ปทุมธานี นครรังสิต ร่วมกับ ปปร.26 ยกระดับขนมถ้วยโบราณเพื่อวิสาหกิจชุมชนที่ยั่งยืน
วันที่ 19 มกราคม 2566 เทศบาลนครรังสิต จังหวัดปทุมธานี ร่วมกับ คณะนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง (ปปร.) รุ่นที่ 26 สถาบันพระปกเกล้า กลุ่มบ้านราชวิถี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และ กรมวิทยาศาสตร์และบริการ จัดโครงการยกระดับขนมถ้วยโบราณ สู่..วิสาหกิจชุมชนที่ยั่งยืน ที่ โรงแรมสลิล ริเวอร์ไซด์ แขวงวัดพระยาไกร เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร
โดยมี ร้อยตำรวจเอก ดร.ตรีลุพธ์ ธูปกระจ่าง นายกเทศมนตรีนครรังสิต ดร.รัตนจันทร์ ศีลสัมฤทธิ์ ผู้แทนนักศึกษา ปปร.26 กลุ่มบ้านราชวิถี , มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล , กรมวิทยาศาสตร์และบริการ รวมพูดคุยถึงความร่วมมือของโครงการยกระดับขนมถ้วยโบราณ สู่..วิสาหกิจชุมชนที่ยั่งยืน การพัฒนาสูตรและยกระดับขนมถ้วยโบราณ ได้สูตรขนมถ้วยที่เป็นมิตรต่อสุขภาพ 4 รสชาติ ประกอบด้วย ใบเตย อัญชัน ข้าวไรซ์เบอร์รี่ และ ข้าว กข.43 สำหรับโครงการ “ยกระดับขนมถ้วยโบราณ สู่..วิสาหกิจเพื่อชุมซนที่ยั่งยืน” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาสูตรและยกระดับถ้วยโบราณ (ขนมถ้วยบ้านอาชีพแม่) เป็นขนมถ้วยที่มีรสชาติหลากหลาย และเก็บรักษาสำหรับเป็นอาหารพร้อมรับประทานได้ 2) เพื่อร่วมผลักต้นให้ชุมชนเทศบาลนครรังสิตมีการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเพื่อการแบ่งปันในสังคมอย่างรูปธรรม และ 3) เพื่อจัดทำร่างแผนพัฒนาธุรกิจ (Business Model) ของวิสาหกิจชุมชนร่วมกับเทศบาลนครรังสิตที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง
ข่าวน่าสนใจ:
- คึกคักกว่าทุกปีสุดยอดงานสืบสานประเพณีตีคลีไฟหนึ่งเดียวในโลก!
- นักท่องเที่ยวแห่ชมดอกไม้งามดอยตุง ชิมอาหารพื้นถิ่น ถ่ายรูปดอกไม้สวย
- รับสมัคร นายกอบจ.-ส.อบจ.ตรัง วันแรกคึกคัก! บ้านใหญ่ตระกูลโล่ฯ-ส.ส.ตรังทุกพรรค-กองเชียร์นับพัน แห่ให้กำลังใจ “ทีมนายกบุ่นเล้ง” สู้ศึกอีกสมัย…
- เปิดศึกชิงนายก อบจ.ปัตตานี อดีต สส.ท้าชน อดีตนายก อบจ.4 สมัยเดือดตั้งแต่วันแรก (มีคลิป)
ดร.รัตนจันทร์ ศีลสัมฤทธิ์ ผู้แทนนักศึกษา ปปร.26 กลุ่มบ้านราชวิถี กล่าวว่า กลุ่มบ้านราชวิถีได้ลงพื้นที่เทศบาลนครรังสิต ได้ข้อมูลที่สอดคล้องกับแนวคิดที่สนใจจากการสอบถามสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่เทศบาลและประชาชนในพื้นที่ พบว่าผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีจุดเด่นเพียงพอที่จะยกระดับ พบว่า ขนมถ้วยบ้านอาชีพแม่ ที่พี่สมควรได้รับการสืบทอดมาจากรุ่นคุณแม่ และดำเนินเป็นธุรกิจครอบครัวมานานกว่า 30 ปี มีจุดเด่นที่รสชาติ จากการเลือกวัตถุดิบคุณภาพ วิธีทำที่พัฒนามานานจนลงตัว จนเป็นที่รู้จักและนิยมบริโภคกันในพื้นที่อย่างมาก โดยเฉพาะรับประทานเป็นของหวานในร้านก๋วยเตี๋ยวเรือรังสิต หากยกระดับให้เป็นขนมถ้วยที่มีสูตรหลากหลาย ตอบโจทย์ผู้บริโภคกลุ่มต่างๆ เช่น คนรักสุขภาพ คนรุ่นใหม่ ร้านในห้างสรรพสินค้า การจัดอาหารในโรงแรม และหากทำเป็นขนมถ้วยพร้อมรับประทานที่คงความสด อร่อย เหมือนเพิ่งทำแต่เก็บรักษาได้นาน ทำการตลาดให้ถึงผู้บริโภคในวงกว้างได้ จะสามารถสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างการแบ่งปันกันในสังคมของเทศบาลนครรังสิตอย่างกว้างขวาง
ร้อยตำรวจเอก ดร.ตรีลุพธ์ ธูปกระจ่าง นายกเทศมนตรีนครรังสิต กล่าวว่า ทางเทศบาลนครรังสิตได้รับความร่วมมือจากสถาบันพระปกเกล้า กลุ่มบ้านราชวิถี ปปร.26 ได้เห็นถึงความสำคัญขนมถ้วยภายในชุมชนของเรา จึงได้พัฒนาร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และกรมวิทยาศาสตร์และบริการได้พัฒนารสชาติของขนมถ้วยรวมถึงบรรจุภัณฑ์ มี 4 สูตร ได้แก่ 1.สูตรใบเตย ที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับสมดุลในร่างกาย บำรุงหัวใจ ปรับความดันโลหิต รักษาเบาหวาน โรคข้อและรูมาตอยด์ และขับปัสสาวะ 2.สูตรอัญชัน เป็นประโยชน์ต่อสายตา ลดน้ำตาลในปัสสาวะและเป็นยาระบายอ่อนๆ เพิ่มภูมิต้านทาน มีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเกิดมะเร็ง ชะลอริ้วรอย บำรุงผิวพรรณและเส้นผม และดีต่อระบบเลือด 3.สูตรข้าวไรซ์เบอร์รี่ ช่วยบำรุงหัวใจ พื้นฟูเซลล์และกระตุ้นการผลิตเซลล์ใหม่ในร่างกาย มีสารอาหารจำเป็นสำหรับการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง ป้องกันการเป็นโรคโลหิตจาง ป้องกันมะเร็งบางชนิด ลดภาวะซึมเศร้า มีธาตุสังกะสี สังเคราะห์โปรตีน จึงสร้างคอลลาเจน มีส่วนช่วยรักษาสิว ป้องกันผมร่วง และกระตุ้นรากผมอีกด้วย 4.สูตรข้าว กข.43 เหมาะสำหรับคนที่ต้องการควบคุมอาหาร และควบคุมน้ำตาลคนเป็นโรคเบาหวาน
สำหรับผลการทดลองขนมถ้วยพร้อมทานพบว่า การใช้กะทิพาสเจอร์ไรส์ทำหน้าขนมถ้วย เก็บที่อุณหภูมิ 2 องศาเซลเซียสจะช่วยให้สามารถเก็บรักษาขนมถ้วยให้มีสชาติคงเดิมได้นานถึง 10 วัน และได้ทดลองทำภาชนะเชรามิครูปเรือ สัญลักษณ์ของชุมชนคลองรังสิต และออกแบบแพคเกจสำหรับบรรจุขนมถ้วยในกรณีที่สามารถยกระดับตลาดที่มีมูลค่าสูงขึ้นอีกด้วย วันนี้เราพัฒนาขนมถ้วยแล้วต่อไปเราจะพัฒนาก๋วยเตี๋ยวเรืออีก ปัจจุบันเรานำก๋วยเตี๋ยวเรือโกฮับมาซึ่งเป็นต้นตำหรับก๋วยเตี๋ยวเรือรังสิต ซึ่งในอนาคตจะมีก๋วยเตี๋ยวเรือเป็นกึ่งสำเร็จรูปเพื่อสร้างอัตลักษณ์ของรังสิต ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนและในอนาคตอีก 1 ปีจะเป็นวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคมเพื่อที่จะนำรายได้มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมต่อไป.
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: