สงขลา – สะเดา ชาวสงขลาวิตก งานเติมทรายชายหาดแหลมสมิหลา และหาดชลาทัศน์ ดูดทรายใกล้แหลมสนอ่อน มีความลึกมากกว่า 3 เมตร หวั่นเกิดผลกระทบน้ำกัดเซาะ แนวสวนสนผืนสุดท้าย และอาจเป็นอันตรายกับนักท่องเที่ยววานนี้ ( 31 ก.ค.62 ) ที่แหลมสนอ่อน ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา มีชาวบ้านร้องเรียนไปยังผู้สื่อข่าวว่า พื้นที่ชายหาดแหลมสมิหลา มีโครงการจ้างเหมาก่อสร้างโครงสร้างป้องกันน้ำกัดเซาะชายฝั่ง งบประมาณเกือบ 300 ล้านบาท เพื่อดูดทรายบริเวณแหลมสนอ่อน ไปเติมโครงการชายหาดแหลมสมิหลา – หาดชลาทัศน์ หวั่นกระทบการเล่นน้ำ ท่องเที่ยว และเกรงจะมีปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณนี้ตัวแทน ภาคประชาชนในจังหวัดสงขลา มีความกังวลในโครงการดูดทราย เพื่อนำทรายไปเติมชายหาดบริเวณแหลมสมิหลา-หาดชลาทัศน์ ระยะ 3,600 เมตร ซึ่งกรมเจ้าท่าได้ว่าจ้างบริษัทเอกชนเข้าดำเนินการด้วยวงเงิน 269 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ ที่กำหนดแล้วเสร็จในเดือน กันยายน 2562 นี้
ซึ่งนักวิจัยยืนยันว่า ทรายจากชายหาดบริเวณเก้าเส้ง ได้ถูกคลื่นซัดมาเกยบริเวณแหลมสนอ่อน ทำให้มีชายหาดงอกออกมา จึงใช้ทรายย้ายกลับไปที่เดิม และจากการตรวจสอบพบผู้ประกอบการได้มาติดตั้งอุปกรณ์อยู่ติดชายหาด บริเวณสระบัว แหลมสมิหลา ซึ่งอยู่ห่างจากจุดเติมทรายประมาณ 5 กิโลเมตร และปักธงสีส้มเป็นสัญลักษณ์พื้นที่ของการดูดทรายเอาไว้
โดยหากมีการดูดทรายเสร็จสิ้น ตรงจุดที่เคยเป็นชายหาดของแหลมสนอ่อน ก็จะกลายเป็นพื้นน้ำและอยู่ติดกับแนวสวนสนผืนสุดท้ายของนครสงขลา ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่รวมถึงชาวประมงกังวลว่า ภายหลังโครงการเติมทรายเสร็จสิ้นก็จะเกิดผลกระทบ คลื่นกัดเซาะชายฝั่งบริเวณแหลมสนอ่อนซึ่งจะทำให้สวนสนได้รับความเสียหาย เพราะจากการดูดทรายพบว่ามีความลึกประมาณกว่า 3 เมตรนายวิเชียร บัวจีน ชาวบ้านตำบลบ่อยาง และเป็นชาวประมง มองว่าการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุด และเกรงว่า เมื่อการดูดทรายบริเวณแหลมสนอ่อนแล้วเสร็จ จะทำให้เกิดร่องลึกบริเวณริมชายฝั่ง ซึ่งจะกระทบกับนักท่องเที่ยวที่เคยมาเล่นน้ำทะเลบริเวณนี้
ซึ่งศูนย์สวัสดิการประชาชนจังหวัดสงขลา เตรียมยื่นเรื่องไปยังกรมเจ้าท่า เพื่อสอบถามถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นภายหลังการเติมทรายบริเวณแหลมสมิหลา-หาดชลาทัศน์ แล้วเสร็จ ว่าบริเวณแหลมสนอ่อนจะมีมาตรการดำเนินการอย่างไรใน การป้องกันอันตรายจากการลงเล่นน้ำ ของนักท่องเที่ยว รวมถึงปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่อาจจะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต
ข่าวน่าสนใจ:
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: