สงขลา – สะเดา “ พินซูก – บ้านกล้วย ” จังหวัดชายแดนภาคใต้สตาร์ทอัพโตสวนกระแส ยุคธุรกิจดิจิทัลเฟื่องฟู
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จัดเสวนาต่อเนื่อง ครั้งที่ 4 เรื่อง “โอกาสของจังหวัดชายแดนภาคใต้ในยุคธุรกิจดิจิทัลเฟื่องฟู” มีวิทยากร ประกอบด้วย นายมีธรรม ณ ระนอง รักษาการรองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(Etda), ผศ.ดร.ธนภัทร ยีขะเด รองคณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, นายชารีฟ เด่นสุมิตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอส ออเดอร์ จำกัด เจ้าของแพลตฟอร์ม “พินซูก”, นางมาลัย เพ็งมูซอ ผู้ก่อตั้งบริษัท บ้านกล้วย (2017) จำกัด
ดำเนินการเสวนาโดย นายสมชาย สามารถ บรรณาธิการศูนย์ภาคใต้เครือเนชั่น และ นายปกรณ์ ปรีชาวุฒิเดช ผจก.ภาคใต้ตอนล่าง สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Depa) ถ่ายทอดสดทางเพจศ.อบต.และสงขลาโฟกัสเมื่อเร็วๆนี้
ข่าวน่าสนใจ:
นายมีธรรม ณ ระนอง บอกว่า โอกาสทางภาคใต้มีมากๆ ทางสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้เคยทำการวิจัยทางตลาด พบว่า เมื่อ 2 ปีก่อน ใช้อินเตอร์เน็ต 9 ชั่วโมงต่อวัน และภายหลังพบว่า คนใต้ใช้มากกว่า 10 ชั่วโมง ในการทำแง่ธุรกิจมากขึ้น และเข้าถึงดิจิทัลแพลตฟอร์มมากขึ้น มีการจ่ายเงินออนไลน์ ผ่านแอปมือถือกันหมดแล้ว “ภาคใต้มีศักยภาพคือ โครงสร้างพื้นฐานที่ดี ทั้งความเร็วอินเตอร์เน็ตที่ดีก็จะทำอะไรได้ง่ายขึ้น”เครื่องมือทางดิจิทัลก็ต้องใช้มาก แต่สำคัญที่สุดคือ คน คิดว่าคนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เองมีหน่วยงานและมหาวิทยาลัยมากพอสมควร ที่สามารถรองรับได้ ส่วนงานที่สนับสนุนก็เป็นเรื่องที่ดีที่มี Depa อยู่ที่จังหวัดสงขลา เป็นหมุดสำคัญในการเชื่อมโยงส่วนกลางไปภูมิภาคได้ง่ายขึ้น
ผศ.ดร.ธนภัทร ยีขะเด บอกว่า โอกาสของจังหวัดชายแดนใต้ต่อการดำเนินธุรกิจยุค New normal จะเห็นได้ว่า e-commerce ประเทศไทยเป็นอันดับ1 ในอาเซียนสูงสุดติดต่อกัน 6 ปีซ้อน แสดงว่า คนไทยมีความตื่นตัวซื้อขายผ่าน e-commerce กันมาก นักศึกษาในขณะนี้อยู่ใน Gen z/ Gen y คนกลุ่มนี้ใช้อินเตอร์เน็ตมากต่อวัน 11-12 ต่อชั่วโมง ทั้ง 2 gen นี้มีประชากรเกินครึ่ง นี่จึงเป็นโอกาสของสามจังหวัดชายแดนใต้ในยุคเทคโนโลยี
ส่วนการขับเคลื่อนการศึกษาต้อง เด็กที่เรียนในเมืองมีความพร้อมด้านเทคโนโลยีดีกว่าเด็กในชุมชน ถ้าอยากให้ผู้ประกอบการ 3 จังหวัดขับเคลื่อนไปได้ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น งบประมาณ เทคโนโลยี ที่สำคัญคือ พี่เลี้ยง ที่ต้องเชี่ยวชาญด้านการตลาด โดยการสนับสนุนและเชื่อมโยง ศอ.บต.ทำได้ดี อย่างเช่นอีกเรื่องคือ การป่มเพาะคนรุ่นใหม่ เช่น องค์ความรู้ ซอฟต์แวร์ต่างๆ อาจจะต้องให้โอกาส สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ งบประมาณ ความรู้ ให้เขามีแพลตฟอร์มของตัวเอง
นายชารีฟ เด่นสุมิตร บอกว่า คนรุ่นใหม่ที่อยากมาทำธุรกิจในด้านดิจิทัล ต้องเอาดิจิทัลเข้ามาใช้ อย่างตัวชารีฟเองกลับมาบ้านเกิดเมื่อ 3-4 ปีที่แล้วมาทำธุรกิจที่เป็นแพลตฟอร์มและหน้าร้านที่บริหารจัดการจัดสรรวัตถุดิบให้ร้านอาหาร “ถ้าย้อนกลับไป 4-5 ปีที่ดิจิทัลเป็นเรื่องใหม่มาก ชารีฟกลายเป็น Start up หน้าใหม่และเป็นกลุ่มแรกๆที่เป็น food derivery กลายเป็นจุดกำเนิดให้ Start up นอกพื้นที่เห็นโอกาสว่าในพื้นที่ทำธุรกิจด้านดิจิทัลได้จริง” นายซารีฟ กล่าว และว่าปัจจุบัน มีหน้าร้าน 7 สาขา และมีระบบดิจิทัลเข้ามา ซึ่งหลายๆ กิจการที่เอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้โตขึ้น เป็นจุดที่พิสูจน์ให้เห็นส่าการที่เราเอาดิจิทัลเจ้ามาใช้บริหารทำให้เงินสองหมื่นกว่าบาทเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี
เห็นได้ว่าปีนี้ 2564 ที่โควิด-19 ระบาดอย่างหนัก แต่เรามียอดขาย 25 -30 ล้านบาท “เราพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสเป็นเพราะการที่เรานำดิจิทัลเข้ามาสามารถสร้างโอกาสได้มากมาย น้องๆในพื้นที่สามารถมาทำในตรงนี้ได้มากขึ้น มีหน่วยงานที่เข้ามาสนับสนุนเยอะ เราแค่พิสูจน์ว่าสิ่งที่เราคิดทำได้จริง
ด้าน นางมาลัย เพ็งมูซอ บอกว่า ซึ่งช่วงเวลา 2 ปีที่มีโควิด-19 เราปรับตัวโดยไม่คิดว่าเป็นวิกฤติของกลุ่มบ้านกล้วย ซึ่งที่จังหวัดปัตตานีแปรรูปเกี่ยวกับกล้วยน้ำว้าที่มีในชุมชน ได้จัดตั้งวิสาหกิจชุมชน ขณะนี้ช่องทางของกลุ่มบ้านกล้วยอยู่ทุกห้างสรรพสินค้าในประเทศไทย และวางจำหน่ายหนึ่งหมื่นว่าสาขาของเซเว่นฯ ที่เข้าไปอยู่ในกลุ่มเหล่านี้ได้ มีหน่วยงานภาครัฐ ภาคีเครือข่ายให้ความรู้เพื่อให้ผู้ประกอบการอยู่รอด จนปัจจุบันได้เข้าถึงลูกค้ามากมาย โดยมีกำลังผลิตวันละ 1 ตัน
“อยากจะฝากผู้ประกอบการว่าอย่าไปกลัวโควิด-19 แล้วหยุดไปต่อ แต่อยากให้เข้าหาหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งทุกกลุ่มมีการประชาสัมพันธ์อยู่ตลอดเวลา การที่เราปรับตัวเข้าหาดิจิทัลทำให้มีตลาดมากขึ้น และที่สำคัญคือคนรุ่นใหม่เข้ามาเพิ่มเติม” ซึ่งผู้ประกอบการจะอยู่รอดหรือไม่ ไม่ได้อยู่ที่โควิด-19 แต่อยู่ที่เราปรับตัวแค่ไหน อีกทั้ง ทางกลุ่มได้เปิดโอกาสให้เด็กรุ่นใหม่ได้ศักยภาพได้เต็มที่แล้วเราจะได้ผลลัพธ์ที่เกิดคาด
สำหรับ OTOP ในพื้นที่ อยากให้มีหน่วยงานเป็นพี่เลี้ยง กลุ่มผู้ประกอบการมีหลายระดับ แบ่งการอบรมกันอย่างชัดเจน ให้สอดคล้องกับศักยภาพ“กลุ่มเราเติบโตในช่วงโควิดพอดี อย่างเดือนที่แล้วปิดยอดไปกว่า 4 ล้านบาท เติบโตมากับดิจิทัล
ซึ่งทุกโอกาสที่ได้รับในยุคออนไลน์ ไม่คิดว่าสินค้าบ้านๆ เข้าสู่สากลได้ เห็นได้ชัดคือ เราเติบโตแบบก้าวกระโดด จากปี 2555 ได้ 1,500 บาท ล่าสุด ปีนี้ 4 ล้านกว่าบาท มั่นใจว่าปี 2565 เราจะยายมากขึ้น และต้องการวัตถุดิบกล้วยน้ำว้ามากขึ้นด้วย” นางมาลัยฯ บอก
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: