สงขลา- สะเดา สวนยางพาราประสบภัยพิบัติได้รับความเสียหาย การยางแห่งประเทศไทย ( กยท. ) มอบเงินช่วยเหลือเกษตรกรถ้วนหน้า 3,000 บาท เพื่อมุ่งบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า ให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางที่ประสบภัยในเบื้องต้น
ในจังหวัดสงขลาประชาชนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรชาวสวนยาง มีอยู่เป็นจำนวนมาก เรื่องของสภาพอากาศแทบจะเป็นปัจจัยหลักในการประกอบอาชีพเกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรชาวสวนยางมักจะพบกับปัญหาที่เป็นผลกระทบจากสภาพอากาศเช่น น้ำท่วมสวนยาง ลมพายุที่ทำให้ต้นยางล้มเสียหาย ไฟไหม้สวนยาง ซึ่งส่งผลกระทบอย่างหนักหน่วงต่อการประกอบอาชีพในระยะยาว
การยางแห่งประเทศไทย หรือ กยท. จึงมีสวัสดิการที่จัดสรรให้กับเกษตรกรชาวสวนยางที่ได้รับความเดือดร้อนในส่วนของสวนยางที่ประสบภัย ไม่ว่าจะเป็น อัคคีภัย อุทกภัย หรือวาตภัย ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและฟื้นฟูสภาพสวนยางพารา
ซึ่งในตัวคู่มือปฏิบัติงาน ตามระเบียบการยางแห่งประเทศไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการใช้จ่ายในการจัดสวัสดิการเพื่อเกษตรกรชาวสวนยาง พ.ศ.2560 ตามมาตรา 49 (5) ได้กล่าวไว้ว่าเงินช่วยเหลือแก่เกษตรกรชาวสวนยางกรณีสวนประสบภัย มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือตามความจำเป็นเมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติขึ้นในท้องที่ โดยมุ่งที่จะบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าของเกษตรกรชาวสวนยางที่ประสบภัยในเบื้องต้น โดยมิได้มุ่งเพื่อจะชดใช้ความเสียหายให้แก่ผู้ใด
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง จัดใหญ่ 12 วัน งานฉลองรัฐธรรมนูญและงานกาชาดจ.ตรัง 4-15 ธ.ค.นี้ รีแบร์นใหม่! ย้อนยุคงานเหลิมแต่แรก แสดงบินโดรนพิธีเปิด วธ.ทุ่ม 3.4 ล้าน…
- สูงวัยตรัง ปลื้ม เตรียมตัวรับเงินหมื่น ฝันใช้ยามแก่-ต่อยอดอาชีพบั้นปลาย
- ตรัง สับปะรดทอด-ข้าวเม่าทอด ดาวเด่นประจำร้านสมพร รสชาติอร่อย ราคาเป็นกันเอง
- ชาวนาเผยต้นทุนการทำนาสูงแถมข้าวยังคงราคาตกต่ำอยากให้ทางรัฐบาลช่วยเหลือ
โดยมีคุณสมบัติหรือเงื่อนไข ของเกษตรกรชาวสวนยางผู้ได้รับการช่วยเหลือ
1. เป็นเกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย
2. เป็นเกษตรกรชาวสวนยางที่สวนยางประสบภัยจนเสียสภาพสวนยาง(สวนยางประสบภัยที่มีต้นยางได้รับความเสียหายคราวเดียวกัน ไม่น้อยกว่า 20 ต้นต่อไร่ ในบริเวณที่ได้รับความเสียหาย
3. ที่ดินสวนยางที่ประสบภัยต้องมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย
ซึ่งในพื้นที่จังหวัดสงขลานี้มีเกษตรชาวสวนยางที่ประสบปัญหาเหล่านี้ค่อนข้างมาก โดยเกษตรกรชาวสวนยางในจังหวัดก็มีทั้งเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับทางการยางแห่งประเทศไทยแล้ว และอีกส่วนหนึ่งก็ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ ทำให้ไม่ได้รับการช่วยเหลือจากตัวสวัสดิการเพื่อเกษตรกรชาวสวนยาง ตามมาตรา 49 (5)
นางสมใจ บุญเอื้อ เกษตรกรชาวสวนยางใน อ.นาทวี จังหวัดสงขลา ที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับทาง กยท. ได้รับผลกระทบจากเหตุอัคคีภัย เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2562 โดยเหตุอัคคีภัยในครั้งนั้นทำให้ต้นยางพาราเสียหายไปประมาณ 84 ต้น และได้รับเงินช่วยเหลือเป็นจำนวน 3,000 บาท โดยเงินช่วยเหลือในส่วนนี้นางสมใจ บุญเอื้อ กล่าวว่า ตนได้นำไปซื้อปุ๋ยเพื่อบำรุงรักษาต้นยางพารา
เช่นเดียวกับ นายณรงค์ หมวกวัลย์ เกษตรกรชาวสวนอ.จะนะ จังหวัดสงขลา ที่ได้ทำการขึ้นทะเบียนไว้กับทาง กยท.เมื่อปีพ.ศ. 2558 เป็นเกษตรกรอีกหนึ่งรายที่ประสบปัญหาสวนยางประสบภัย เมื่อต้นเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ต้นยางพาราล้มเสียหายไปจำนวน 21 ต้น จากเหตุวาตภัย และได้รับเงินช่วยเหลือจาก กยท.เป็นจำนวน 3,000 บาท
นอกจากนั้นยังมีสวนยางพารา ของนายบุญมา วรรณะ เกษตรกรชาวสวนยาง อ.จะนะ จ.สงขลา ที่ได้ทำการขึ้นทะเบียนไว้กับทางกยท.มาประมาณ 3 ปี ซึ่งสวนยางพาราได้รับความเสียหายจากเหตุอัคคีภัย โดยมีไฟไหม้จากแปลงอื่นและลุกลามเข้ามา สร้างความเสียหายไปประมาณ 3 ไร่ครึ่ง ในช่วงประมาณเดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2563 ได้รับเงินเยียวยาเป็นจำนวน 3,000 บาท
โดยเกษตรกรทั้งหมดบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า “ แม้จะได้รับการชดเชยไปส่วนหนึ่งแล้ว แต่ก็ไม่ได้คุ้มค่านักเพราะต้นยางกำลังกรีดได้ แต่ถึงกระนั้นก็ยังดีกว่า ที่สามารถนำเงินตรงส่วนนี้ไปดูแลในส่วนที่เหลือได้ด้วยการจัดซื้อปุ๋ยมาบำรุงต้นยางพาราต้นอื่นๆ ถามว่าคุ้มมั๊ยกับความเสียหายที่เกิดขึ้น จริงๆแล้วเทียบไม่ได้แต่ก็ยังดีที่ได้รับความช่วยเหลือจาก กยท.ตรงนี้ทุกคนมีความภูมิใจ ”
นายพงศ์พนิต ทองนวล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6 การยางแห่งประเทศไทย สาขานาทวี ได้กล่าวถึงรายละเอียดเบื้องต้นของสวัสดิการชาวสวนยางตามมาตรา 49 (5) ของพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย ในกรณีสวนประสบภัย ไว้ว่ากรณีของสวนยางพาราประสบภัย ทางการยางแห่งประเทศไทยนั้นก็มีหลักเกณฑ์ว่า ต้องเป็นเกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย และสวนยางต้องเสียหายเกิน 20 ต้นในการเกิดเหตุต่อหนึ่งครั้ง ทางกยท.จะมีเงินเยียวยาเป็นจำนวน 3,000 บาท ในกรณีของศัตรูพืชหรือภัยแล้ง จะได้รับการช่วยเหลือก็ต่อเมื่อมีประกาศเป็นเขตภัยพิบัติเสียก่อน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: