X

สตรี44หมู่บ้านอำเภอปราณบุรี เรียนรู้ผูกผ้างานพิธีต่างๆหวังสร้างรายได้

 

ช่องทางสร้างรายได้…กลุ่มสตรีอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เข้ารับการอบรมการผูกผ้าเพื่อใช้ในการประดับในพิธีต่างๆนำไปประกอบอาชีพ การช่วยเหลือ ชุมชน วัด พิธีต่างๆ เพื่อความสามัคคีในชุมชนตนเอง  การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม หรือเป็นช่องทางสร้างรายได้ให้ครอบครัวอีกทาง

ที่หอประชุมอำเภอปราณบุรี จังประจวบคีรีขันธ์ กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี อำเภอปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ จัดโครงการส่งเสริมอาชีพการผูกผ้าประดับในพิธีต่างๆให้กับกลุ่มสตรีอำเภอปราณบุรี

เนื่องจากในปัจจุบันสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนในเขตเทศบาล ตำบล หมู่บ้าน มีประเพณีและงานพิธีต่างๆ มากมาย เช่น งานพระราชทานเพลิงศพ งานสวดพระอภิธรรม งานฌาปนกิจศพ งานอุปสมบท งานมงคลสมรส งานขึ้นบ้านใหม่ งานเฉลิมฉลอง งานสืบสานประเพณี งานรัฐพิธี ภาคเอกชน ที่จำเป็นต้องมีการเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สิ่งของที่จำเป็นในการประกอบกิจกรรม การจัดสถานที่ โต๊ะ เต็นท์ เก้าอี้ การตกแต่งประดับประดา ตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่พิธีกรในงานพิธีการต่าง ๆ

ซึ่งวันนี้มีกลุ่มสตรีในอำเภอปราณบุรีจาก 44 หมู่บ้าน และจากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจำนวน 4 แห่ง ส่งสมาชิกเข้ารับการอบรมการผูกผ้าจำนวน 100 คน โดยมีนางสมพร นุษพรรณ์ วิทยากรพร้อมครอบครัว ผู้ที่มีชำนาญการผูกผ้าและการจีบผ้าในอำเภอปราณบุรีมาเป็นผู้วิทยากรฝึกสอน ใช้เวลาอบรมทั้งหมด 3 วัน

นางสมพร  นุษพรรณ์ วิทยากร กล่าวว่า วันนี้ได้มาอบรมการผูกผ้าประดับตกแต่งในพิธีต่างๆให้กับกลุ่มสตรีของอำเภอปราณบุรี สำหรับใช้ในงานพิธีต่างๆในหมู่บ้าน วัด โรงเรียน โดยไม่ต้องไปจ้างใคร เพื่อเป็นการฝึกอาชีพและใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ ทำให้มีรายได้ให้กับครอบครัวและชุมชน ซึ่งวันนี้เป็นการถ่ายทอดกันแบบตัวต่อตัว สอนเทคนิคการผูกผ้าทุกอย่างให้กับผู้เข้าอบรมเพราะมันมีเทคนิคในเรื่องการผูกผ้าอยู่ๆจะผูกได้มันก้อไม่ใช่ มีเทคนิคสอดแทรกเข้าไปให้ แต่ถ้าหากไปหาเทคนิคเองมันก้อเกิดเวลานานที่จะเรียนรู้ การผูกผ้ามีเป็น 100 แบบ มันอยู่ที่จินตนาการของแต่ละคนว่าจะไปแบบไหน แบบ 2 สี 3 สี 5 กลีบ 7 กลีบ 10 กลีบ ดอกเล็ก ดอกใหญ่ จินตนาการ การออกแบบของคนทำ ประเภทงาน งานมงคล งานศพ งานแต่ง งานบวช งานวัด งานโรงเรียน งานราชพิธีต่าง ๆ

การผูกผ้ามีการถ่ายทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณเริ่มต้นจาก พระภิกษุสงฆ์ มาถ่ายทอดให้แก่ชาวบ้าน และชาวบ้านได้สืบสานต่อมา ก้อจะมีการทำเป็นดอกต่าง ๆ สเกิร์ต ทำโต๊ะ กาลาดินเนอร์ โต๊ะแสดงแสดงสินค้า เพราะว่ามีหลายแบบ อุปกรณ์ก็มีผ้าเป็นสิ่งสำคัญ ลวด ครีม กรรไกร เข็มหมุด ในการทำงานผูกผ้า

สำหรับวันนี้ผู้เข้าอบรมสนใจดี มีการตื่นตัวในการฝึกทำ ไม่อิดออด ไม่งอแง เพราะว่าทุกคนก้ออยากเรียนรู้ อย่างจริงใจ มองดูแล้วว่าไม่มีใครโดนบังคับมา มาด้วยความเต็มใจ เรียนรู้จริง ๆ ผลงานดูแล้วก้อถือว่า ได้ผล ดอกแรกเค้าก้อทำสวย บางคนก้อมีทักษะมาบ้างแล้ว

พอมาเรียนรู้เทคนิคก้อง่ายขึ้น แต่ถ้าหากเราไปเรียนรู้เองมันยากมากกว่าจะจับกลีบดอก จับท้องช้าง ให้มันสวยได้มันมีเทคนิคหลายอย่างที่เราจะต้องเรียนรู้ แต่วันนี้เราถ่ายทอดหมดเลยแล้วก้อดูในการทำว่าอันนี้ถูกอันนี้ผิด ให้เค้าแก้ไขได้งานผูกผ้าจะมีหลายงาน งานบวช งานแต่ง งานวัด งานโรงเรียน งานศพ งานพิธีต่างๆที่สำคัญๆ ได้หมด ค่าใช้จ่าย ถ้าเราทำเป็น เป็นม้วน ๆละ 700 บาท ผ้าของเรา ค่าแรง แล้วแต่ว่าเจ้าภาพใช้ดอกใหญ่ผ้า 1 ม้วน ก้อจะได้น้อย ถ้าทำดอกเล็ก 1 ม้วนก้อจะได้เยอะ อัตราค่าจ้างก้อมีตั้งแต่ 400 บาทขึ้นไปจนถึงหลักหมื่น แล้วแต่งานมากน้อย ว่างานนี้ผูกโต๊ะ ผูกเต้นท์ ผูกดอกเวทีอะไร งานเยอะ ๆ ก้อต้องบริหารเวลาให้ทันเพราะว่า เรารับงานมาเราต้องรับผิดชอบ ที่รับจ้างผูกผ้าตอนนี้ก้อเหลือ ป้าคนเดียว ส่วนที่วัดมีหลายวัด เช่น วัดเขาเขียว วัดหนองตาแต้ม วัดเขาน้อยยังมีเยอะ

อยากจะให้เรียนรู้ไว้ ว่านับวันจะไม่มีการถ่ายทอดอีกแล้ว รู้สึกว่าถ้าไม่มีป้า ก้อจะไม่มีใคร อย่างเมื่อก่อนพี่แขก แกก้อสอน แต่พออายุมาแกก้อปลดระวาง จะมีพี่บูรณ์ เขาไม่ได้ออกงานอายุมากแล้ว ก้อเหลือแต่ป้าที่ออกงานอยู่ อยากให้เค้ามาเรียนรู้ การผูกผ้าเป็นอาชีพที่ดี เงินดี งาน ๆ หนึ่ง 4,000 – 5,000 บาท อย่างงานเวที 5,000 บาท อยู่ได้ถ้าทำคนเดียวได้มันสะดวก แต่อย่างน้อย 1 ทีม ต้องมี 3 คน จับดอก 1 คน ส่งผ้า 1 คน

จัดฝึกอบรม 3 วันจะสอนการ จับเวที แต่งป้าย เต็นท์ จับดอกแล้วแต่สามารถประยุกต์ไปใช้ได้หลาย ๆอย่าง ขอให้ฝึกซ้ำๆ หาความชำนาญอีกอย่างหนึ่ง ยังบอกผู้เข้าอบรมว่า ขอให้มีจิตอาสาก่อน ครั้งแรก อาสาทำให้วัด โรงเรียน หมู่บ้าน ทำได้เลยเพื่อฝึกทักษะ พัฒนาตนเองให้ก่อเกิดความชำนาญและเก่งขึ้น อย่าพึ่งคิดเป็นตัวเงินเพราะว่าการทำอาชีพนี้ ถ้าคิดเป็นเงินแล้วจะไม่ประสพความสำเร็จ เพราะใครจะมาจ้างเค้าถือเป็นความฟุ่มเฟือยใครเค้าจะจ้าง แต่เราต้องไปอาสาทำให้เกิดทักษะเมื่อเราทำสวยเดี๋ยวคนก้อมาจ้างเราเอง

น.ส.อำไพ  ชาวแพรกน้อย สตรีบ้านหนองตาแต้ม กล่าวว่า อาชีพทำเกษตรและค้าขายเล็ก ๆ น้อย ๆ  มาอบรมการผูกผ้าได้ความรู้ สามารถเอาไปประกอบอาชีพได้  มาครั้งแรกไม่ยากพึ่งทำครั้งแรกก้อดีใจ สวย เรียนไม่ยุ่งยาก ลงทุนมันก้อลงทุนเยอะ คือ ถ้าเราได้มาฝึกพอได้ทำเราก้อสามารถไปลงทุนได้ค่ะ แต่ถ้าทำได้เราก้อทำเป็นอาชีพได้ต่อไป

น.ส.จิตติมา วงศ์สมัคร นักประชาสัมพันธ์ ปฎิบัติการ อบต.วังก์พง กล่าวว่ามาจาก อบต. วังก์พง นายก อบต.ส่งให้มาเรียนรู้เพื่อจะไปจัดกิจกรรมที่ อบต.หรือ มีงานใหญ่ในหมู่บ้าน รู้สึกชอบ อาจารย์สอนอย่างใกล้ชิดแล้วก้อเป็นงานที่ตอนแรกเหมือนยากแต่ถ้าเราทำความเข้าใจกับผ้า หรือเรียนรู้เทคนิคบ้างก้อจะเกิดความเข้าใจมากขึ้นค่ะ ไม่ยาก คือ ประโยชน์ เราจะรู้หลักและวิธี เทคนิคต่าง ๆ จากอาจารย์ที่จะมาสอนเรา จากที่เราสงสัยว่า จะต้องบิดผ้าอย่างไง หรือเรียงผ้าอย่างไง คือมีประโยชน์กับหน่วยงานต่อไปแน่นอนเพราะว่าหน่วยงานของราชการคือ จะให้พนักงานสามารถผูกผ้าได้ โครงการนี้ดีมาก แล้วก้อน่าจะมีต่อไป คนรุ่นต่อไปจะต้องมาทำต่อค่ะ สอนต่อให้กับชาวบ้าน หรือชาวบ้านจะมาเรียนรู้ก้อได้

ร.ต.หญิงวรรณภา ชาตรีทัพ ผู้เข้าอบรม กล่าวว่า ตนเป็นข้าราชการทหารเกษียณ พอดีกลุ่มสตรีเค้าหาคนที่มีเวลาว่างให้มาฝึกอบรมผูกผ้าก้อเกิดความสนใจ วันนี้มาอบรมได้รับการสอนเข้าใจง่าย ถ้าไม่คิดทำเป็นอาชีพเราสามารถไปทำบุญได้ ทำที่วัด โรงพยาบาล โรงเรียน เขาขอความร่วมมือเรายินดี ครั้งนี้เป็นแรกๆในชีวิต ที่ทำงานฝีมือภูมิใจมาก ตอนแรกคิดว่าก้อคงทำไม่ได้ แต่พอมาแล้วก้อไม่ใช่อย่างที่คิดเพราเราชอบก้อจะทำได้ ขั้นตอนการทำทั้งคุณแม่แล้วคุณลูกเค้าสอนเป็นกันเองดี เข้าใจง่ายดี เป็นอาชีพเสริมได้ ช่วยหน่วยงานราชการก้อได้ แต่ชอบช่วยงานสังคม อยากฝากบอกว่าถ้ามีการอบรมก็อยากให้มาเรียนได้เลย เพราะมันเป็นอาชีพได้ สำหรับคนที่อายุก้อทำได้เพราะมีหลายอย่าง ทำโต๊ะ ทำเป็นสำนักงานก้อได้

เรื่อง/ภาพ  สมบัติ ลิมปจีระวงษ์

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน