ประจวบคีรีขันธ์ -ดูเหมือนว่าวันช้างไทยในปีนี้ที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ได้พุ่งเป้าให้ความสำคัญ ไปที่การแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่จุดชมสัตว์ป่ากุยบุรี โดยเฉพาะแปลงหญ้าอาหารช้างป่า-กระทิง ที่มีถึง 2,000 ไร่แต่ต้องประสบภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วงนาน 3 เดือน กระทบต่อทั้งช้าง-กระทิง กว่า 300 ตัว จึงต้องขอความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆในพื้นที่อำเภอกุยบุรี ระดมรดน้ำ 5 คันมาฉีดพ่นน้ำลงในแปลงหญ้า เพื่อสร้างความชุ่มชื้นหวังให้แปลงหญ้าพลิกฟื้นความเขียวขจีขึ้นมาอีกครั้ง รวมทั้งการเติมน้ำในกระทะน้ำตามจุดต่างที่แห้งให้สัตว์ป่าได้ใช้ดื่มกิน
ข่าวน่าสนใจ:
- กกต.ตรัง พร้อมเปิดสนาม จัดเลือกตั้งอบจ. เปิดยิม 4,000 ที่นั่งรับสมัคร พื้นที่กว้างขวางรองรับกองเชียร์ผอ.กกต.ตรัง เผยการข่าวพบ 3…
- ตรัง สถาบันพระบรมราชชนกเตรียมผลิต 9 หมอรุ่นใหม่ นวัตกรรมสุขภาพไทยสู่ระดับโลก
- เปิดพร่องระบายน้ำเพื่อเร่งไหลลงทะเล รับมืออีกระลอก
- ตรัง ชาวบ้านสืบสานอนุรักษ์การปลูกข้าวไร่ไว้กินเองครอบครัวเหลือขาย
วันที่ 13 มีนาคม 2563 ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ทางเข้าจุดชมสัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ต.หาดขาม อ.กุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายสินาทร โอ่เอี่ยม นายอำเภอกุยบุรี พร้อมด้วย นายรักษ์พงษ์ บุญย่อย หัวหน้าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี เปิดโครงการ”ประชาร่วมใจ สร้างแหล่งอาหารให้สัตว์ป่า วันช้างไทย ประจำปี 2563” โดยมีเจ้าหน้าที่อุทยาน ทหาร ตำรวจ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์ช้างป่าและสัตว์ป่ากุยบุรี ชมรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สัตว์ป่ากุบุรี และภาคเอกชน เข้าร่วมกิจกรรม “วันช้างไทย” ในปีนี้เป็นจำนวนมาก
นายอำเภอกุยบุรี กล่าวว่าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ถือเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญเนื่องจากในอดีตเป็นพื้นที่มีความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง โดยต่อมาหน่วยงานต่างๆได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาให้ทั้งช้างและคนอยู่ร่วมกัน และก่อให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ชมสัตว์ป่าตามมา ชาวบ้านในพื้นที่มีรายได้ปัญหาช้างกับคนลดลง ป่าเริ่มกลับมามีความอุดมสมบูรณ์ ทำให้ปัจจุบันมีช้างป่า และกระทิง กว่า 400 ตัวรวมทั้งสัตว์ป่าชนิดอื่นๆ จนต่อมากลายเป็นกุยบุรีโมเดล และถูกขนานนามว่า กุยบุรีซาฟารีเมืองไทย
สิ่งสำคัญพื้นที่แห่งนี้ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำรัส เมื่อวันที่ 5 กรกฏาคม 2542 ต่อการจัดการความขัดแย้งคนกับช้างป่าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ในการแก้ไขปัญหาระหว่าคนกับช้าง “ช้างป่าควรอยู่ในป่าเพียงแต่ต้องทำให้ป่านั้นมีอาหารช้างเพียงพอการปฏิบัติคือ ให้ไปสร้างอาหารช้างในป่าเป็นแปลงเล็กๆ กระจาย กรณีช้างป่าออกมาที่ชายป่าต้องให้ความปลอดภัยกับช้างป่า”
นายรักษ์พงษ์ บุญย่อย หัวหน้าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี กล่าวว่าที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2541 เห็นชอบให้วันที่ 13 มีนาคม ของทุกปีเป็นวันช้างไทย เพื่อให้คนไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญ และการดำรงอยู่ของช้างไทย ที่เคยมีบุญคุณต่อประเทศชาติ เป็นยานพาหนะของพระมหากษัตริย์ในการป้องกันปกป้องประเทศชาติ อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จึงร่วมกับ อำเภอกุยบุรี จัดโครงการ”ประชาร่วมใจ สร้างแหล่งอาหารให้สัตว์ป่า” รวมทั้งการระดมรดบรรทุกน้ำจากทั้งของอุทยาน ชลประทาน ป้องกันบรรเทาสาธารณภัย เทศบาล อบต. ชลประทาน จำนวน 5 คัน มาดำเนินการเติมน้ำในกระทะน้ำ และฉีดพ่นน้ำในแปลงหญ้าอาหารสัตว์ป่า ที่กระจายตามจุดต่างๆจำนวน2,000 ไร่ที่ประสบปัญหาฝนทิ้งช่วงมานานเกือบ 3 เดือนเต็ม ส่งผลให้แปลงหญ้าพืชอาหารช้าง กระทิง แห้งจนกลายเป็นสีน้ำตาลในปัจจุบัน
โดยการฉีดพ่นน้ำก็เพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้กับแปลงหญ้า ให้กลับฟื้นขึ้นมาแตกใบอ่อนมาเป็นสีเขียวให้กับสัตว์ได้ใช้กิน รวมทั้งน้ำในกระทะ ซึ่งจากความแห้งแล้งทำให้กระทะน้ำ 43 ใบ บางส่วนไม่มีน้ำเนื่องจากแหล่งน้ำในพื้นที่โดยเฉพาะลำห้วยได้แห้งขอด ดังนั้นจึงต้องหมุนเวียนนำน้ำมาเติมให้กับสัตว์ป่าในวันนี้ไปกว่า 1 แสน 5 หมื่นลิตร นอกจากนั้นยังมีการใช้รถไถมาทำแนวป้องกันไฟป่าบริเวณโดยรอบของแปลงหญ้ากับแนวป่า เนื่องจากพื้นที่มีสภาพแห้งแล้ง เพราะหากเกิดไฟป่าจะส่งผลกระทบกับป่าและสัตว์ป่า
นอกจากนั้นกิจกรรมวันช้างไทย ในปีนี้ยังมีการจัดพิธีทางสงฆ์ทำบุญให้กับช้างป่า กระทิง และสัตว์ป่าที่เสียชีวิต และเพื่อความเป็นสิริมงคลกับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ตลอดจนประชาชน รวมทั้งการไถปั่นและกำจัดวัชพืชต่างๆในแปลงหญ้า การทำความสะอาดกระทะน้ำ และการเพิ่มเติมแร่ธาตุเสริมโป่งเทียม เพื่อให้สัตว์ป่าได้กินเพื่อจะได้มีสุภาพแข็งแรง
# 77 ข่าวเด็ดประจวบคีรีขันธ์ (วิมล ทับคง รายงาน)
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: