ปทุมธานี เปิดศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2561
วันอังคารที่ 10 เมษายน 2561 ที่ บริเวณท่าจอดรถขาออกต่างจังหวัด ( ตรงข้ามฟิวเจอร์ ) อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัดปทุมธานี เปิดศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2561 จังหวัดปทุมธานี เพื่อเป็นศูนย์กลางในการอำนวยการและประสานการปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ตลอดจนติดตามการรายงานสถานการณ์ในระหว่างวันที่ 11 – 17 เมษายน 2561 รวม ๗ วัน ภายใต้แนวคิด “ขับรถมีน้ำใจ รักษาวินัยจราจร” เน้นย้ำให้ทุกภาคส่วนร่วมบูรณาการในลักษณะยึดพื้นที่เป็นที่ตั้ง (Area Approach) และแนวทาง “นโยบายประชารัฐ” อย่างเต็มกำลัง
ดร.พินิจ บุญเลิศ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัดปทุมธานี เปิดเผยว่า จังหวัดปทุมธานีเป็นจังหวัดในพื้นที่เขตปริมณฑล ซึ่งเป็นเส้นทางผ่านที่จะเดินทางไปสู่ภาคต่างๆ ของประเทศไทย ซึ่งในช่วงเทศกาลสงกรานต์มีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน ประชาชนจึงเดินทางกลับภูมิลำเนาและท่องเที่ยวผ่านเส้นทางนี้เป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดความคับคั่งของการจราจร เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนมากกว่าช่วงปกติ ดังนั้น มาตรฐานการป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนนจึงต้องมีความเข้มข้น ต่อเนื่อง เพื่อลดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัดปทุมธานี โดยความร่วมมือของจังหวัดปทุมธานี และหน่วยงานภาคีเครือข่าย โดยมีสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปทุมธานี เป็นเลขานุการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัดปทุมธานี ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2561 จังหวัดปทุมธานี ขึ้น ณ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปทุมธานี ศาลากลางจังหวัดปทุมธานี และได้จัดพิธีเปิดศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2561 จังหวัดปทุมธานี
นายสันต์ สร้อยแสง หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปทุมธานี ในฐานะเลขานุการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า ในช่วงการดำเนินงานศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ.2561 จังหวัดปทุมธานี ได้นำนโยบายและแนวทาง “ประชารัฐ” ของรัฐบาล มาใช้เป็นกลไกในการควบคุมปัจจัยเสี่ยง และเฝ้าระวัง กำกับ ป้องปรามผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงในพื้นที่ ตลอดจนดำเนินการ จัดตั้ง “ด่านชุมชน” เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆในพื้นที่ ๑ หมู่บ้าน หรือ ๑ ชุมชน ๑ ด่านชุมชน ให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมรับผิดชอบและถือปฏิบัติ โดยเน้นกลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ การขับขี่ด้วยความเร็ว และเมาสุรา เพื่อป้องปรามและควบคุมพฤติกรรมเสี่ยงในพื้นที่ด้วย
พงศ์พัทธ์ วงศ์ยะลา / รายงาน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: