เชียงราย-ตามไปดูถึงสวนมะม่วงอุตสาหกรรมสายพันธุ์ใหม่ สีสวย รสอร่อย เนื้อแน่นตรงปก ทนต่อโรคไม่กลายพันธุ์ ที่สำคัญคืนทุนเร็วสร้างรายได้เกษตรกรเดือนละเกือบครึ่งแสนต่อไร่
ทีมงาน 77 ข่าวเด็ด ได้เดินทางร่วมคณะกลุ่มเกษตรกรประมาณ 30 คน เดินทางสู่แปลงสาธิตการปลูกมะม่วง‘แก้วขมิ้น’ มะม่วงสายพันธุ์ใหม่ ทางเลือกของเกษตรกรให้กลายเป็นเศรษฐีได้ อยู่ห่างจาก อ.เมือง เชียงราย ไปทางทิศตะวันอกประมาณ 35 กิโลเมตร บนถนนสาย อ.เทิง-เชียงราย เลี้ยวซ้ายไปทางด้านหลังของกาดผาจ้อ ตลาดชุมชนตำบลเชียงเคี่ยน อ.เทิง จ.เชียงราย ประมาณ 3 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายอีกครั้งไปบนเส้นทางสู่เนินดินลูกรังสีแดงๆ ใกล้กับภูเขา
ข่าวน่าสนใจ:
- ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย เชิญส่วนราชการ เอกชน สื่อมวลชน 50 คน เยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนกระตุ้นการท่องเที่ยว-เศรษฐกิจในชุมชน อย่างยั่งยืน
- เปิดบริการแล้ว MFU Wellness Center มฟล. ศูนย์บริการสุขภาพแบบครบวงจรแห่งภาคเหนือและอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
- รวบสาวใหญ่ซิ่งมอไซค์ขนยาบ้า 516,000 เม็ด
- ปป.แม่สายทานมูมมามจนลืมตัว เรียกเก็บเงินแบบไม่อาย แต่ต่อรองราคาได้
รายล้อมด้วยสวนยางและนาข้าวในที่ลุ่ม ก็พบสวนมะม่วงแปลงใหญ่ ลักษณะลำต้นแข็งแรงสมบูรณ์ แทบทุกต้นพบยอดอ่อนสีม่วงสดกำลังแทงช่อออกจากปลายกิ่งดูไกลๆ สวยงามคล้ายดอกไม้สด และมีการปลูกอย่างเป็นระเบียบที่สำคัญเราไม่พบสายน้ำหยดไปตามลำต้นดั่งแปลงสาธิตการเกษตรอย่างที่อื่นๆ ซึ่งได้สร้างความตื่นตาตื่นใจแก่คณะที่ร่วมเดินทางไปด้วยทุกๆ คน
นายชูเกียรติ มณีเติม นักวิชาการด้านการเกษตรของบริษัท เจ เค ชนาธาร จำกัด ที่ตั้งโรงงานอบผลไม้ในพื้นที่ ต.เชียงบาน อ.เชียงคำ จ.พะเยา กล่าวว่า ได้ทำการปลูกมะม่วงดังกล่าว บนแปลงสาธิตแห่งนี้เมื่อราวกลางเดือนเมษายน 2560 ที่ผ่านมา จนถึงวันนี้ประมาณ 2 ปีเศษ โดยใช้วิธีเพาะเมล็ดประมาณ 4-6 เดือน ในถุงชำและนำมาปลูก ห่างกัน 4X6 เมตร เพื่อความสะดวกในการบำรุงรักษา โดยระหว่างที่ต้นมะม่วงยังเล็กก็ได้ปลูกต้นหม่อนแซมระหว่างกลาง เพื่อคลุมดินและเป็นรายได้ระหว่างรอผลผลิต ใช้ปุ๋ยอินทรีย์บำรุงและสารชีวภาพตามสูตรของโรงงาน โดยแทบจะไม่ได้รดน้ำมากมายอะไรบนที่ดินที่แห้งแล้ง
อย่างนี้ ส่วนใหญ่ก็เป็นน้ำฝนที่ตกมาตามฤดูกาลเท่านั้น เนื่องจากมะม่วงสายพันธุ์นี้ เป็นสายพันธุ์ที่เราได้นำเข้าจากประเทศกัมพูชา จึงมีความอดทนต่อความแห้งแล้ง และอดทนต่อโรคต่างๆ เป็นอย่างมาก จึงแข่งกันเจริญเติบโตกับต้นหม่อน ไปพร้อมๆ กัน จนกระทั่งในช่วงปลายของปีที่ 2 มะม่วงได้แทงช่อดอกออกมาจากนั้นก็ได้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของ ใส่ไปที่ลำต้นและฉีดพ่นตามสูตรของบริษัทฯ ไม่นานมะม่วงก็ออกลูกมาจนเป็นที่น่าพอใจในปีที่ 2 เท่านั้น จากนั้นได้เร่งทำการตัดต้นหม่อนทิ้ง เพื่อเตรียมรองรับผลผลิตมะม่วงที่จะออกมาอย่างเต็มที่ในปีที่ 3 ต่อไป
ทางด้านนายนิกร นามแก้ว ผู้จัดการโครงการของบริษัทฯ กล่าวว่า ทางโรงงานมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจการอบผลไม้มาเป็นเวลานานหลาย 10 ปี ก่อนหน้านั้นได้มาทำธุรกิจการอบลำใยที่ อ.เชียงคำ ประมาณ 6-7 ปี ที่ผ่านมาปรากฏภาวะมะม่วงที่ อ.เชียงคำ มีราคาตกต่ำ ท่านนายไมตรี อินทุสุต ท่านผู้ว่าราชการ จ.พะเยา ในสมัยนั้น ได้มาตรวจเยี่ยมพื้นที่ อ.เชียงคำ และได้เสนอแนวคิดแก่ตนว่าให้ทดลองอบผลไม้ประเภทมะม่วง หรือผลไม้อื่นๆ ในท้องถิ่นเพื่อ
สร้างรายได้นอกเหนือจากฤดูกาลอบลำใย และยังเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรในท้องถิ่นให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ตนเห็นเป็นเรื่องดีจะได้สร้างงานให้แก่ชุมชน และได้ช่วยให้คนในท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้น จึงนำแนวคิดและหาวิธีนำผลไม้ท้องถิ่น จำพวกมะม่วง และอื่นๆ มาทดลองอบ ปรากฏเป็นที่ต้องการของตลาด และเริ่มขาดแคลน จึงพยายามเสาะหามะม่วงพันธุ์ดี ที่มีรสอร่อย มีความอดทนต่อโรค และให้ผลผลิตเร็ว ก็พบว่ามีมะม่วงพันธุ์‘แก้วขมิ้น’ สายพันธุ์ประเทศกัมพูชา มีลักษณะตรงตามความต้องการ
โดยมะม่วงชนิดนี้ ชาวกัมพูชาหรือชาวเขมรเรียกว่า ‘ซะ–วาย–แก้ว–รำ เมดร’ ซึ่งแปลว่า ‘มะม่วงแก้วขมิ้น’ มีการนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยหลายปีแล้ว ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อผลไปรับประทาน เป็นมะม่วงที่ติดผลง่าย ติดผลดกตลอดทั้งปีสามารถบังคับให้ติดผลนอกฤดูกาลได้ ลูกใหญ่รสชาติดี ที่สำคัญสีของเนื้อสวยงามเหลืองจัด จัดเป็นมะม่วง 3 รส รสชาติคล้ายมะม่วงแก้วแต่เปรี้ยวน้อยกว่า น้ำหนักดีมากประมาณ 2 ลูกต่อกิโลกรัมปลูก 2 ปี ก็จะเริ่มให้ผลผลิตแต่ยังไม่มากนัก แต่หลังจากปลูกแล้ว 5 ปีขึ้นไปผลผลิตจะดกมากถึง 100 กิโลกรัมต่อต้น
โดยทางโรงงานได้ทำการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดเพื่อให้ได้สายพันธุ์ดั้งเดิม และมีรากแก้วเพื่อยึดลำต้นป้องกันการสูญเสียหักโค่นล้มจากแรงพายุ ซึ่งพบบ่อยในพื้นที่ภาคเหนือ โดยส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ไปเพาะปลูกตามที่ลงทะเบียนไว้ และทางโรงงานจะทำสัญญาประกันการรับซื้อผลผลิตในราคากิโลกรัมละ 7 บาท ซึ่งจะสามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเป็นอย่างมาก ขณะนี้มีกลุ่มเกษตรกรเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 500 ไร่ และวางแผนที่จะขยายพื้นที่การปลูกจนครบ 20,000 ไร่ ต่อไปในอนาคต หากเกษตรกรท่านใดสนใจ สามารถสอบถามได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 054-882071 ได้ทุกวันในวันทำการ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: