ประจวบคีรีขันธ์ -เปิดตัว Street Arts at HuaHin ย่านชุมชนเก่าแก่ หวังสร้างจุดแวะเช็คอินแห่งใหม่ และจุดถ่ายรูปสุดฮิปกับผลงานศิลปะสะท้อนวิถีชีวิตและเอกลักษณ์ของเมืองหัวหิน #77 ข่าวเด็ดประจวบคีรีขันธ์ (เรื่อง/ภาพ วิมล ทับคง)
วันที่ 13 ธันวาคม 62 ที่ชุมชนสมอเรียง อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายธนนท์ พรรพีภาส นายอำเภอหัวหิน พร้อมด้วย นายนพพร วุฒิกุล นายกเทศมนตรีเมืองหัวหิน ,นายกรกฎ โอภาส ผู้ช่วย ผอ.ททท.สำนักงานประจวบคีรีขันธ์,นางสารพรระวี สีเหลืองสวัสดิ์ ประธาน YEC ประจวบคีรีขันธ์ และ ผศ.ดร.ศิริก้อย ชุตาทวีสวัสดิ์ อาจารย์สาขาวิชามีเดียอาตส์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมกันแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ โครงการ Repainting HuaHin to the new shades : Street Arts at HuaHin โดยมีสมาชิกสภาเทศบาล ตัวแทนชมชนสมอเรียง นักศึกษาจิตอาสา จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สื่อมวลชนตลอดจนผู้เกี่ยวข้องร่วมงาน
ข่าวน่าสนใจ:
โครงการสตรีทอาร์ตหัวหิน เป็นการสร้างสรรค์งานศิลปะลงบนผนังหรือกำแพง ในย่านชุมชนสมอเรียง และชุมชนชายทะเล ซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่ของเมืองหัวหิน มีวิถีชีวิตท้องถิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ อีกทั้งเป็นการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงศิลปะใหม่ๆให้เกิดขึ้นในเมืองหัวหิน โดยสตรีทอาร์ต หรือศิลปะภาพวาดบนกำแพง เป็นที่นิยมและชื่นชอบของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ สตรีทอาร์ทเป็นที่นิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในแต่ละพื้นที่จะมีความแตกต่างกันไป ตามรูปแบบวิถีชีวิต หรือ วัฒนธรรม ประเพณีของชุมชนนั้น จะเป็นการส่งเสริมทำให้เกิดการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ และเป็นแลนด์มาร์กใหม่ของหัวหิน สร้างจุดเช็คอินใหม่ให้นักท่องเที่ยวได้แวะมาเช็คอินที่ Street Arts at HuaHin
สำหรับ สตรีทอาร์ต ถือเป็นเสน่ห์ของเมืองอย่างหนึ่ง มีให้เห็นได้ทั่วโลกไม่มีจะเป็นฝั่งตะวันตก หรือ เอเชีย เป็นการสะท้อนเรื่องราวของเมืองนั้น เป็นการแสดงผงงานที่ศิลปะที่นักท่องเที่ยวไม่ต้องเดินทางไปดูในสตูดิโอ หรือ แกลลอรี่ พบเห็นได้ง่าย สะดวก และไม่ส่งผลการทบต่อชุมชน
ในส่วนของ สตรีทอาร์ตหัวหิน ได้เลือกย่านชุมเก่าแก่ของเมืองหัวหิน คือชุมชนสมอเรียง และชุมชนชายทะเล ดังนั้น สตรีทอาร์ที่นี่จะเป็นแนวลอฟท์ คือให้เห็นผนังปูนเปลือย ไม่เน้นการทาสีปิดทับทั้งหมด โดยรูปที่นำมาวาดลงบนกำแพงจะเน้นเอกลักษณ์ของเมืองหัวหิน เรื่องเล่าพื้นถิ่น เช่น ป้ายสถานีรถไฟ รถสามล้อปั่น วิถีการทำอาชีพประมง นางเงือก รูปวาดคนสู้ปลาฉลาม และ การเล่นว่าวในหน้าร้อนของเด็กๆ โดยจะกระจายวาดตามผนังกำแพงต่างๆในชุมชน ซึ่งในครั้งนี้ มีนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีทุกชั้นปี ซึ่งเป็นจิตอาสามาร่วมวาดภาพทั้งหมดเกือบ 20 คน คาดว่าน่าจะให้เวลาวาดภาพทั้งหมดให้เสร็จสิ้นประมาณ 5 วัน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: