ตำรวจภูธรจังหวัดบุรีรัมย์เปิดโครงการประชารัฐร่วมใจ ต้านภัยยาเสพติด ( ปักกลด ) ตามแนวทางพัฒนาเมืองบุรีรัมย์ให้ เป็นเมืองแห่งสันติสุข โดยขอความร่วมมือ กับหน่วยในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง และเปิดโอกาสให้ประชาชน ชุมชน ภาครัฐ เอกชน ตลอดจนองค์กรต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วม ในการให้ข้อมูลข่าวสาร กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหายาเสพติด อาชญากรรม อุบัติภัย และปัญหาอื่นๆ ในชุมชนร่วมกัน
(26 ม.ค.61) พล.ต.ต.ชัยยุทธ เจียรศิริกุล ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด(ผบก.ภ.จว.) บุรีรัมย์ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการประชารัฐร่วมใจ ต้านภัยยาเสพติด ( ปักกลด ) ตามแนวทางโครงการพัฒนาเมืองบุรีรัมย์ให้ เป็นเมืองแห่งสันติสุข กิจกรรมปรับเปลี่ยนทัศนคติบุคคลที่อาจเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดตามแนวทางประชารัฐ ซึ่งสถานีตำรวจภูธรประโคนชัย จัดขึ้น โดยมีส่วนราชการ ผู้นำชุมชน อสม. นักเรียน จำนวน 200 คน เข้าร่วม ที่วัดบ้านโคกเพชรไสยา ต.สี่เหลี่ยม อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ ทั้งนี้เพื่อแสวงหาความร่วมมือ กับหน่วยในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง และเปิดโอกาสให้ประชาชน ชุมชน ภาครัฐ เอกชน ตลอดจนองค์กรต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วม ในการให้ข้อมูลข่าวสาร กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหายาเสพติด อาชญากรรม อุบัติภัย และปัญหาอื่นๆ ในชุมชนร่วมกัน อีกทั้งให้ประชาชนในหมู่บ้านเป้าหมายมีความรู้ในการป้องกันตนเอง ครอบครัว และชุมชนจากปัญหาอาชญากรรม อุบัติภัย ยาเสพติดให้โทษ และปัญหาอื่น ๆ ในชุมชน โดยประสานความร่วมมือกับชุดปฏิบัติการตำรวจชุมชนสัมพันธ์ในการป้องกันและแก้ปัญหา
นอกจากนี้ยังขยายผลการปฏิบัติและการพัฒนางานชุมชนและมวลชนสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ในระดับพื้นฐาน สังคมมีความสงบสุข และประชาชนในพื้นที่มีความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด พร้อมทั้งเป็นการสร้างความเข้มแข็งและปลูกจิตสำนึกให้กับประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลข่าวสารด้านอาชญากรรม และยาเสพติด รวมทั้งสอดส่องดูแลให้หมู่บ้านชุมชนปลอดภัยจากอาชญากรรมและยาเสพติด
พล.ต.ต.ชัยยุทธ เจียรศิริกุล ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า ปัญหาการแพร่ระบาดยาเสพติดในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ปัจจุบันมีแนวโน้มทวีความรุนแรงและเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ส่งผลกระทบต่อสังคมในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน อันเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตอย่างปกติสุขของประชาชนในสังคม และชุมชน จึงเป็นภาระหน้าที่ของตำรวจ จะต้องควบคุมแก้ไขปัญหาอาชญากรรม ปัญหาการแพร่ระบาดยาเสพติด และปัญหาสังคมทั่วไป ให้อยู่ในภาวะที่ไม่กระทบต่อการดำรงชีวิตตามปกติของประชาชน รวมถึงการสร้างกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชน ภาครัฐ เอกชน ตลอดจนองค์กรต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลข่าวสารกำหนดแนวทางแก้ไขอาชญากรรมและยาเสพติดร่วมกัน
นอกจากนี้ ต้องผนึกกำลังเสริมสร้างพลังศรัทธาแบบบูรณาการกับภาคส่วน สร้างจิตอาสา เพื่อเป็นประโยชน์สุขต่อสังคม และประชาชนในพื้นที่ โดยการปลูกจิตสำนึกป้องปราม ปราบปราม สร้างความเข้มแข็งให้กับประชาชนในพื้นที่ให้ปลอดภัยจากยาเสพติด
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: