ปทุมธานี- Growatt สนับสนุนชุมชนถ่ายทอดองค์ความรู้พลังงานทดแทน
พลังงานเป็นสิ่งหนึ่งที่คอยขับเคลื่อนการดำรงชีวิตของมนุษย์ และพลังงานสะอาดจะเข้ามามีบทบาทในโลกมากขึ้น เห็นได้จากหลายอุตสาหกรรมเริ่มสนใจและนำพลังงานสะอาด หรือ พลังงานหมุนเวียนมาใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม
Mr.Dennis He ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายโครงการต่างประเทศของ บริษัท Growatt New Energy Technology (Thailand) Co.,Ltd กล่าว่าบริษัท Growatt ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 โดยมีสำนักงานติดตั้งเครื่องอินเวอร์เตอร์ ทั่วโลกกว่า 8 เมกกะวัตต์ ซึ่งเป็น บริษัทฯ มีการเติบโตอย่างรวดเร็วและอยู่ในระดับมืออาชีพ โดยมุ่งเน้นไปที่เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าและวิธีการแก้ปัญหาในการจัดเก็บรักษาพลังงาน ซึ่งเรามีชื่อเสียงโดยเป็นผู้นำด้านการผลิต และเป็นผู้ให้บริการด้านเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพสูง Growatt มีเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ขนาดตั้งแต่ 1 กิโลวัตต์ถึง 2.52 เมกกะวัตต์ รวมถึงวิธีการการจัดเก็บพลังงานทั้งในรูปแบบ on-grid และ off-grid โดยมีแอพพลิเคชันรองรับ อีกทั้งยังมีการนำเสนอกับการใช้งานสำหรับบ้านอัจฉริยะ อินเวอร์เตอร์พลังงานแสงอาทิตย์ ของ Growatt นั้นได้ทำส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ มากกว่า 100 ประเทศในยุโรป, อเมริกาเหนือ, ออสเตรเลีย, เอเชีย, แอฟริกาและละตินอเมริกา ซึ่งมีชื่อเสียงทั่วโลก
Growatt เป็นหนึ่งในผู้ผลิตอินเวอร์เตอร์รายใหญ่ของจีน และพยายามเพื่อที่จะเป็นผู้นำรายใหญ่ที่สุดด้านการจัดการนำเสนอแนวทางด้านพลังงานอัจฉริยะและเข้าสู่ตลาดในประเทศไทยในปีพ. ศ. 2556 และปัจจุบันติดอันดับที่ 3 ของผู้จำหน่ายสินค้าในประเทศไทย Growatt ได้จัดหาเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าจำนวน 135 MW ให้กับบริษัท EA Solar ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2557 และ Growatt เปิดบริษัทสาขาในกรุงเทพฯ เมื่อปี 2016 พวกเรากำลังมองหาตลาดระยะยาวในประเทศไทย
ข่าวน่าสนใจ:
Mr.Dennis He กล่าวต่ออีกว่า ผมคิดว่ามีผลหลักที่ Growatt สามารถประสบความสำเร็จ คือ เรามีทีมงานเป็นคนไทยที่เป็นทีมงานมืออาชีพ Growatt มีเพียงพนักงานคนจีนเพียงคนเดียวที่ทำงานในประเทศไทยและพนักงาคนอื่น ๆ เป็นพนักงานคนไทยทั้งหมด ซึ่งทำให้ Growatt ดำเนินธุรกิจและบริการลูกค้าในรูปแบบไทย โกดังมีคลังสินค้าในเขตปทุมธานีซึ่งมีสินค้ารองรับได้ถึง 5 MW ให้กับลูกค้าในประเทศไทยและอาเซียน และ Growatt มีการติดต่อปฏิสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าทุกราย ทำให้ลูกค้าจำนวนมากเปรียบเสมือนเพื่อนของพวกเราและยังมีส่วนช่วยในการแนะนำลูกค้ารายใหม่ให้รู้จักกับเรา เพราะผลิตภัณฑ์ของ Growatt นั้นมีประสิทธิภาพและบริการที่ดีเยี่ยมจากทีมงานคนไทย ขอขอบคุณลูกค้าทุกคนของพวกเราอีกครั้ง
ทิศทางเทคโนโลยีของอุปกรณ์เพื่อใช้จัดเก็บพลังงานการพัฒนาเทคโนโลยีการหาวิธีการจัดเก็บพลังงานแสงอาทิตย์นั้น ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากเนื่องจากสามารถแก้ปัญหาพลังงานหมุนเวียนเนื่องมาจาก “time-shifting” เป็นผลให้เครื่องแปลงกระแสฟ้าแบบจัดเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ เริ่มเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในทั่วโลก ทิศทางในปัจจุบันคือ เครื่องแปลงเก็บข้อมูลที่มีแบตเตอรี่แรงดันสูงที่มีช่วงแรงดันไฟฟ้าในการทำงาน 350-450VDC มีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานแสงอาทิตย์สูงกว่าแบตเตอรี่แบบเดิมที่มีแรงดันไฟฟ้าที่ 48VDCในขณะที่เครื่องแปลงไฟ AC แบบคู่และแบบ all-in-one hybrid ซึ่งประกอบด้วยตัวควบคุมการประจุแบตเตอรี่และเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จะกลายเป็นวิธีแก้ปัญหาหลักสำหรับการใช้งานพลังงานแสงอาทิตย์ตามบ้านเรือนที่อยู่ในยุโรปและเอเชีย-แปซิฟิกตามลักษณะเฉพาะของพวกเขา, ความสะดวกสบาย และมีจุดเด่นด้านความประหยัดคุ้มค่า
Growatt มีพื้นฐานการทำงานด้านพลังงานมาอย่างยาวนาน มีองค์ความรู้ และบุคลากรที่เชี่ยวชาญ จึงทำให้กำหนดแนวทางการดำเนินการกิจกรรมเพื่อสังคมในด้านการส่งเสริมการสร้างพลังงานทดแทน ผ่านรูปแบบการทำงานผ่านพันธมิตรต่าง ๆไม่ว่าจะเป็นลงพื้นที่จริง, สอบถามความต้องการ, วิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการดำเนินการลงทุนด้านพลังงานทดแทนรูปแบบต่าง ๆ และส่งมอบองค์ความรู้ การบริหารจัดการแก่ชุมชนให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ด้วยตนเอง เพื่อถ่ายทอดสู่พื้นที่ใกล้เคียงต่อไป
“ตลอดระยะการทำงานกับหน่วยงานภาครัฐ และชุมชนจะมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ชุมชนใช้ประโยชน์ ช่วยดูแลรักษา เพื่อให้พวกเขายืนได้ด้วยตนเอง หรือนำความรู้ไปถ่ายทอดให้แก่ชุมชนใกล้เคียง หรือแม้แต่คนในพื้นที่เองด้วย ขณะที่หน่วยงานของภาครัฐ เป็นภาคส่วนที่มีองค์ความรู้ ทั้งในแง่ของภูมิสังคม รวมไปถึงเป็นผู้ที่จะคอยติดตาม ดูแลชุมชน รวมไปถึงให้ความรู้แก่องค์กรที่จะเข้ามาถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านพลังงานทดแทน เพื่อส่งต่อแก่ชุมชน เรียกได้ว่าเป็นตัวประสาน และติดตามการทำงานของทุกฝ่ายนั่นเอง
และล่าสุด Growatt และบริษัท ทีซี รีนิวอะเบิ้ล เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ได้ร่วมกันให้การสนับสนุนและมอบผลิตภัณฑ์ เพื่อใช้ในโครงการ หลังคาพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 15.6 กิโลวัตต์ให้แก่ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปีพ.ศ. 2560 และในอนาคตข้างหน้าวิศวกรด้านพลังงานแสงอาทิตย์ก็สามารถเรียนรู้และศึกษาระบบพลังงานแสงอาทิตย์จากระบบจริงได้อย่างใกล้ชิดเนื่องจากความต้องการใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นในระยะเวลาอันใกล้ ผมมีความเชื่อมั่นอย่างมากต่อธุรกิจในประเทศไทย
พงศ์พัทธ์ วงศ์ยะลา-รายงาน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: