สงขลา-สะเดา ผู้ประกอบการยางพาราส่งออกผ่านประเทศ (ทรานสิท) ร้อง ถูกหน่วยงานการยางภาครัฐ อายัดสินค้ากว่า 160 ตันตรวจสอบ หลังจากได้ชี้แจงเป็นยางเครพ จากประเทศพม่าผ่านประเทศไทยไปยังประเทศมาเลเซีย เผยมีการตรวจสอบจากเจ้าที่ศุลกากร กรมวิชาการ จากต้นทางและออกเอกสารให้อย่างถูกต้อง กลับต้องรอตรวจสอบอีก 3 วัน เผยเอกชนเสียหายวันละ 2 แสน ทั้งนี้อาจเป็นคู่เเข่งกลั่นแกล้ง
5 ก.พ.2567 นายเอกพล อรรถวิเวก อายุ 41 ปี เจ้าของบริษัท ดีดี บรอเดอร์ จำกัด อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี เดินทางมาที่ด่านศุลกากรสะเดา อ.สะเดา จ.สงขลา เพื่อชี้แจงกับเจ้าหน้าที่การยางและหลายหน่วยงาน หลังรถพ่วงบรรทุกยางพารา ทรานสิทไปประเทศมาเลเซีย จำนวน 5 คัน น้ำหนักรวมประมาณ 165 ตัน มูลค่ากว่า 6 ล้านบาทของบริษัท ถูกอายัดตรวจสอบที่ด่านศุลกากรสะเดานานหลายวัน ทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้ประกอบการ
ข่าวน่าสนใจ:
เนื่องจากบริษัทได้ดำเนินการทำเอกสารการนำเข้าและส่งออกยางพาราชนิดเครพ อย่างถูกต้อง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะไปขัดขากับคู่แข่งที่ต้องการยางพาราล็อตนี้จากประเทศพม่า เพื่อส่งออกไปยังประเทศมาเลเซียด้วยกัน โดยคู่แข่งส่งออกยางพาราเถื่อนมานานหลายปีโดยมีนักการเมืองหนุนหลังแต่เมื่อตัวเองทำถูกต้อง และไม่สามารถขายยางพาราดังกล่าวให้กับกลุ่มคู่แข่งได้ จึงเกิดการกันแกล้งร้องเรียนมายังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกยางพาราหลายหน่วยงาน ให้มาตรวจสอบสินค้าของตนเอง
นายเอกพลฯ บอกอีกว่ายางพาราเครพทั้งหมด มีการตรวจสอบจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งก็ทำเอกสารที่ถูกต้องอย่างเรียบร้อย ซึ่งทางศุลกากรด่านสะเดาได้อำนวยความสะดวกอย่างเต็มที่ แต่ก็มีบางหน่วยงานกลั่นแกล้งให้มีการตรวจสอบซ้ำอีกครั้ง ซึ่งค่าเสียหายในการจอดรถรอวันละ 2 แสนบาท ส่วนยางพาราทั้งหมดคันละ 33 ตัน รวม 5 คันกว่า 160 ตัน รวมมูลค่าประมาณ 6 ล้านบาท หากมีความล่าช้าออกไปบริษัทจะสูญเสียรายได้อย่างมโหฬาร รวมทั้งราคายางอาจจะมีราคาเปลี่ยนแปลงในการรับซื้อในต่างประเทศ
ขณะเดียวกันที่ลานขนถ่ายสินค้าด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ เจ้าหน้าที่จากการยางพิเศษแห่งประเทศไทยซึ่งประกอบด้วย นายอนิรุทธ์ สังข์ยวน รักษาการ ผอ.การการยางแห่งประเทศไทย จังหวัดสงขลา นายพิเชษฐ ยอดใชย กรรมการการยางแห่งประเทศไทย นายฐิติพงษ์ เพ็งแพง เจ้าที่กรมวิชาการเกษตร นายเผดิมเดช มั่งคั่ง นายด่านศุลกากรสะเดา รวมทั้งทหารจากหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 5 รวมเจ้าหน้าที่ทั้งสิ้นกว่า 50 คน
ได้ร่วมทำการตรวจสอบยางพาราซึ่งอายัดไว้ ว่าเป็นยางเครพ หรือยางพาราเถื่อนหรือไม่ ซึ่งถ้าหากเป็นยางเครพ ก็สามารถส่งออกได้แต่ถ้าเป็นยางเถื่อน หรือยางพาราของประเทศไทยจะต้องยึด หรือเสียค่าทำธรรมเนียมให้กับการยางแห่งประเทศไทยกิโลกรัมละ 2 บาท
จากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่การยาง โดยสุ่มนำก้อนยางพาราลงมาจากรถบรรทุกทั้ง 5 คัน เพื่อทำการตรวจสอบในทางวิชาการว่าเป็นยางเครพจากประเทศพม่าหรือไม่ ส่วนของกรมวิชาการเกษตรจะทำการตรวจสอบในเรื่องของ เชื้อโรค เมล็ดพันธ์พืชและมีสิ่งปนเปื้อน เบื้องต้นใช้เวลาในการตรวจสอบ 3 วันถ้าหากตรวจสอบแล้วเป็นยางเครพ ตามที่ผู้นำเข้าชี้แจงมาก็สามารถทำการส่งออกได้ตามปกติ
ด้านนายเอกพล อรรถวิเวก ได้เปิดเผยว่า หากมีการร้องเรียนของผู้ประกอบการ ที่มีการทำอย่างถูกต้อง และมีการรอการตรวจสอบไว้นานผิดปกติขนาดนี้ บริษัทได้รับความเสียหาย ใครจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ซึ่งเชื่อว่าเป็นการกลั่นแกล้งของกระบวนการส่งออกยางพาราเถื่อน ที่มีคนหนุนหลัง ให้สกัดการส่งออกยางพาราทรานสิทของผม ซึ่งเพิ่งทำเป็นครั้งแรกและทำอย่างถูกต้องซึ่งผมไม่ได้รับความเป็นธรรม
นายพิเชษฐ ยอดใชย กรรมการการยางแห่งประเทศไทยได้เปิดเผยว่า ได้รับคำสั่งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรให้ตรวจเข้ม ขบวนค้ายางเถื่อน ที่ทำร้ายเกษตรกรชาวไทยมาอย่างต่อเนื่อง เบื้องต้นปัญหานี้ทางการอยากจะรีบทำการตรวจสอบว่ายางทั้งหมด เป็นยางเถื่อนหรืออย่างเครพเพื่อการส่งออกผ่านประเทศไทย ไปยังประเทศมาเลเซียหรือไม่ ซึ่งเบื้องต้นใช้เวลาในการตรวจสอบประมาณสามวันในห้อง Lab
ในการตรวจสอบว่ายางนี้ได้มาตรฐานในการส่งออกหรือไม่ หากผลจากการตรวจสอบพบว่าไม่เป็นยางพาราที่ต้องห้ามก็สามารถส่งออกได้ ยางทรานสิท ไม่ต้องเสียเงินค่าเซฟ กลับกันหากเป็นยางในประเทศไทย ในการส่งออกต้องเสียค่าเซฟกิโลกรัมละ 2 บาท ซึ่งเราเองก็ต้องทำให้รอบคอบก่อนที่จะให้ผ่านแดนจุดนี้ไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: