สงขลา-สะเดา แรงงานและนักท่องเที่ยวไทยกว่า 500 คน มีเฮหลังจากได้รับการประสานงานระหว่างประเทศให้เดินทางกลับประเทศไทยได้ โดยเดินทางผ่านด่านปาดังเบซาร์ ซี่งเป็นคนไทยชุดที่ตกค้างระหว่างการเดินทาง และเพิ่งทราบข่าวประกาศจังหวัดสงขลาที่ห้ามบุคคลทุกสัญชาติเข้า – ออกประเทศ ( มีคลิป )
23 มีนาคม 2563 ที่ด่านปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา ซึ่งอยู่ตรงข้ามด่านปาดังเบซาร์ รัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย หลังจากมีประกาศจังหวัดสงขลาห้ามบุคคลทุกสัญชาติเข้า- ออก ประเทศ เจ้าหน้าที่ก็ปิดประตูรั้วด่านตั้งแต่ปิดเวลาทำการตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา ทั้งนี้เป็นไปตามมาตรการการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 COVID – 19
โดยประมาณ 16.00 น.วันนี้ ได้มีการเปิดประตูรั้วด่านอีกครั้ง เพื่อให้แรงงานและนักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางกลับเข้าประเทศ ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 508 คน โดยส่วนใหญ่เป็นแรงงานต้มยำกุ้งซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เดินทางมาจากรัฐต่างๆเช่นเคแอล ปีนัง ยะโฮร์ ของประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีการเดินทางมาตั้งแต่ช่วงค่ำวันที่ 22 มี.ค.ที่ผ่านมา และเพิ่งทราบข่าวว่าจังหวัดสงขลามีคำสั่งห้ามบุคคลทุกสัญชาติเข้า – ออก เริ่มมีผล 23 มี.ค.2563
ข่าวน่าสนใจ:
- สงขลา ไม่ทันลืมตาดูโลก! พบศพทารกเพศชายยัดถุงดำ ถูกทิ้งถังขยะ ย่านเมืองท่องเที่ยว
- นครพนม : หมอสงค์ หมอผู้สร้าง เปิดตัวสมัครนายก อบจ.นครพนม พร้อม ส.อบจ.นครพนม
- ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิขานรับนโยบายกระทรวงคมนาคม พร้อมอำนวยความสะดวกผู้โดยสาร ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568
- ปป.แม่สายทานมูมมามจนลืมตัว เรียกเก็บเงินแบบไม่อาย แต่ต่อรองราคาได้
ทำให้แรงงานจำนวนนี้ซึ่งเดินทางมาถึงปลายทาง ใกล้ด่านตรวจคนเข้าเมืองประเทศมาเลเซียในช่วงเช้ามืด ไม่สามารถเดินทางออกมาได้ จนกระทั่งได้รับความช่วยเหลือจากสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดต่อประสานงาน จนได้รับการอนุญาตให้เดินทางออกทางด่านปาดังเบซาร์ได้ หลังจากที่ติดค้างอยู่ในประเทศมาเลเซีย กว่า 10 ชั่วโมง ซึ่งสร้างความดีใจให้กับคนไทยกลุ่มนี้เป็นอย่างมากและฝากขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกๆฝ่ายที่ได้ให้การช่วยเหลือ
เจ้าหน้าที่บอกว่าคนไทยที่อนุญาตให้เข้ามานี้ ได้รับการประสานจากสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองปีนัง และผ่านการคัดกรองจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายมาเลเซียแล้วเท่านั้น ไม่อนุญาตให้คนไทยหรือแรงงานทั่วไปซึ่งไม่มีประวัติจากสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองปีนัง เดินทางกลับแต่อย่างใด
ส่วนการควบคุมโรค ก่อนผ่านด่านก็มีการตรวจโรคตามขั้นตอนพร้อมจดบันทึกประวัติ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เพื่อเป็นข้อมูลส่งไปให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งอยู่ปลายทาง ของคนไทยแต่ละคน เพื่อเป็นข้อมูลในการติดตามของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือ อสม. หลังจากที่แนะนำให้กักตัวเองเป็นเวลา 14 วัน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: