ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยและการจัดการป่าไม้ กรมป่าไม้ และเจ้าหน้าที่จากสถานีวนวัฒนวิจัยประจวบคีรีขันธ์ นำรากต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ผ่านการตกแต่งกิ่งและรากทำความสะอาด และนำไปอนุบาลในล่อซีเมนต์ควบคุมแสง อุณหภูมิ ความชื้น หวังให้แตกตาใหม่ จำนำไปสู่การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อนำไปสู่การขยายพันธุ์ให้เกิดเป็นต้นใหม่ต่อไป คาดต้องอาศัยระยะเวลา
วันที่ 31 สิงหาคม 2561 ค นายคงศักดิ์ มีแก้ว รักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยและการจัดการป่าไม้ กรมป่าไม้, นางชนิษฐา จันทโชติ หัวหน้าสถานีวนวัฒนวิจัยประจวบคีรีขันธ์ พร้อมเจ้าหน้าที่จากสถานีวนวัฒนวิจัยประจวบคีรีขันธ์, นายนิทัศน์ จันทร์ทอง ผอ.ส่วนทรัพยากรธรรมชาติ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์, นายไพฑรูย์ อรุณเนตร เจ้าพนักงานป่าไม้ชำนาญการ ภายหลังจากเจ้าหน้าที่ อส.และนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคประจวบคีรีขันธ์ ได้ช่วยกันเคลื่อนย้ายตอต้นพระศรีมหาโพธิ์ลงจากยอดเขาช่องกระจก ได้นำมาที่สถานีวนวัฒนวิจัยประจวบคีรีขันธ์ บริเวณหน้าศูนย์การเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ถนนสวนสน–อ่าวน้อย อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ เพื่อทำการฟื้นฟู โดยเจ้าหน้าที่ได้ใช้น้ำฉีดทำความสะอาด และการตัดกิ่ง และราก ส่วนที่ตายแล้วออกให้หมด เพื่อไม่ให้เหลือชิ้นส่วนที่อาจปนเปื้อนด้วยเชื้อรา ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ต้นโพธิ์ตาย รวมทั้งตัดส่วนที่ตายแล้วออกไปส่วนหนึ่ง จากนั้นจึงฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อราอีกครั้ง พร้อมทั้งฉีดฮอร์โมนบำรุง เพื่อเร่งให้ส่วนที่เป็นรากได้แตกตา
โดยเจ้าหน้าที่ได้นำรากต้นโพธิ์ใส่ในบ่อซีเมนต์ระดับความสูงสองปลอก ด้วยการวางรากแบบตะแครงกับดินที่ผ่านการนึ่งด้วยความร้อน เพื่อฆ่าเชื้อผสมกับทรายละเอียด เนื่องจากชิ้นส่วนรากพบว่ายังมีเนื้อเยื่อยังมีชีวิตอยู่ เนื่องจากพบมียางสีขาวออกมา ถือเป็นความหวังที่ทางเจ้าหน้าที่จะดูแลรักษา ให้แตกตาใหม่ได้ หลังจากนั้นจึงจะนำตาใหม่ไปขยายพันธ์ หรือใช้วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและนำมาปักชำเพื่อให้เกิดต้นใหม่ ซึ่งก็จะเป็นตัวแทนของต้นพระศรีมหาโพธิ์ต่อไป ส่วนตอไม้ด้านบนที่เป็นขนาดใหญ่นั้น เนื่องจากแห้งจึงไม่มีเซลล์มีชีวิตจึงดำเนินการตัดออก
นอกจากเนื้อของตอไม้ชิ้นใหญ่แล้ว ยังได้นำส่วนของรากแบ่งเป็น 4 ชิ้นย่อย เพาะชำในกระถางต้นไม้จำนวน 4 กระถาง ด้วยกรรมวิธีเดียวกันกับชิ้นใหญ่ โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างทำโรงเรือนเพื่อครอบบ่อซีเมนต์ เพื่อเป็นป้องการความร้อน โดยต้องลดแสงให้เหลือเพียง 50 เปอร์เซ็นต์รวมถึงการควบคุมอุณหภูมิ และความชื้นให้มีความเหมาะสม เพื่อโอกาสในการแตกตาใหม่ และคงต้องรอความสำเร็จที่จะเกิดขึ้น
หลังจากนั้นนายคงศักดิ์ มีแก้ว รักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยและการจัดการป่าไม้ และเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ปฏิบัติหน้าที่ในครั้งนี้ ได้จุดธูป และกล่าขอขมาพร้อมอธิษฐานขอให้มีตาใหม่เกิดขึ้น พร้อมทั้งนำมาลัยดาวเรืองไปคล้องที่บริเวณตอต้นพระศรีมหาโพธิ์
ข่าว/ภาพ วิมล ทับคง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ 0 / 5. จำนวนโหวต: 0