ปทุมธานี เดินหน้าขับเคลื่อนเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศพื้นที่ตำบลบางกะดี
เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 16 มี.ค.2565 นายพงศธร กาญจนะจิตรา รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เป็นประธานการประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศพื้นที่ตำบลบางกระดี ครั้งที่ 1/2565 ณ ห้องประชุม บริษัท สวนอุตสาหกรรมบางกระดี จำกัด อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี โดยมี นายเศรษฐรัชต์ เลือดสกุล อุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี นายพิษณุ ประภาธนานันท์ นายอำเภอเมืองปทุมธานี นายธวัชชัย อึ้งอัมพรวิไล นายกเทศมนตรีเมืองบางกะดี นางพรอัปสร นิลจินดา ประชาสัมพันธ์จังหวัดปทุมธานี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
ข่าวน่าสนใจ:
- ชายวัย 62 ยืมมอไซค์เพื่อนจะไปรับแฟนมากินข้าวด้วยกัน เกิดเฉี่ยวชนกับรถพ่วงถูกล้อทับดับคาที่
- คึกคัก นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย-ต่างชาติ แห่เที่ยวจับจ่ายหาของกินคาวหวาน-อาหารทะเลในงาน ‘หาดแม่รำพึง หร่อยริมเล’ ครั้งที่ 2 แน่นงาน
- เพชรบูรณ์ - ผู้การตำรวจฯย้ำ! แผนรับมือ"ทริปน้ำไม่อาบ" เน้นบังคับใช้กฎหมายหากพบทำผิด
- ประชาชนแห่ เสกเหรียญหลวงปู่คำไหล ในพระมหาเจดีย์วัดดัง แห่ตีเลขน้ำตาเทียน หลังสาธุชนนับพันแห่ร่วมพิธี
นายพงศธร กาญจนะจิตรา รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาภาคอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นได้มีมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 31 มีนาคม 2565 มอบหมายกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศใน 15 จังหวัด และมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 4 มีนาคม 2559 เห็นชอบให้การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเป็นเครื่องมือหลักในการอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุขระหว่างชุมชนและอุตสาหกรรม ที่ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการการใช้ทรัพยากร อย่างคุ้มค่า หมุนเวียนการใช้ของเสียกลับมาเป็นทรัพยากร และลดการเกิดของเสีย โดยใช้เทคโนโลยีสะอาด ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและความร่วมมือกันระหว่างโรงงาน ชุมชน และภาครัฐการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town : EIT)
ตามที่ระบุไว้ในยุทธศาสตร์ชาติเป็นการพัฒนาที่สอดคล้องและเชื่อมโยงตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 31มีนาคม 2556 และ 8 มีนาคม 2559 ประกอบกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืนที่ได้มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการ เพื่อบรรลุตัวชี้วัดเป้าหมายแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 เพื่อให้พื้นที่ได้รับการพัฒนาสู่เมือง อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จำนวน 15 จังหวัด (จังหวัดระยอง สมุทรปราการ สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ชลบุรี นครปฐม สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี สงขลา ขอนแก่น นครราชสีมา สุราษฎร์ธานี และปทุมธานี)
ระดับการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้
ระดับที่ 5 เมืองน่าอยู่คู่อุตสาหกรรม (เป็นระดับสูงสุด)
ระดับที่ 4 การพึ่งพาอาศัย
ระดับที่ 3 ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร
ระดับที่ 2 การส่งเสริม
ระดับที่ 1 การมีส่วนร่วม (เป็นระดับต่ำสุด)
จังหวัดปทุมธานีกำหนดเป้าหมายการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จำนวน 2 พื้นที่
1) พื้นที่ที่หนึ่ง ตำบลบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี 2) พื้นที่ที่สอง อำเภอลาดหลุมแก้ว 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลคูขวาง ตำบลคูบางหลวง ตำบลระแหง ตำบลลาดหลุมแก้ว และตำบลหน้าไม้
นายธวัชชัย อึ้งอัมพรวิไล นายกเทศมนตรีเมืองบางกะดี กล่าวว่า การขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศพื้นที่ตำบลบางกระดี เป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของจังหวัดปทุมธานี เพื่อเป็นการสร้างความเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพและเสถียรภาพของท้องถิ่นและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนโดยรอบพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมที่สอดคล้องกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดี่ยวกันในเชิงพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างโรงงานต่างๆ ในพื้นที่กับสิ่งแวดล้อมโดยรวมและระบบนิเวศท้องถิ่น ควรเพิ่มช่องทางการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมนิเวศในทุกช่องทาง เช่น สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เสียงตามสาย สถานีวิทยุ ประชาสัมพันธ์ สื่อสารผ่านผู้นำชุมชน
หัวใจการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ คือ การมีส่วนร่วมควรมีทุกระดับต้องมีการวางแผนเช่นการจัดการขยะ การจัดการน้ำทิ้ง คุณภาพแหล่งน้ำสาธารณะ โดยมีการบริหารจัดการน้ำทิ้งจากทุกแหล่งกำเนิด เพื่อให้ชุมชนได้รู้ ว่าการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ มิได้พัฒนาเฉพาะโรงงานแต่ต้องพัฒนาชุมชนด้วย และมีประโยชน์ต่อชุมชนอย่างไร
การจัดกิจกรรม CSR ควรเกิดความร่วมมือระหว่างโรงงานและชุมชนโดยมีจุดประสงค์ เพื่อประโยชน์ต่อชุมชน การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนประโยชน์ของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศต่อท้องถิ่น คือสร้างความเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพและเสถียรภาพให้กับท้องถิ่น พร้อมไปกับ ความเป็นอยู่ที่ดีของประขาชนโดยรอบ พัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมที่สอดคล้องกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในเชิงพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างโรงงานต่าง ๆ ในพื้นที่กับสิ่งแวดล้อมโดยรวม และระบบนิเวศท้องถิ่น และขยายตัวการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเชื่อมต่อจากระดับตำบล เป็นอำเภอจนกระทั่งเป็นระดับจังหวัด
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: