คณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจ การปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริหารราชการรูปแบบพิเศษ จัดการสัมมนา “ทิศทางการปฏิรูปการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นไทย” เพื่อรับฟังความคิดเห็นจาก ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้นำในระดับท้องถิ่น ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
วันนี้(วันที่ 29 สิงหาคม 2563) ที่โรงแรมหัวหินแกรนด์ แอนด์พลาซ่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายซูการ์โน มะทา ประธานคณะกรรมาธิการ การกระจายอำนาจ การปกครองท้องถิ่นและการบริหารราชการรูปแบบพิเศษ เป็นประธานเปิดการสัมมนา เรื่อง “ทิศทางการปฏิรูปการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นไทย” โดยมี นายพรเทพ วิสุทธิ์วัฒนศักดิ์ โฆษกคณะกรรมาธิการฯ และ ส.ส.ประจวบคีรีขันธ์ กล่าวรายงาน ร่วมด้วย นายสุทิน คลังแสง ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน และ สส.มหาสารคาม นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล รองประธานคณะอนุกรรมมาธิการฝ่ายค้าน ผู้บริหารท้องถิ่น,สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้นำในระดับท้องถิ่น และประชาชนทั่วไป เข้าร่วมจำนวน 400 คน
ข่าวน่าสนใจ:
นายพรเทพ วิสุทธิ์วัฒนศักดิ์ โฆษกคณะกรรมาธิการฯ กล่าวว่า การจัดสัมมนาครั้งนี้เป็นการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งนำผลการรับฟังความคิดเห็นมาประกอบการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการ เพื่อเสนอแนวทางปฏิรูปการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการนำเสนอปัญหาสู่ คณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่น และการปริหารราชการ รูปแบบพิเศษ และทำความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจ การปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริหารราชการรูปแบบพิเศษของสภาผู้แทนราษฎร
ด้านนายซูการ์โน มะทา ประธานคณะกรรมาธิการฯ กล่าวว่า การปกครองของไทยเรายังกระจายอำนาจไม่ 100 % เหมือนกับประเทศเพื่อนบ้านอย่าง มาเลเซีย อินโดนีเซีย เพราะของเขานั้นมีการเลือกตั้งกันในแต่ละเขตภูมิภาค โดยเฉพาะผู้ว่าราชการจังหวัด ของไทยเราก็จะมีแค่เพียง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยาเท่านั้น เมื่อปี 2557 มีการทำรัฐประหารยึดอำนาจโดย คสช. จากนั้น นายกรัฐมนตรี คสช.ได้ใช้อำนาจมาตรา 44 กับนักการเมืองอย่าง กทม.อบจ.เทศบาล และ อบต.หลายแห่งให้นายกฯ หยุดการปฎิบัติหน้าที่ รวม 294 คน ส่งผลกระทบต่อการเมืองการปกครองในระดับของท้องถิ่น และขณะนี้คนที่ถูกปลด ถูกหยุดทางการเมืองก็ไม่รู้ว่าจะลงเลือกตั้งได้หรือไม่
ขณะนี้คณะกรรมาธิการ การกระจายอำนาจ การปกครองท้องถิ่นและการบริหารราชการรูปแบบพิเศษ ได้ยกร่างกฎหมายเกี่ยวกับการกระจายอำนาจโดยการบริหารแบบให้จังหวัดจัดการตนเอง ท้องถิ่นจะเข้ามาบริการตนเองเป็นหลัก ซึ่งจะต้องมีการศึกษาข้อมูล ปัญหาอย่างละเอียด ซึ่งจะเข้าไปสอดคล้องกับนโยบายการจัดตั้งกระทรวงท้องถิ่น ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้าน ทั้งด้านความมั่นคง และการจัดการสาธารณูปโภคต่างๆ การจัดการปัญหาที่เกิดขึ้น จะต้องให้ความสำคัญ และต้องศึกษาความพร้อมของจังหวัดต่างๆ ซึ่งตอนนี้มองว่าจังหวัดที่มีความพร้อมในการเป็นจังหวัดนำร่อง จะได้แก่จังหวัดเชียงใหม่ กำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อนำเสนอรัฐบาล
สำหรับตนเองมองว่า หัวหิน มีความพร้อมในการที่จะเป็นเมืองพิเศษ แต่ผู้บริหารท้องถิ่นจะต้องให้ความสำคัญร่วมกันผลักดัน หากมองตามหลักเกณฑ์เบื้องต้น เช่น ขนาดพื้นที่ จำนวนประชากร รายได้การจัดเก็บเงินภาษี หัวหินน่าจะเข้าเกณฑ์อยู่แล้ว เพียงแต่จะเป็นเมืองพิเศษ ผู้บริหารจะเป็นหลักสำคัญในการผลักดัน การเป็นเมืองพิเศษ จะส่งผลดีในเรื่องของการบริการจัดการด้านงบประมาณและการบริหาร ที่จะขึ้นตรงกับกระทรวงมหาดไทย ส่วนข้อกังวลใจว่าการยกระดับเป็นเมืองพิเศษจะก่อให้เกิดปัญหาตามมาหรือไม่เป็นเรื่องที่แต่ละท้องถิ่นต้องบริหารจัดการ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: