สงขลา – สะเดา การยางแห่งประเทศไทย กยท. รุกจัดสวัสดิการชาวสวนยาง ศึกษา “โครงการสมัครใจจ่ายสมทบ ” กรรมการการยางแห่งประเทศไทย และอนุกรรมการศึกษาข้อมูลการจัดสวัสดิการและอื่นๆ เพื่อเกษตรกรชาวสวนยาง กยท. ลงพื้นที่ 7 เขตฟังความเห็น
การยางแห่งประเทศไทย หรือ กยท. มีเป้าหมายที่จะพัฒนาวงการยางพาราไทยให้ก้าวไกล และมุ่งที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางให้ดีขึ้น ด้วยเหตุนี้หลักคิดในส่วนของสวัสดิการที่ถูกจัดขึ้นมาเพื่อเกษตรกรชาวสวนยางทั้งหลาย จะคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาวสวนยางพาราเป็นหลัก ทุกๆ สวัสดิการที่ถูกจัดสรรมาจะมีส่วนช่วยบรรเทาความเดือดร้อนทั้งในส่วนเฉพาะหน้าและระยะยาว
แม้สวัสดิการมากมายที่ถูกจัดสรรออกมาจะช่วยเหลือได้มากแล้ว แต่ด้วยหลักคิดที่คำนึงชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรชาวสวนยาง “ต้องดีขึ้น” ทำให้คณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย โดยการนำของ
ที่มุ่งมั่นพัฒนาและจัดหาสิ่งดีๆ มามอบให้ชาวสวนยางพาราอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งโครงการต่อไปที่มีการดำเนินการเตรียมพร้อมที่จะนำมาใช้ในอนาคตสำหรับกเษตรกรชาวสวนยางนคือ “โครงการสมัครใจจ่ายสมทบ” ซึ่งศึกษาความเป็นไปได้โดย นายสุนทร รักษ์รงค์ กรรมการการยางแห่งประเทศไทย และอนุกรรมการศึกษาข้อมูลการจัดสวัสดิการและอื่นๆ เพื่อเกษตรกรชาวสวนยาง กยท.
ข่าวน่าสนใจ:
- สงขลา M79 ถล่มเเคมป์คนงานสร้างเจ้าแม่กวนอิม บาดเจ็บ 3 ราย พื้นที่ อ.เทพา
- “ไพเจน” ส่งจดหมายเปิดผนึกยุติลงชิงนายก อบจ.สงขลา
- ตรัง คู่ซี้ พระ-ฆราวาส เมาแอ๋ด่าทอชาวบ้านใกล้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อาละวาดอ้างมีปืน ทำชาวบ้านแตกตื่น ตร.หิ้วปีกบังคับสึก กร่างไม่เลิกบอกรู้จักพระผู้ใหญ่
- เตือนชาวบ้านอย่าตกเป็นเครื่องมือคนร้ายที่พยายามสร้างความขัดแย้งในพื้นที่
โครงการสมัครใจจ่ายสมทบ สวัสดิการสำหรับพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางที่มีแผนการร่างไว้คร่าวๆ และมีความเป็นไปได้ที่จะดำเนินการในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ ในเบื้องต้น นายสุนทร บอกและว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในตอนนี้คือ พี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางบัตรเขียวมีจำนวนประมาณ 1.4 ล้านราย และบัตรชมพูประมาณ 4 แสนราย 6 ล้านไร่ ไม่เกินสิ้นปีนี้น่าจะยกระดับเป็นบัตรเขียว ซึ่งจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่า 1.8 ล้านราย และภายใน 3 – 4 ปีนี้ มองว่าประกันภัยอุบัติเหตุยอดน่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยส่วนตัวคิดว่าน่าจะทำต่อไปไม่ไหว โดยต่อปีเรามีงบประมาณในสวัสดิการ มาตรา 49 ( 5 ) ตกประมาณ 500 กว่าล้านบาท ถ้าไปซื้อประกันอุบัติเหตุมูลค่ากว่า 3 – 4 ร้อยล้านก็คงแย่
นายสุนทร กล่าวว่า เมื่อพูดถึงโครงการสมัครใจจ่ายสมทบแล้ว ก็ต้องพูดถึงสังคมสวัสดิการและรัฐสวัสดิการ สังคมสวัสดิการเนี่ยต่างจากรัฐสวัสดิการ ในปัจจุบัน รัฐสวัสดิการแถบสแกนดิเนเวียที่เคยโด่งดัง วันนี้เมื่อเผชิญกับปัญหาโควิดก็มีข่าวลือแพร่กระจายออกมาว่าเอาไว้ดำเนินการกับผู้สูงวัย นั่นก็เพราะงบประมาณในการจัดรัฐสวัสดิการเริ่มมีปัญหา คนตกงานก็ได้ ไหนจะผู้สูงอายุที่ต้องดูแล ดังนั้นชุดความคิดเรื่องรัฐสวัสดิการ จึงเป็นชุดความคิดที่หลายเป็นตัวลดภาระของภาครัฐ คือประชาชนจะต้องพึ่งพาตัวเองก่อน เราก็จะใช้เงื่อนไขตามกฎหมาย ไม่ว่าจะของกยท. หรือของทางเราเอง หรือไม่เช่นนั้นเราก็จะดูว่ามีเงื่อนไขอื่นที่สามารถที่จะดึงเงินสมทบมาช่วยเหลือพี่น้อง
เช่น สมมุติพี่น้องชาวเกษตรกรสะสมวันละ 1 บาท ระยะ 1 ปีต่อคนก็เป็นจำนวน 365 บาท แล้วถ้ากยท.สมทบไปอีก 365 บาท หรือใช้สวัสดิการชุมชนของ พอช. (สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน) มาสมทบอีก 365 บาท ใน 1 ปี พี่น้องเกษตรกรก็จะมีเงินอยู่ประมาณ 1,000 บาท ส่วนจะเอาไปทำอะไรต่อไปนั้นเป็นเรื่องที่ทางหน่วยเล็กๆ เขาจะนำไปจัดการต่อเอง
“ กองทุนสวัสดิการเป็นเรื่องที่พี่น้องเกษตรกรต้องมีความพร้อม และไม่ใช่เรื่องง่าย ที่จะให้พี่น้องตื่นตัวและสะสมก่อน ดังนั้น สิ่งที่เราต้องดำเนินการ คือ หลังจากทำการศึกษาเสร็จ เราจะลงพื้นที่ไป 7 เขตทั่วประเทศ เพราะว่า การออกแบบในเรื่องนี้ วันนี้เราสมมติว่า 1 บาทต่อวันต่อคน แต่พี่น้องเกษตรกรอาจจะบอก 50 สตางค์ก็ได้ ดังนั้น เราจึงต้องลงไปสอบถามความคิดเห็นของพี่น้องเกษตรกรก่อน”
นายสุนทร บอกต่อว่า วันนี้สวัสดิการจะกลายเป็นอีกหนึ่งเงื่อนไขที่เป็นความสุขให้กับชาวเกษตรกรชาวสวนยางพารา จากการได้รับสิทธิ์สวัสดิการเหล่านี้ เรามุ่งหวังว่าในวันนี้รวมถึงความช่วยเหลือต่อไปในอนาคต จะต้องไปถึงพี่น้องบัตรสีชมพูที่จะยกระดับเป็นบัตรเขียว ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นทางออกที่จะเป็นแบบอย่างให้กลุ่มเกษตรกรชนิดอื่น เขาได้เห็นเป็นแบบอย่างว่าชาวสวนยางก็ทำได้ในการจัดการตัวเองของชาวสวนยาง โดยเฉพาะเรื่องสวัสดิการเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก
ยกตัวอย่างถ้ากองทุนจัดตั้งเสร็จ เรามีเงิน 1,000 บาท ต่อคน อยู่ในมือ ในขณะที่เราทำประกันอุบัติเหตุคนหนึ่งประมาณ 100 กว่าบาท เรายังมีเงินเหลือที่ไปซื้อประกันสุขภาพ ประกันสุขภาพสามารถมีค่ารักษาพยาบาลได้ และคนกรีดยางเมื่ออายุเข้า 60 ปี ก็อาจจะมีบำนาญจัดให้สำหรับคนกรีดยางที่เกิดขึ้นจากการกองทุนสวัสดิการนี้ หรือว่าเกิดภัยพิบัติในที่อื่นๆ เขาอาจจะช่วยในเรื่องของต้นยางพารา แต่สำหรับเกษตรกรรายย่อยอาจจะลำบากในเรื่องของการเงิน เราก็อาจจะมีกองทุนช่วยเยียวยาเดือนละ 3,000 – 4,000 บาท เพื่อให้เขามีเงินในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันโดยไม่ขัดสนเกินไปนัก นายสุนทร บอก
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: