เชียงราย-‘ครูจูหลิง’ผู้เป็นต้นแบบความเสียสละและอุดมการณ์ ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในดินแดน 3 จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย ถูกผู้มีความคิดต่างทำร้ายจนเสียชีวิต
เวลา 10.00 น.วันนี้ (8 มค.63.) ณ บริเวณลานด้านหน้าหอศิลป์ ครูจูหลิง ปงกันมูล ภายในโรงเรียนอนุบาลดอยหลวง อ.ดอยหลวง จ.เชียงราย นายณรงค์พล คิดอ่าน นายอำเภอดอยหลวง เป็นประธานในพิธีเปิดงานวันรำลึกและสืบสานตำนานศิลป์ ครูจูหลิง ปงกันมูล ปีที่ 13 เพื่อส่งเสริมการใช้ศิลปะ ขัดเกลาและพัฒนาเด็กนักเรียน อันเป็นการสืบสานอุดมการณ์ครูจูหลิง ปงกันมูล ครูผู้ซึ่งมีความเสียสละ และอุดมการณ์จนได้รับรางวัล ผู้มีอุดมการณ์และจิตวิญญาณ เมื่อปี 2550 โดยมี นางศรีบังอร ตุงคศิริวัฒน์ ประธานมูลนิธิครูจูหลิง ปงกันมูล,คณะหัวหน้าส่วนราชการ,ผู้บริหารโรงเรียนในอำเภอดอยหลวง,ผู้นำท้องถิ่น ท้องที่,ชาวอำเภอดอยหลวง และแขกผู้มีเกียรติ ต้อนรับ
ข่าวน่าสนใจ:
- ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย เชิญส่วนราชการ เอกชน สื่อมวลชน 50 คน เยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนกระตุ้นการท่องเที่ยว-เศรษฐกิจในชุมชน อย่างยั่งยืน
- นักท่องเที่ยวแห่ชมดอกไม้งามดอยตุง ชิมอาหารพื้นถิ่น ถ่ายรูปดอกไม้สวย
- ปป.แม่สายทานมูมมามจนลืมตัว เรียกเก็บเงินแบบไม่อาย แต่ต่อรองราคาได้
- บ้านใหญ่พรรคเพื่อไทยเชียงราย เปิดตัวผู้สมัครนายก อบจ.พร้อมกับนำทีมผู้สมัคร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ทั้ง 36 เขต ในนามพรรคเพื่อไทย
นางศรีบังอร ตุงคศิริวัฒน์ กล่าวว่า การจัดงานวันรำลึกและสืบสานตำนานศิลป์ ครูจูหลิง ปงกันมูล ในครั้งนี้ ได้จัดขึ้นมาเป็นปีที่ 13 ติดต่อกัน โดย ครูจูหลิง ปงกันมูล เป็นต้นแบบของคุณครูผู้มีอุดมการณ์ มีความเสียสละ สอบบรรจุครูได้เป็นอันดับหนึ่งและได้เลือกจะไปเป็นครูในภาคใต้ โดยให้เหตุผลว่า “อยากช่วยเด็ก ๆ ที่ภาคใต้เพราะทุกวันนี้พื้นที่ใน 3 จังหวัดภาคใต้หาครูได้ยากเต็มที” และได้บรรจุเป็นครูสอนวิชาศิลปะของโรงเรียนกูจิงรือปะ เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2548 ต่อมาได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในดินแดน 3 จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย จนเป็นเหตุให้เสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ.2550 จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้สังคมในวงกว้างตระหนักเห็น ซึ่งความเสียสละและอุดมการณ์ครูศิลปะของ ครูจูหลิง ปงกันมูล จนได้รับรางวัล ผู้มีอุดมการณ์และจิตวิญญาณ เมื่อปี 2550
โดยการจัดงานวันรำลึกและสืบสานตำนานศิลป์ครูจูหลิง ปงกันมูล ในครั้งนี้ ได้แบ่งการจัดงานออกเป็น 4 ส่วน คือ การทำบุญอุทิศส่วนกุศล แด่ครูจูหลิง และกิจกรรมทำบุญตักบาตร ข้าวสารอาหารแห้ง ในช่วงเช้า,การประกวดวาดภาพนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา,การแสดงของนักเรียนจากโรงเรียนดอยหลวงรัชมังคลาภิเษก และการประกวดร้องเพลง พร้อมหางเครื่องของประชาชนในอำเภอดอยหลวง และ การจัดนิทรรศการแสดงผลงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม ของโรงเรียนในอำเภอดอยหลวง เพื่อส่งเสริมการใช้ศิลปะ ขัดเกลาและพัฒนาเด็กนักเรียน อันเป็นการสืบสานอุดมการณ์ครูจูหลิง ปงกันมูล
โดยการจัดงานในปีนี้ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย จำนวน 100,000 บาท และได้รับการเสนอแนะ ร่วมคิด ร่วมทำ อย่างดียิ่งจากนายประจญ ปรัชญ์สกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย คณะกรรมการมูลนิธิครูจูหลิง ปงกันมูล หัวหน้าส่วนราชการ คณะผู้บริหาร คณะครู โรงเรียนในอำเภอดอยหลวง รวมทั้งทุกภาคส่วนที่ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี
โดยกิจกรรมภายในงาน นอกจากกิจกรรมในพิธีเปิดบนเวที ยังมีการจัดขบวนแสดงเพื่อเชิดชูเกียรติ ครูจูหลิง ปงกันมูล กิจกรรมออกบูท การเรียนรู้นิทรรศการศิลปะของโรงเรียนในตำบลปงน้อย,โรงเรียนในตำบลโชคชัย,โรงเรียนในตำบลหนองป่าก่อ,โรงเรียนดอยหลวง รัชมังคลาภิเษก,วิทยาลัยการอาชีพเวียงเชียงรุ้ง,วิทยาอาชีวศึกษาเชียงราย,โรงเรียนห้วยไร่สามัคคี,กศน.อำเภอดอยหลวง,โกโก้แลนด์ รวมทั้งกิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์ โรงเรียนดอยหลวง รัชมังคลาภิเษก และกิจกรรมประกวดร้องเพลงพร้อมแดนเซอร์ นอกจากนี้ยังมีการมอบทุนการศึกษานักเรียนในโครงการ “เรียนดีแต่ยากจน เปี่ยมล้นด้วยจิตอาสา” ให้แก่นักเรียนในพื้นที่ของอำเภอดอยหลวง จากผู้ใหญ่ใจดีที่มองเห็นคุณค่าของการส่งเสริมการศึกษา และเชิดชูเกียรติ ครูจูหลิง ปงกันมูล จากการประสานงานของ นางศรีบังอร ตุงคศิริวัฒน์ ประธานมูลนิธิครูจูหลิง โดยมีรายนามดังต่อไปนี้ นายวรวัติ กิติวงค์ ผอ.โรงเรียนดอยหลวงรัชมังคลากิเษก,อาจารย์วุฒิชาติ-คุณครูศรีบังอร ตุงคศิริวัฒน์,ผศ.ดร.เด่นศักดิ์ สุริยะ,นางปัญจรัตน์ แน่นอุด,คุณอนุชิต-คุณฉันทนา คำหอม,คุณครูกริชวัช ฐานะกิจ,หจก.ดอยหลวงการ
ยาง,นายนิกร ติ๊บโคตร,ด.ญ.มาดา พรมาดา หล้าเพ้ง,ด.ช.ธารธรรม เอื้ออภิธร,คุณสุรภา ปัทมโยธิน,คุณจีรวัฒน์ โชคอัศวะโภคิน,คุณวุฒิเลิศ ชนะหาญ ผอ.กส.ทช.เชียงราย,อ.พิคิด พวงมาลา,อ.ปภัสสิริ แช่มชื่นทรัพย์,พ.ต.ท.สมนึก ไพรดำ รอง ผกก.ปปส.,นายชาญชัย แสนจันทร์ ผอ.วิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ,นางบุศราภรณ์ แสนจันทร์,บ.ต้นอ้อ สตูดิโอ,นายนิพนธ์ สมลือแสน วิศกรระดับ 9 การไฟฟ้าฝ่ายผลิต,น.ส.ปราณปรียา พลเยี่ยม ผอ.กองกลาง สนง.ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา,ครูสุรางค์ สุวรรณกาญจน์,พีดีเอ ซีแอนด์ซี เชียงราย,นายอภิชา ตระสิน,นายประธาน อินทรีย์ยงค์ เลขาธิการ สทท.ชร.,คุณจิรวรรณ์ บ้านชี บรรณาธิการ นสพ.เชียงรายธุรกิจ,ผศ.ดร.พิทักษ์ เหล็กกล้า,คุณอดุลย์ คุณวิภาดา บุญตานนฑ์,คุณวิกุล โลหะมงคล วิศวกรอาวุโส บมจ. ไทยโพลีคอนส์,คุณณัฐนนท์ ภู่อริยพงศ์ ผอ.วิทยาลัยการอาชีพเวียงเชียงรุ้ง,คุณสันติ ต้นคชสาร,คุณพิศักดิ์ นำเจริญกุล (ชุมแพ) และ นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ (สจ.นก) อีกด้วย
สำหรับประวัติโดยสังเขป จูหลิง ปงกันมูล ดังนี้ จูหลิง เป็นบุตรสาวคนเดียวของสุน ปงกันมูล และคำมี ปงกันมูล เกิดเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2522 พ่อเป็นผู้ตั้งชื่อให้ว่า “จุ้ยหลิน” ตามชื่อนางเอกหนังจีนกำลังภายใน แต่เจ้าหน้าที่จดทะเบียนฟังว่าเป็น “จูหลิง” และมีชื่อเล่นว่า “จุ้ย” เป็นชาวตำบลบ้านปงน้อย กิ่งอำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย จบปริญญาตรีโปรแกรมวิชาออกแบบประยุกต์ศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏลำปาง เมื่อ พ.ศ. 2545
จูหลิงเป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถพิเศษในการวาดภาพ เมื่อ พ.ศ. 2545 จูหลิงเป็นหนึ่งในสิบจิตรกรที่ร่วมวาดภาพในหนังสือชุด “ทศชาติแห่งพระบารมี” นำเสนอเรื่องราวของมหาชาดกทศบารมี จัดทำโดยกระทรวงยุติธรรม เพื่อเฉลิมฉลองพระชนมายุ 4 รอบ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในปี พ.ศ. 2546
พ.ศ. 2546 เธอเป็นจิตรกรร่วมวาดภาพจิตรกรรมฝาผนัง แสดงเรื่องราวของสังเวชนียสถาน ในอุโบสถวัดคงคาวดี หรือวัดปากบางภูมี ตำบลรัตภูมิ อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา และวาดภาพจิตรกรรมฝาผนัง แสดงเรื่องราวพุทธประวัติบนผนังศาลาการเปรียญ และลวดลายบนเสาศาลาการเปรียญ ของวัดเดียวกัน จูหลิง มีปณิธานที่จะรับใช้สังคมและชาติด้วยอาชีพครู เธอจึงเรียนต่อในหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิตเพิ่มอีก 1 ปี สมัครสอบบรรจุครูได้เป็นอันดับหนึ่งและเลือกจะเป็นครูในภาคใต้ โดยให้เหตุผลว่า “อยากช่วยเด็ก ๆ ที่ภาคใต้เพราะทุกวันนี้พื้นที่ใน 3 จังหวัดภาคใต้หาครูได้ยากเต็มที” และได้บรรจุเป็นครูสอนวิชาศิลปะของโรงเรียนกูจิงรือปะ เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2548
ในปีต่อมา นางคำมี ปงกันมูล มารดาของจูหลิง ได้รับการคัดเลือกให้เป็นแม่ดีเด่นประจำปี 2549 ประเภทแม่ของผู้ทำประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ คำมี ได้รับประทานพระบรมฉายาลักษณ์พระราชทานและเกียรติบัตร จากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ในพิธีเปิดงานวันแม่แห่งชาติ ณ อาคารใหม่สวนอัมพร ในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2549
จูหลิงได้เสียชีวิตลงอย่างสงบเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2550 ด้วยสาเหตุอวัยวะภายในล้มเหลวเฉียบพลัน หลังจากเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ได้ 8 เดือน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานน้ำหลวงอาบศพและพวงมาลาหน้าศพแก่จูหลิง ปงกันมูล และทรงรับงานศพของจูหลิงไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ด้วย
เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2550 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในพิธีพระราชทานเพลิงศพจูหลิง ปงกันมูล ณ ฌาปนสถานบ้านปงน้อย หมู่ที่ 10 ตำบลปงน้อย อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย เมื่อเวลาประมาณ 17.00 น. โดยทั้งสองพระองค์พระราชทานวโรกาสให้บิดาและมารดาจูหลิง เข้าเฝ้ารับเสด็จฯ อย่างใกล้ชิด และยังมีบุคคลสำคัญร่วมพิธีพระราชทานเพลิงศพนับหมื่นคน
เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2550 ณ ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นำสุน และคำมี ปงกันมูล บิดามารดาของ จูหลิง ปงกันมูล ที่ได้รับรางวัล ตามรอยเกียรติยศครูผู้มีอุดมการณ์และจิตวิญญาณครู พ.ศ. 2550 รับเกียรติคุณบัตร และโล่เสมาทองคำ 1 ชุด พร้อมเงินสด จาก พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี แทนจูหลิง ที่เสียชีวิต ให้เป็นบุคคลแรก เพราะเป็นครูที่ดีที่สุดคนหนึ่งที่ได้ทุ่มเทชีวิตเพื่อสอนเด็กและเยาวชน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: