สงขลา – เกษตรกรชาวสทิงพระ ปลูกอินทผลัมกว่า 100 ต้น พบการให้ผลผลิตน้อยมาก แต่ไม่ยอมแพ้ หวังหน่วยงานฯส่งเสริมความรู้ ปลูกเป็นพืชเศรษกิจตัวใหม่ในภาคใต้ นอกเหนือจากยางพาราและปาล์มน้ำมัน
18 มิ.ย. 2561 นายเกษม กิ้มเส้ง เกษตรกรวัย 59 ปี ชาวตำบล สทิงพระ หมู่ 3 อ.สทิงพระ จ.สงขลา ได้เปิดเผยถึงสาเหตุ ที่หันมาปลูกต้นอินทผลัม ในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระซึ่งล้อมรอบด้วย 2 ฝั่งทะเล คือทะเลสาบสงขลา และอ่าวไทยว่า ตัวเองได้แรงจูงใจจากโฆษณาทางทีวี ที่แนะนำการปลูกต้นอินทผลัม ซึ่งจะได้ราคาดี ผลผลิตสม่ำเสมอ ตลาดมีความต้องการสูงทั้งในประเทศ และต่างประเทศ จึงได้ลงปลูกโดยการติดต่อซื้อต้นพันธุ์มาจาก อ.แม่ขรี จ.พัทลุง ในราคาต้นละ 500 บาทเป็นพันธุ์เด็คเล็ทนัวร์ ลงปลูกในเนื้อที่ 3.5 ไร่ จำนวน 120 ต้น
ใช้เงินทุนประมาณ 8 แสนบาท ซึ่งได้ศึกษาวิธีการปลูกจากรายการทีวี และอินเตอร์เน็ต โดยวีธีการปลูกเว้นระยะ 5 เมตรต่อ1 ต้นจำนวน 3 แถว ใส่ปุ๋ยเดือนละครั้ง และให้น้ำระบบสปริงเกอร์ทุกวัน ใช้เวลา 4 ปี จนต้นสูงใหญ่ใบเขียวสมบูรณ์มาก ซึ่งต้นอินทผลัมอายุ 4 ปี ส่วนใหญ่อยู่ในระยะที่ออกผลผลิตได้แล้ว โดยติดผลครั้งแรกเมื่อปีที่แล้วออกผล2 ต้น ช่อละประมาณ 2 กก. ลูกเล็กและร่วงหมด มาปีนี้ออกผล 2 ต้นร่วงไป 1 ต้น เหลือ เพียงต้นเดียวแต่ผลค่อนข้างเล็ก
ข่าวน่าสนใจ:
- ผบช.สตม.ปล่อยแถว ตม.ทั่วประเทศ กวาดล้างอาชญากรรมช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ 2568
- ตรัง ร้านอาหารผวา!! แก๊งคอลเซ็นเตอร์ป่วน อ้างสั่งอาหารหรู "พระกระโดดกำแพง" หลอกร้านดังเกือบเสียเงินแสน
- ตรัง "โลกเปลี่ยน เราไม่เปลี่ยน" บอกรักทะเลด้วยสองมือ ณ หาดฉางหลาง ทะเลตรัง ก้าวขา-พาสองมือเก็บขยะทะเล รังสรรค์งานศิลป์
- รมต.วัฒนธรรม เปิดงานแห่ดาวคริสต์มาสจังหวัดสกลนคร "เสน่ห์แห่งสีสัน เทศกาลแห่งศรัทธา"
สำหรับปัญหาในการปลูกอินทผลัมคือ ออกดอกแล้วไม่ติดผล เป็นผลมาแล้วร่วงหมด และต้นเป็นตัวผู้ จึงอยากได้พันธุ์บาฮีซึ่งเหมาะสมกับภูมิอากาศในประเทศไทย เพื่อทดลองปลูกใหม่ ทั้งนี้ต้องการพิสูจน์ว่าภาคใต้ มีลักษณะภูมิอากาศร้อนชื้นสามารถปลูกต้นอินทผลัมได้ และเป็นการปลูกแทนพืชอย่างอื่น ที่ราคาไม่แน่นอน
ตัวเองยังไม่คิดว่าการขายกล้าพันธุ์ต้นอินทผลัม เป็นขบวนการหลอกลวง เพราะภาคอื่นเขาปลูกได้ผลดี ส่วนตัวก็ท้อแท้ เหนื่อยใจบ้าง เพราะไม่ทราบว่าต้นอินทผลัมขาดสารอาหารอะไรถึงไม่ติดลูก หรืออาจเป็นว่าทางปักษ์ใต้ไม่เหมาะสำหรับการปลูก อยากให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องช่วยเข้ามาดูแล หาองค์ความรู้ หรือนำเทคโนโลยีต่างๆ ในการปลูกต้นอินทผลัมมาถ่ายทอด เพื่อปลูกให้เป็นพืชเศษฐกิจตัวใหม่ของภาคใต้ ไม่ใช่มีเพียง ปาล์ม , ยางพารา เท่านั้น
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: