit พร้อมบุคลากรสำหรับการตรวจเชิงรุก เพื่อเฝ้าระวังโรคทั้งนี้ต้องจัดให้ได้ตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข
1.5 ให้ผู้ค้า ผู้รับจ้าง แรงงาน ผู้ซื้อ พนักงานและผู้อยู่อาศัยในอาคารพาณิชย์ที่มีหลักฐานการฉีดวัคซีน ครบ 2 เข็ม ร่วมกับไม่มีอาการสงสัยการติดเชื้อสามารถเข้าพื้นที่ตลาดได้โดยไม่ต้องมีผลตรวจโควิด-19 ด้วยวิธีAntigen Test kit หรือ RT – PCR
1.6 จัดตั้งโรงพยาบาลสนามร่วมใจรักษ์ในพื้นที่ตลาดไท เพื่อรองรับคนไทยและต่างชาติที่มีผลยืนยันเป็นผู้ป่วยติดเชื้อโควิด – 19 ได้อยู่ในพื้นที่ควบคุม และเป็นมาตรการป้องกันการแพร่เชื้อ
1.7 ต้องจัดคุมเข้มมาตรการของบุคลที่เข้ามาในพื้นที่เขตควบคุมโรคติดต่อสูงสุดและเข้มงวดต้องปฏิบัติตามมาตรการ DMHTTA อย่างเคร่งครัด และการทำลายเชื้อในพื้นที่ตลาดทุกวัน ในส่วนจุดบริการสาธารณะและทำความสะอาดในจุดสัมผัสร่วม ทุก 1 ชั่วโมง
1.8 ให้ปรับรูปแบบการขายซื้อ – ขาย และลดการสัมผัสโดยใช้มาตรการ drop in – drop out ให้ได้มากที่สุด เพื่อลดความแออัดในการจัดการ ในพื้นที่การซื้อ – ขายสิ้นค้า
ข้อ 2. มอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในการดำเนินการเขตพื้นที่ควบคุมโรคติดต่อสูงสุดและเข้มงวดดังนี้
2.1 การดำเนินการเขตพื้นที่ควบคุมโรคติดต่อสูงสุดและเข้มงวด 1.ให้นายอำเภอคลองหลวง เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์พื้นที่ควบคุมโรคติดต่อสูงสุดและเข้มงวด
2.ให้รองผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๔ สระบุรี เป็นผู้สนับสนุนการ ดำเนินงานในพื้นที่ควบคุมโรคติดต่อสูงสุดและเข้มงวด
3.ให้เทศบาลเมืองท่าโขลง เป็นผู้ดำเนินการในพื้นที่ควบคุมโรคติดต่อสูงสุดและ เข้มงวด ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ตามอำนาจหน้าที่ หลักเกณฑ์ และแนวทางปฏิบัติที่กระทรวงมหาดไทย และ กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
2.2 การดำเนินการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ให้สาธารณสุขอำเภอคลองหลวง เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการบูรณาการร่วมกับโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน หน่วยแพทย์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการตรวจและคัดกรองกลุ่มเสี่ยงบริเวณเขตพื้นที่ควบคุมโรคติดต่อสูงสุดและเข้มงวด ตลอดจนการให้คำแนะนำในการเฝ้าระวังและป้องกันตนเอง
2.3 การดำเนินการกำหนดมาตรการควบคุมการเข้า – ออกพื้นที่เขตพื้นที่ควบคุมโรคติดต่อสูงสุดและเข้มงวด มอบให้ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปทุมธานี เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการและบูรณาการร่วมกับ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดปทุมธานี เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองเจ้าหน้าที่ตำรวจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน ผู้ช่วยเจ้าพนักงาน และเจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบการ เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ทั้งนี้ ห้ามเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าว เข้า – ออกพื้นที่ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานควบคุมโรค เจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในบรรดาประกาศและคำสั่งที่ได้ออกไว้ก่อนหน้านี้ให้มีผลบังคับใช้ได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับคำสั่งฉบับนี้ อนึ่ง เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นข้าไปจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงแก่สาธารณชนหรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้ง ตามมาตรา 30 วรรคสอง (1)แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ทั้งนี้ ตั้งแต่ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ.2564 จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง สั่ง ณ วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ประธานกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปทุมธานี ผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดปทุมธานี
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: