X

ของดีเกาะใหญ่ อ.กระแสสินธิ์ ดันกลุ่มแปรรูป ‘กุ้งหวาน’

“กระแสสินธิ์” ร่วมหลายหน่วยงานผลักดัน “กุ้งหวานเกาะใหญ่” สร้างแบรนด์ ขยายตลาดหวังเป็นของดีประจำอำเภอ

นายวายุ มาเอียด เจ้าของธุรกิจกุ้งหวาน ต.เกาะใหญ่ อ.กระแสสินธิ์จ.สงขลา กล่าวว่า ตนเป็นผู้ผลิตและแปรรูปกุ้ง บริเวณหมู่ที่ 3 ต.เกาะใหญ่โดยเพิ่งเริ่มหันมาแปรรูปกุ้ง เมื่อประมาณ4 ปีที่แล้ว พื้นเพตนมีอาชีพรับจ้างกรีดยางพารา ที่จ.พัทลุง แต่เมื่อแต่งงานกับภรรยาคือ นางอำไพ มาเอียด ซึ่งเป็นคนเกาะใหญ่ ประจวบกับราคายางพาราตกต่ำทำให้ตัดสินใจเปลี่ยนอาชีพซึ่งภรรยามีองค์ความรู้ด้านการแปรรูปกุ้ง ซึ่งสืบทอดภูมิปัญญามาจากบรรพบุรุษ แม้ช่วงที่หันมาประกอบอาชีพแปรรูปกุ้งใหม่ๆตนค่อนข้างท้อ เพราะประสบปัญหาต่างๆ เช่น เมื่อออกเรือไปแล้วไม่สามารถจับกุ้งได้ หรือ ไม่สามารถกะเวลาในการต้มกุ้งหวานได้ผลผลิตจึงเสียค่อนข้างเยอะ แต่เมื่อมองไปยังครอบครัวทำให้ได้รับำลังใจสามารถต่อสู้ปัญหาได้

โดยแปรรูปทั้งกุ้งหวาน กุ้งส้ม และกุ้งสด มีกำลังการผลิตวันละประมาณ 50-60 ก.ก. โดยใช้กุ้งนาจากทะเลสาบสงขลามาผลิตเป็นกุ้งหวาน โดยจะเป็นคนออกเรือหายาวไปหากุ้งในทะเลสาบสงขลาเลยไปจนถึง อำเภอปากพะยูน ตั้งแต่ช่วงตี 2 โดยจะกลับมาถึงเกาะใหญ่ประมาณ9 โมงเช้า และจ้างชาวบ้านช่วยกันตัดแต่งกุ้งก่อนนำไปแปรรูปปัจจุบัน เน้นการแปรรูปกุ้งหวานซึ่งสร้างรายได้ประมาณวันละ 1000-2000บาท ค่อนข้างดีกว่าเมื่อครั้งรับจ้างกรีดยางพารา กุ้งหวานของตนเน้นความสดใหม่ ไม่หวงน้ำตาล เพราะจะต้องเคี่ยวน้ำตาล 9 กิโลกรัม กุ้ง 9 กิโลกรัม ทำให้เมื่อหักลบกำไรแล้วค่อนข้างน้อย แต่ยังคงมีกำไรอยู่ได้

ส่วนกุ้งส้ม ซึ่งเป็นวิธีถนอมอาหารแบบโบราณของภาคใต้ โดยต้องนำไปหมัก กับน้ำตาลและเกลือ โดยต้องดองไว้ในกระปุกไม่ให้อากาศสามารถถ่ายเทได้ 7วัน ส่วนมากรับทำตามออเดอร์โดยมีพ่อค้าคนกลางรับซื้อไปจำหน่ายต่อยัง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจะนิยมนำกุ้งส้มไปรับประทานพร้อมเครื่องยำกับมะม่วง หรือหัวหอมเล็ก“ปกติจะนำกุ้งหวานไปจำหน่ายที่อำเภอหาดใหญ่ด้วยตนเอง โดยจะรับออเดอร์จากธุรกิจ และ โรงแรมต่างๆ รวมทั้งมีแม่ค้าคนกลางมารับซื้อ กระแสตอบรับตอนนี้ค่อนข้างดี ทั้งยังไปรับกุ้งสดของชาวบ้านคนอื่นมาแปรรูปบางส่วน ทำให้สามารถจำหน่ายได้วันละ 100 กิโลกรัม”

นายวายุ กล่าว และว่าราคาจำหน่ายกุ้งหวาน 120 บาท/กิโลกรัม กุ้งส้ม 60 บาท/กิโลกรัม ส่วนกุ้งสด 40 บาท/กิโลกรัม ซึ่งตำบลเกาะใหญ่หมู่ 3 มีชื่อเสียงด้านการแปรรูปกุ้ง และเป็นแหล่งของการซื้อขายกุ้งหวาน,กุ้งส้มโดยจะมีทั้งผู้ผลิตรายใหญ่ และรายย่อยรวมกันประมาณ 50 รายหากทางหน่วยงานราชการเข้ามาช่วยปรับปรุงคุณภาพกุ้งหวาน และช่วยประชาสัมพันธ์ให้คนทั่วไปรู้จักกุ้งหวานเพื่อสร้างช่องทางการจำหน่ายที่หลากหลาย จะช่วยให้สร้างรายได้ให้คนในพื้นที่ เพราะชาวบ้านบางคนยังต้องออกไปรับจ้างข้างนอก หากสามารถทำอาชีพนี้ได้จะเป็นการสร้างงาน และ สร้างอาชีพที่ยั่งยืนต่อไป

“อุปสรรคตอนนี้ของการส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อย ซึ่งค่อนข้างเป็นไปได้ยาก แต่เราจะส่งเสริมให้มีเครือข่ายการแปรรูปกุ้ง อาจจะให้ทุกคนหาตลาดร่วมกัน ทางหน่วยงานราชการจำเป็นต้องเข้าไปควบคุมคุณภาพของผู้ประกอบการแต่ละราย” นางสาววิไลลักษณ์ กล่าวและว่าปัจจุบัน กลุ่มผู้แปรรูปกุ้งหวาน ซึ่งเป็นรายย่อย จะจำหน่ายให้พ่อค้าคนกลางในลักษณะเป็นถุงใหญ่ 10 กิโลกรัมขึ้นไปเพราะไม่มีศักยภาพที่จะหาบรรจุภัณฑ์และสร้างแบนด์เป็นของตัวเอง ทำให้จำหน่ายได้ในราคาไม่สูงมากนัก เราคาดหวังให้กุ้งหวานกลายเป็นผลิตภัณฑ์ประจำอำเภอ กระแสสินธุ์ คือเมื่อเห็นกุ้งหวาน ก็ต้องคิดถึง เกาะใหญ่

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of ภูวสิษฏ์ สุขใส

ภูวสิษฏ์ สุขใส

-บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ภาคใต้โฟกัส -กรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ -นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ (STMA) -ที่ปรึกษา ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล (นายภาณุ อุทัยรัตน์)