X

ขบวน “พายเรือคายัคเพื่อเจ้าพระยา เก็บขยะจากปากน้ำโพถึงอ่าวไทย”ถึงปทุมธานีแล้ว

ปทุมธานี ขบวน “พายเรือคายัคเพื่อเจ้าพระยา เก็บขยะจากปากน้ำโพถึงอ่าวไทย”ถึงปทุมธานีแล้ว

วันที่19 ธ.ค.2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านท่าลาน หมู่ 2 ต.กระแชง อ.สามโคก จ.ปทุมธานี คณะพายเรือคายัค ของมหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์ ที่ดำเนินกิจกรรมพายเรือเก็บขยะในแม่น้ำเจ้าพระยา 10 จังหวัด ภายใต้ชื่อกิจกรรม “พายเรือเพื่อเจ้าพระยา เก็บขยะจากปากน้ำโพถึงอ่าวไทย” นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายความยั่งยืนและบริหารศูนย์รังสิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เดินทางมาถึงจังหวัดปทุมธานีแล้ว

เพื่อร่วมทำกิจกรรมรณรงค์ลดการทิ้งขยะลงแม่น้ำ และกิจกรรมการคัดแยกขยะกับทางจังหวัดปทุมธานี ซึ่งมีนายชาธิป รุจนเสรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี นายอาวุธ วิเชียรฉาย นายอำเภอเมืองปทุมธานี หัวหน้าส่วนราชการ เครือข่ายจิตอาสา ประชาชน และนักเรียน นักพายเรือคายัค ต่างประเทศหลายประเทศ กว่า 300 คน ให้การต้อนรับและเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งปริมาณขยะที่เก็บได้ในวันนี้มีทั้งขยะอันตราย ขยะทั่วไป และขยะรีไซเคิล


จังหวัดปทุมธานี เป็นพื้นที่ที่ราบลุ่มมีน้ำท่าอันอุดมสมบูรณ์ ทุ่งข้าวเขียวขจี มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน ใจกลางจังหวัด แม่น้ำเจ้าพระยาจึงเปรียบเสมือนหัวใจหลักของชาวปทุมธานี ตลอดสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา จะมีคูคลองต่าง ๆ แยกสาขาหลายสาย เป็นเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การคมนาคม พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และยังเป็นเมืองแห่งสถาบันการศึกษา รวมถึงเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต


สำหรับกิจกรรมดังกล่าว จะเป็นการพายเรือล่องแม่น้ำเจ้าพระยาผ่าน 10 จังหวัด ระยะทางกว่า 400 กิโลเมตร เพื่อร่วมกันเก็บขยะ ตั้งแต่วันที่ 10-23 ธ.ค. 2561 โดยเริ่มต้นที่ปากน้ำโพ จ.นครสวรรค์ สิ้นสุดที่พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ ซึ่งขบวนเรือทั้งหมดประกอบด้วยเรือคายัคหลัก 10 ลำ ที่จะพายตลอดเส้นทาง และเรือสมทบของแต่ละจังหวัด ที่ประกอบด้วยเรือของชุมชนและหน่วยงานภาครัฐ เรือของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 20 ลำ สำหรับประชาชนที่มาร่วมพายเรือเก็บขยะ และเรือของนักพายเรือทุกจังหวัดมาร่วมกิจกรรม เป้าหมายมิใช่เพียงแค่การเก็บขยะในแม่น้ำแต่เป้าหมายที่แท้จริงคือการทําให้ คนไทยริมแม่น้ำ เลิกทิ้งขยะ รวมถึงการเลิกปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำ เป็นการรวมพลังทังภาครัฐและภาคประชา สังคม ในการแก้ปัญหาการทิ้งขยะลงแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำอื่นๆ ของทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย


ผศ.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายความยั่งยืนและบริหาร มธ. ศูนย์รังสิต เปิดเผยว่า กิจกรรมดังกล่าวไม่ใช่เพียงเป็นการเก็บขยะในแม่น้ำเจ้าพระยา แต่เป้าหมายที่แท้จริงคือการทำให้คนไทยริมแม่น้ำเจ้าพระยาทั้ง 10 จังหวัดเลิกทิ้งขยะ รวมถึงการเลิกปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำเจ้าพระยา และจะนำไปสู่แม่น้ำอื่นๆ ในประเทศต่อไป โดยประชาชนที่ต้องการร่วมภารกิจชวนคนไทยให้เลิกทิ้งขยะลงแม่น้ำครั้งนี้ สามารถที่ร่วมกิจกรรมได้ตามจุดต่างๆ ของแต่ละจังหวัดได้ การจัดกิจกรรมทุกจังหวัดจะไม่มีการใช้ขยะพลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง โดยจะใช้ภาชนะแบบล้างได้ทั้งหมด เพื่อรณรงค์การเลิกใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง ซึ่งขยะที่เก็บได้จะมีการแยกเพื่อให้ชุมชนทุกจังหวัดได้เรียนรู้เรื่องการจัดการขยะอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังจะมีการเก็บตัวอย่างน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาตลอดเส้นทางเพื่อทดสอบคุณภาพน้ำ และปริมาณไมโครพลาสติก ที่อาจกลับเข้าสู่ตัวเราโดยการบริโภคสัตว์น้ำ รวมถึงการเก็บข้อมูลอื่นๆ เช่น ภาพถ่ายของแม่น้ำเจ้าพระยาตลอดทั้งสาย อย่างที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน


แม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นเส้นเลือดหล่อเลียงชีวิตคนไทย แม่น้ำเคยใสสะอาด แต่มาบัดนี้แม่น้ำกําลังจะสิ้นใจด้วย ขยะและน้ำเสียที่คนทิ้งลงแม่น้ำและไม่ว่าเราจะเก็บขยะในแม่น้ำไปมากแค่ไหน แต่เก็บเท่าไหร่ก็ไม่มีวันหมด เพราะยังมีคนทิ้งขยะลงแม่น้ำลําคลอง น้ำในแม่น้ำที่เน่าเสียจะบําบัดอย่างไรก็ไม่หายเน่าเสีย หากยังมีคน ปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำลําคลอง ปัญหาที่ต้นเหตุก็ คือการทิ้งขยะลงแม่น้ำลําคลอง ซึ่งมีผลไปถึง ปัญหาขยะในทะเล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่งแวดล้อม, กระทรวงมหาดไทย, กรมควบคุมมลพิษ, กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, กรมเจ้าท่า, กรมชลประทาน, กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, กรมกิจการพลเรือน กองทัพเรือ, มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพมหานคร,


นอกจากนี้ได้มีการเก็บตัวอย่างน้ำของเจ้าพระยาเพื่อทดสอบคุณภาพน้ำ และปริมาณไมโครพลาสติก ที่มาจากขยะพลาสติก ซึ่งจะกลับเข้าสู่ตัวเราผ่านการบริโภคปลาและสัตว์น้ำ และเก็บข้อมูลอื่นๆ โดยกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบกิจกรรมแยก ขยะ และกรมควบคุมมลพิษทําการตรวจวัดคุณภาพน้ำ, กระทรวงมหาดไทย เป็นแม่งานในการจัดกิจกรรมพาย เรือเก็บขยะทุกจังหวัดร่วมกับภาคประชาสังคม และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สนับสนุนเรือเก็บขยะ และดูแลด้านความปลอดภัย, กรมเจ้าท่า รับผิดชอบเรือสนับสนุนตลอดเส้นทาง, กรมชลประทาน สนับสนุน การเปิดประตูน้ำต่างๆ และเขื่อนเจ้าพระยาให้ขบวนเรือผ่าน,

มหาวิทยาลัยมหิดลเก็บตัวอย่างและทดสอบ คุณภาพน้ำ, และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รับผิดชอบเรือคายัคสําหรับให้ประชาชนจังหวัดต่างๆ ร่วมพายเรือ เก็บขยะ โดยได้รับการสนับสนุนจากการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และหน่วยงานภาค ประชาสังคมอีกเป็นจํานวนมาก
กิจกรรมในครั้งนี้ไม่มีการรับบริจาคหรือรวบรวมเงิน มีแต่เพียงการรวบรวมเจตนารมณ์และการลงมือ ทําของคนไทยริมแม่น้ำเจ้าพระยาทั้ง 10 จังหวัด และคนไทยริมแม่น้ำลําคลองอื่นๆ ทังประเทศที่จะเลิกทิ้ง ขยะลงแม่น้ำลําคลอง

พงศ์พัทธ์ วงศ์ยะลา..รายงาน

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of พนอ ชมภูศรี

พนอ ชมภูศรี

พนอ ชมภูศรี คลุกคลีในวงการสื่อสารมวลชนมานาน โดยเริ่มงานครั้งแรกในราวปีพศ.2540 โดยเข้าร่วมงานกับ นสพ.อาชญากรรม รายสัปดาห์ จากนั้นก็ทำงานเป็น ขทร.ไทยรัฐ นสพ.บ้านเมือง ก่อนจะไปยัง นสพ.คมชัดลึก และเครือเนชั่นกรุ๊ป รายงานข่าว ความเดือดร้อน ระวังภัย และข่าวพัฒนาในชุมชนในท้องถิ่นทางเนชั่นทีวี วันนี้พร้อมแล้วที่จะเป็นปากเสียง และนำเสนอการพัฒนาเมืองปทุมธานี