วัดศาลเจ้า ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ในพื้นที่ ต.บางกลาง อ.เมือง ปทุมธานี ถือเป็นวัดเก่าแก่ที่มีอายุยาวนานกว่า 200 ปี ประวัติการสร้างวัดศาลเจ้า นั้น กล่าวว่าวัดนี้สร้างขึ้นมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา โดยชาวรามัญที่อพยพหลบหนีภัยสงครามจากพม่า เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ในครั้งนั้นชาวรามัญเข้่ามากันเป็นจำนวนมาก โดยแยกย้ายกันไปตั้งถิ่นฐานทั้งในพื้นที่เมืองสามโคกหรือเมืองปทุมธานีในปัจจุบัน เมืองพระปะแดง ปากเกร็ด ปากลัด เป็นต้น ชาวมอญ หรือชาวรามัญเหล่านี้ล้วนแล้วแต่นับถือพระพุทธศาสนา เมื่อตั้งหลักปักฐานมั่นคง ก็มีการสร้างวัดขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ รวมทั้งปฏิบัติศาสนกิจต่างๆ และวัดแห่งนี้ก็เจริญรุ่งเรืองสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
ที่วัดแห่งนี้นอกจากจะมี พระอุโบสถที่งดงาม เจดีย์ทรงรามัญ รวมทั้งเสนาสนะต่างๆดังเช่นวัดทั่วๆไปแล้ว ยังมีสิ่งที่น่าสนใจคือ ศาลเซียนแปะ หรือ “แปะ โรงสี” ฆราวาสผู้เรืองวิทยาคม จนเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนเป็นอย่างมาก โดยจะเห็นได้ว่า ในทุกๆวันจะมีประชาชนจากทุกสารทิศเดินทางมากราบไหว้ขอพร “แปะ โรงสี “กันอย่างเนืองแน่น “แปะ โรงสี” ได้รับการยกย่องว่าเป็นเซียน โดยเฉพาะ เหรียญ ล๊อกเก็ต และผ้ายันค์ฟ้าประทานพรอันโด่งดัง เป็นที่ต้องการของลูกศิษย์และผู้เคารพเป็นอย่างสูง
ข่าวน่าสนใจ:
- นครพนม : หมอสงค์ หมอผู้สร้าง เปิดตัวสมัครนายก อบจ.นครพนม พร้อม ส.อบจ.นครพนม
- กาญจนบุรี พิธีตักบาตรพระ 10,000 รูป ฉลองตั้งเมือง 193 ปี พร้อมอุทิศส่วนกุศลแด่บรรพบุรุษผู้มีพระคุณต่อประเทศชาติ
- นครพนม น้องขวัญ นำทัพกลุ่มนครพนมร่วมใจ เปิดตัว ส.อบจ.นครพนม ทั้ง 30 เขต
- คู่แข่งนอกสายตานายก ก้อย “พนธ์ มรุชพงษ์สาธร” ขอวัดดีกรีว่าที่นายก อบจ.แปดริ้ว
“แปะ โรงสี” หรือนายกิมเคย หรือกิมโคย แซ่โง้ว เกิดที่ประเทศจีน ติดตามบิดามารดาเข้ามาถึงพระบรมโพธิสมภารตั้งแต่วัยเด็ก เมื่อเติบโดขึ้นมาก็ประกอบอาชีพค้าขายข้าวเปลือก ต่อมาเมื่อกิจการดีขึ้นจึงได้ร่วมลงทุนทำกิจการโรงสีข้าว และแต่งงานกับนางศรี เอี่ยมเข่ง และเริ่มดำเนินกิจการโรงสีที่เป็นของตนเองที่บริเวณปากคลองเชียงราก เยื้องกับวัดศาลเจ้าในนาม”โรงสีไฟทองศิริ และโอนสัญชาติเป็นไทย รวมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็น นายนที ทองศิริ
ด้วยอุปนิสัยของท่านที่เป็นคนโอบอ้อมอารีย์ ชอบชี้แนะและให้ความช่วยเหลือผู้อื่น อีกทั้งยังเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญด้านวิทยาคม มีวิชาไล่ฝน ปรับเปลี่ยนดินฟ้าอากาศ จนลูกศิษย์ที่เคารพนับถือยกย่องให้เป็นเซียน เรียกกันว่าเซียนแปะ โรงสี ทั้งนี้ท่านมักจะช่วยชี้แนะแก่ลูกศิษย์เกี่ยวกับเรื่องฮวงจุ้ย ทำเลที่ตั้งร้านค้าบ้านเรือนโดยไม่คิดค่าตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับคำแนะนำหรือชี้แนะจากท่าน จะประสบความสำเร็จกิจการค้าขายเจริญรุ่งเรืองจนเป็นที่เลื่องลือ แม้แต่เจ้าสัวใหญ่ระดับประเทศ ก็ยังได้รับคำชี้แนะจากเซียนแปะ จนกิจการค้าเจริญรุ่งเรืองใหญ่โตทั้งในประเทศและต่างประเทศ
เซียนแปะ โรงสี ถือเป็นกำลังสำคัญในการบูรณะวัดศาลเจ้า ซึ่งในสมัยนั้นการคมนาคม การขนส่งยังลำบาก แต่ท่านไม่เคยย่อท้อ ได้ร่วมแรงร่วมใจกับผู้มีจิตศรัทธาทำการบูรณะวัดศาลเจ้าจนสำเร็จลุล่วง อีกทั้งท่านยังเป็นผู้กำหนดวันในการจัดงานประจำปีศาลเจ้าพ่อวัดศาลเจ้า คือ วันขึ้น 5 ค่ำ เดือยอ้าย หรือเดือน 1 ถึงวันขึ้น 8 ค่ำ รวมงาน 4 วัน 4 คืน ซึ่งชวาไทยเชื้อสายจีนจะเรียกช่วงนี้ว่า “เจียง่่วย ซิวโหงว ถึง เจียงง่วย ซิวโป๊ย” และยึดถือเป็นประเพณีสืบต่อมา
ความโอบอ้อมอารีย์ คอยชี้แนะให้คำแนะนำแก่ลูกศิษย์และประชาชนทั่วไปของเซียนแปะ ดำเนินติดต่อมาอย่างยาวนาน จนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต “เซียนแปะ โรงสี” จากลูกศิษย์ไปในวันที่ 16 มกราคม 2526 ด้วยอายุ 85 ปี หลังเสร็จสิ้นพิธีศพของท่าน ทางครอบครัวและคณะศิษย์ได้จัดสร้างรูปเหมือนขนาดเท่าตัวจริง ตั้งไว้ให้เป็นที่สักการะบูชา ณ ศาลานที ทองศิริ ภายในวัดศาลเจ้า จนถึงทุกวันนี้
ความโอบอ้อมอารีย์ คอยชี้แนะให้คำแนะนำแก่ลูกศิษย์และประชาชนทั่วไปของเซียนแปะ ดำเนินติดต่อมาอย่างยาวนาน จนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต “เซียนแปะ โรงสี” จากลูกศิษย์ไปในวันที่ 16 มกราคม 2526 ด้วยอายุ 85 ปี หลังเสร็จสิ้นพิธีศพของท่าน ทางครอบครัวและคณะศิษย์ได้จัดสร้างรูปเหมือนขนาดเท่าตัวจริง ตั้งไว้ให้เป็นที่สักการะบูชา ณ ศาลานที ทองศิริ ภายในวัดศาลเจ้า จนถึงทุกวันนี้
หลังจากกราบพระ ไหว้เซียน แล้วก็เดินเที่ยวชม ชิมสินค้าพื้นที่ และอาหารอร่อยๆที่บรรดาพ่อค้าแม่ค้าในพื้นที่ใกล้เคียงนำมาวางจำหน่ายกันอย่างมากมายภานในบริเวณวัดศาลเจ้า อาทิ ก๋วยเตี๋ยวรสเลิศ ที่มีอยู่หลายร้าน ล้วนแล้วแต่อุ่นหนาฝาคั่งไปด้วยนักท่องเที่ยวที่แวะเวียนกันเข้าไปอุดหนุน ขนมกุ๋ยช่ายเลื่องชื่อ ห่อหมกเลิศรส ขนมไทยๆ หลายหลาก ผักผลไม้สดๆของชาวบ้านที่นำมาจำหน่าย ก่อนกลับก็อย่าลืมแวะไปทำทาน ให้อาหารปลาที่ริมแม่น่ำเจ้าพระยา ที่มีปลาหลากหลายสายพันธ์ นับหมื่นนับแสนตัวที่รอการมาเยือนของทุกๆท่านด้วยนะครับ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: