กาญจนบุรี – หลังจากที่โรงงานกระดาษไทย ที่ตั้งอยู่ใน อำเภอเมืองกาญจนบุรี มีอายุรวมแล้วรวมทั้งการก่อร่างสร้างตัวมาจนยุติการทำงานมีอายุประมาณ 79 ปี จากการที่ได้ติดตามข่าวหลังปิดของตัวของโรงงานกระดาษไทยแห่งนี้ ยังมีอะไรที่น่าติดตามอีกมาก #ร้อยเรื่องเมืองกาญจน์
วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2481 ได้มีพิธีเปิดโรงงานกระดาษทหารอย่างเป็นทางการ โดยท่านพระยาพหลพลพยุหเสนาผู้รักษาการนายกรัฐมนตรีมาเป็นคนเปิดงาน แต่จากความเป็นจริงโรงงานกระดาษได้เปิดทำการและเดินเครื่องอย่างไม่เป็นทางการ ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2478 มาแล้ว โรงงานกระดาษไทย จึงเป็นโรงงานผลิตกระดาษที่ใหญ่ที่สุดในเวลานั้น โดยให้โรงงานกระดาษทหารไทยเป็นโรงงานผลิตกระดาษเพื่อพิมพ์ธนบัตรแห่งแรกของประเทศไทย โรงงานกระดาษทหารกาญจนบุรี ได้ทำการผลิตกระดาษกระดาษที่ทำจากเยื่อไม้ไผ่มาตลอด ในเวลาต่อมาในภายหลังได้เปลี่ยนชื่อโรงงานกระดาษไทยเฉยๆ
จากการที่โรงงานกระดาษไทยกาญจนบุรี ต้องผลิตกระดาษออกมาเป็นจำนวนมากการทำงานของพนักงาน และเครื่องจักร จึงต้องทำงานและเดินเครื่องตลอด 24 ชั่วโมง พนักงานจึงต้องทุกแบ่งให้ทำงานเป็นช่วงๆที่เราเรียกว่า “ทำงานเป็นกะ” การเข้าทำงานของพนักงานโรงงานว่าตัวเองจะเข้ากะเมื่อไร ทางโรงงงานกระดาษ ก็จะมีสัญญาณเตือนให้พนักงานรู้อยู่เสมอ ด้วยการเปิดสัญญาณที่เราเรียกกันว่า “หวูดโรงงาน” เสียงหวูดนี้จะดังได้ยินไปไกลมากทั้งตลาดบ้านเหนือและบ้านใต้เลยทีเดียว และการเปิดหวูดนี้ก็เพื่อเป็นการเตือนให้พนักงานเตรียมพร้อมที่จะไปทำหน้าที่ของตนเองได้แล้ว
นอกจากเสียงหวูดโรงงานที่เป็นสัญลักษณ์ของโรงงานกระดาษแล้ว ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่คู่กันคือกลิ่นจากการฟอกเยื่อไม้ไผ่ที่ทางโรงงานต้องปล่อยกลิ่นทิ้งออกมา เวลาที่โรงงานปล่อยกลิ่นนี้ออกมา ชาวบ้านก็จะพูดจนติดปากว่า “โรงงานปล่อยตด”ออกมาอีกแล้ว ซึ่งก็แล้วแต่ว่าลมจะพัดไปทางไหน ถ้าพัดไปทางบ้านเหนือ คนบ้านเหนือก็จะสูดดมกลิ่นนี้ไป ถ้าลมพัดไปทางบ้านใต้ คนบ้านใต้ก็รับไปเช่นเดียวกัน
ย้อนกลับมาในบริเวณโรงงานกันบ้าง ที่โรงงานกระดาษสมัยก่อนนั้นจะมีขบวนรถไฟวิ่งเข้าไปถึงโรงงานได้เลยโดยมีทางแยกจากสถานีรถไฟปากแพรก วิ่งผ่านตัวเมืองเข้าสู่โรงงานโดยตรงเลย ขบวนรถไฟที่วิ่งเข้าไปในโรงงานแห่งนี้จะทำหน้าที่ 2 อย่างคือ นำฟืนที่ตัดมาจากไทรโยคเข้ามาโรงงานเพื่อเป็นเชื้อเพลิงในการทำงานของเครื่องจักร ซึ่งบางครั้งฟืนที่นำมามีมากเกินไป ฟืนเหล่านี้ก็จะถูกนำไปกองที่สนามบิน(ปัจจุบันสนามบินแห่งนี้ได้เปลี่ยนเป็นตลาดผาสุกไปแล้ว) และอีกประการหนึ่งคือทำหน้าที่ขนกระดาษที่ผลิตสำเร็จแล้วส่งเข้ากรุงเทพอีกทางหนึ่ง /ภาพ/ข้อมูล/ คุณประพฤต มลิผล (เล็ก บ้านใต้)
หลังจากโรงงานกระดาษไทยได้ปิดตัวลงมาเมื่อหลาย 10 ปีที่ผ่านมา ได้มีกระแสการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับโรงงานกระดาษในหลายกระแส กลายเป็นการบ้านของ”คนเมืองกาญจน์”ที่ต้องช่วยกันคิด
ข่าวน่าสนใจ:
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: