“วราวุธ รมว.ทส.”ลงพื้นที่พระราชนิเวศน์มฤคทายวันติดตามแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝั่ง
วันที่ 7กรกฎาคม 2563 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.)พร้อมด้วยนายยุทธพล อังกินันทน์ ที่ปรึกษา รมว.ทส. นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายโสภณทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และนายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรีพร้อมผู้บริหารระดับสูงของทส.จำนวนมากลงพื้นที่บริเวณพระราชนิเวศน์มฤคทายวันเพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง
ข่าวน่าสนใจ:
- กระบะซิ่งหนีสายตรวจ แหกโค้งพุ่งลงคูน้ำดับ ยกคัน 7 ศพ พบเป็นแรงงานต่างด้าว หลายราย
- ขอนแก่นจัดงานแถลงข่าว เทศกาลสุดออนซอนแห่งปี! “PlaraMorlum” Isan to the World ระหว่างวันที่ 26-29 ธันวาคม 2567 ณ ขอนแก่น อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์
- บุกพิสูจน์ หลังชาวบ้าน พบเสือ หนุ่ม 27 ถ่ายคลิปเสือขณะกรีดยาง
- หนุ่มควบจยย อัดเหล็กกั้นโค้งร่างกระเด็นถูกเหล็กกั้นโค้งบาดไส้ไหล
ซึ่งปัจจุบันมีโครงสร้างในการแก้ไขปัญหาซึ่งจัดสร้างไว้โดยหน่วยงานส่วนราชการ ประกอบไปด้วยเขื่อนกันคลื่น เขื่อนป้องกันคลื่นนอกชายฝั่ง รอดักทราย และกำแพงป้องกันคลื่น ซึ่งสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจากโครงสร้างดังกล่าวทำให้ส่งผลต่อทัศนียภาพด้านหน้าพระราชนิเวศน์ฯ และยังส่งผลให้เกิดการกัดเซาะต่อพื้นที่ข้างเคียงนอกจากนี้เขื่อนกันคลื่นบริเวณปากคลองบังตราน้อยและคลองบังตราใหญ่ทำให้เกิดการรุกล้ำของน้ำเค็ม จนเริ่มส่งผลกระทบต่อโครงสร้างของโบราณสถานซึ่งเป็นสมบัติของชาติอันมีค่ายิ่ง
โดยผลจากการลงพื้นที่ในครั้งนี้ ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา และทีมนักวิชาการได้เสนอแนวทางออกในการแก้ปัญหา โดยระยะแรกอาจต้องปรับปรุงโครงสร้างประเภทรอดักทรายเพื่อปรับทัศนียภาพให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงทางประว้ติศาสตร์แต่อาจต้องใช้ระยะเวลาในการปรับปรุงอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อสังเกตุการเปลี่ยนแปลง
ส่วนการแก้ไขปัญหาน้ำทะเลรุกล้ำ เบื้องต้นอาจจะมีการกั้นน้ำในบางช่วง แต่ทั้งนี้แนวคิดดังกล่าวต้องนำเข้าหารือในที่ประชุมคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาพื้นที่พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแนวทางก่อนจะดำเนินการต่อไป หลังจากรับฟังปัญหาและแนวทางแก้ไขจากดร.อานนท์และนายศักดิ์อนันต์ ปลาทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรชายฝั่ง แล้ว
นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทส.กล่าวว่าในฐานะที่มีหน้าที่ดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชาติตนเองไม่ได้นิ่งนอนใจในประเด็นปัญหาดังกล่าว วันนี้จึงนำทีมผู้บริหารทส.มารับฟังและร่วมพิจารณาแนวทางแก้ไขซึ่งขณะนี้เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่าโครงสร้างที่ดำเนินการไว้โดยส่วนราชการอื่นตั้งแต่ก่อนมีการก่อตั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ก่อให้เกิดปัญหาการกัดเซาะและผลกระทบต่อเนื่องด้านอื่นๆซึ่งตนเองได้มอบให้นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เร่งรัดการแก้ไขปัญหานี้โดยการปรับปรุงพื้นที่หน้าหาดของพระราชนิเวศน์มฤคทายวันให้มีรูปแบบและแนวทางที่ชัดเจนผ่านคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาพื้นที่พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ คณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากหลายส่วนมาร่วมพิจารณาโดยเร็ว ต่อไป
ด้านนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวในกรณีนี้ว่า ได้สั่งการให้กรมทช.พิจารณาแนวทางแก้ไขว่ามีอะไรที่จะต้องเร่งดำเนินการโดยด่วนก็ให้เร่งดำเนินการแต่โครงสร้างใหญ่ๆเช่น jetty ที่มีขนาดใหญ่และงบประมาณที่สร้างไว้มีมูลค่าสูงจะต้องทำการศึกษาว่าหากทำการแก้ไขปรับปรุงแล้วจะก่อให้เกิดปัญหาใหม่ๆอะไรตามมาอีกหรือไม่อีกทั้ง การแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศที่ปัจจุบันมีหลายหน่วยงานดำเนินการซึ่งเป็นไปในลักษณะต่างคนต่างทำนั้น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแสดล้อม กำลังเร่งรัดบูรณาการแก้ไข้ปัญหา โดยจะนำมติของคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ ซี่งมีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ซึ่งได้มีมติเห็นชอบในคราวการประชุมเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม2563 ว่าต่อไปนี้การดำเนินการป้องและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศ ที่ดำเนินการโดยหน่วยงานต่างๆ นั้น จะต้องนำแผนงานรูปแบบตลอดจนวิธีการเข้าสู่การพิจารณาของคณะอนุกรรมการกัดเซาะชายฝั่ง ก่อนที่จะเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณต่อสำนักงบประมาณต่อไป ซึ่งคาดว่าจะสามารถบูรณาการการทำงานได้เป็นรูปธรรม และไม่เกิดความซ้ำซ้อนได้เป็นอย่างดี ปลัดทส.กล่าวให้ความมั่นใจ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: