สงขลา – สะเดา จากเหตุการณ์ที่มีลมพายุฝนพัดกระหน่ำ ครอบคลุมหลายพื้นที่ในจังหวัดสงขลา ทั้ง อ.สะเดา และ อ.นาทวี สร้างเสียหายต่อบ้านเรือนประชาชน และพื้นที่เกษตรกรรม โดยเฉพาะสวนทุเรียนที่กำลังรอการเก็บเกี่ยว ลูกหล่นเกลื่อนสวนเสียหายหนัก หน่วยงานเร่งสำรวจรวบรวมข้อมูล ให้ความช่วยเหลือ19 มิ.ย. 62 ผู้สื่อข่าวได้ไปสำรวจพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ จากเหตุการณ์พายุฝนพัดถล่มอย่างรุนแรง ในจังหวัดสงขลาเมื่อช่วงบ่ายวันที่ 18 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยเฉพาะพื้นที่ ในอ.สะเดา และ อ.นาทวี มีบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายหลายหลัง รวมถึงภาคเกษตรกรรมซึ่งสวนทุเรียนได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากผลทุเรียนที่อยู่ในช่วงใกล้เวลาเก็บเกี่ยว ได้รับผลกระทบจากแรงลม หล่นลงพื้นสร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรหลายรายกำนันสมัคร กุลกนก หรือกำนันเขียด กำนัน ต.สะท้อน อ.นาทวี จ.สงขลาบอกว่า ที่สวนของตนเองซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ ลูกทุเรียนพันธุ์พื้นเมือง และทุเรียนหมอนทอง ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ น้ำหนักกว่า 2-3 กก. ถูกกระแสลมพัดร่วงหล่นกว่า 500 ลูก ซึ่งเป็นทุเรียนที่ยังอ่อน ไม่สามารถนำไปแปรรูปใดๆ ได้ ซึ่งเหตุการณ์ลมพัดรุนแรงแบบนี้ ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในพื้นที่ส่วนที่สวนทุเรียนของนายวิทยา จันทร์ฤทธิ์ ผู้ใหญ่บ้าน บ.ท่าคลอง หมู่ 4 ต.สะท้อน ในเนื้อที่ 8 ไร่ ได้รับผลกระทบจากแรงลมพายุ จนกิ่งทุเรียนหัก ลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทอง และพันธุ์ชะนี เฉลี่ยน้ำหนักลูกละ 3- 5 กก. หล่นประมาณ 400 ลูก คิดเป็นมูลค่าเสียหายไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นบาทช่วงเกิดเหตุตนเองไม่ได้อยู่ที่บ้าน และทราบข่าวจากเพื่อนๆ ว่า ในสวนของแต่ละคนลูกทุเรียนถูกลมพายุพัด จนหล่นได้รับความเสียหาย ก็ได้แต่คิดว่าที่สวนของตนเองคงไม่เป็นไร แต่เมื่อเข้ามาตรวจสอบถึงกับจะหมดแรง เพราะทุเรียนพันธุ์หมอนทอง และพันธุ์ชะนี ซึ่งปลูกไว้ใกล้ๆ บริเวณบ้าน ลูกขนาด 3- 5 กก.หล่นลงมาเกลื่อนพื้น ซึ่งมีความรู้สึกเสียดายมาก เพราะทุเรียนกำลังใกล้จะถึงเวลาเก็บเกี่ยวได้ไม่เกิน 20 วัน และปีนี้คาดว่าราคาทุเรียนจะมีราคาสูง ซึ่งค่าเสียหายที่สวนของตนเบื้องต้นไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นบาท
ด้านนางพรทิพย์ ศรีสมโภชน์ เกษตรอำเภอนาทวี เปิดเผยว่า ใน อ.นาทวีได้รับความเสียหายแทบทุกตำบล โดยเฉพาะตำบลปลักหนูหนักที่สุด เกษตรกรสวนทุเรียนที่ได้รับผลกระทบจำนวน 56 ราย ลูกทุเรียนหล่นก่อนการเก็บเกี่ยวจำนวน 5,200 ลูก ส่วนใหญ่พ่อค้าคนกลาง ได้มาเหมายกสวนหมดแล้ว ซึ่งทางเกษตรจังหวัดได้มีคำสั่งให้เกษตรอำเภอ ไปสำรวจและเยี่ยมเยียนชาวสวนที่ได้รับผลกระทบ พร้อมทั้งรวบรวมข้อมูล เพื่อหาแนวทางในการให้ความช่วยเหลือต่อไป
ข่าวน่าสนใจ:
- "กรุงเทพฯ ดีต่อใจ" ชวน ฮีลกาย..ฮีลใจ รับปีใหม่ 3-5 ม.ค.68
- หมดวาระอบจ.ตรัง รุ่งขึ้น “บุ่นเล้ง” เปิดตัวทันควัน ใช้ชื่อ “ทีมนายกบุ่นเล้ง” แทน “ทีมกิจปวงชน” ชูนโยบาย “รวมพลังที่ยิ่งใหญ่ ขับเคลื่อนตรังให้เป็น 1”
- พิธีเปิดนิทรรศการฟอสซิลช้างดึกดำบรรพ์และสัตว์ร่วมยุคในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
- DSI ร่วมบริจาคน้ำดื่มให้ท่านจุฬาราชมนตรี เพื่อช่วยเหลือและเยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: