X

ชาวโคนมประจวบ ฯ – เพชรบุรีเคว้ง น้ำนมดิบล้นตลาด เหตุปิดโรงเรียนเซ่นพิษโควิด-19

กลุ่มสหกรณ์โคนมในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และเพชรบุรี กำลังเดือดร้อนอย่างหนัก จากมาตรการประกาศปิดสถานศึกษา เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้น้ำนมดิบที่นำไปผลิตนมโรงเรียนแบบพาสเจอร์ไรส์เกิดล้นตลาด เดือนนี้ต้องเทน้ำนมดิบทิ้งไปแล้วกว่า 300 ตัน เรียกร้องให้ อสค.เข้ามาช่วยเหลือรับซื้อนมที่เป็นปัญหาวัน 60 ตัน แต่การเจรจารอบแรกยังไม่ได้ข้อยุติ ประกาศเดินหน้า เทน้ำนมดิบที่เป็นปัญหาทิ้งหน้า อสค. พร้อมเรียกร้องการแก้ไขปัญหาจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ

วันนี้ (วันที่ 6 มกราคม 64) นายนนทะชัย  โนนพุทธา ผู้จัดการชุมนุมสหกรณ์โคนมภาคใต้-และภาคตะวันตก พร้อมด้วย นายสังวาล โพธิ์มี  ประธานสหกรณ์โคนมไทยเดนมาร์ค บ้านเนินดินแดง จำกัด  ,ตลอดจนผู้แทนจากสหกรณ์โคนมไทยเดนมาร์ค ในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดเพชรบุรีจำนวนทั้งสิ้น  6 สหกรณ์โคนม ได้รวมตัวเดินทางมาปักหลักตั้งเต้น์เพื่อยื่นข้อเรียกร้องการแก้ปัญหาน้ำนมดิบ พร้อมทั้งยังได้ร่วมกันแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ด้วยการเทน้ำนมดิบทิ้ง ที่ สำนักงาน อ.ส.ค.ภาคใต้ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์

โดยก่อนหน้านี้เกือบหนึ่งเดือนสหกรณ์โคนมในพื้นที่ประจวบคีรีขันธ์ และเพชรบุรีได้เทน้ำนมดิบไปแล้วว่า 300 ตัน เนื่องจากต้องรับซื้อน้ำนมดิบจากสมาชิกเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมเข้ามาเพื่อผลิตเป็นนมโรงเรียนชนิดพาสเจอร์ไรส์ หรือ นมถุง ส่งให้โรงเรียนในหลายจังหวัดภาคกลางตอนล่างและภาคไต้บางส่วน แต่เมื่อรัฐบาลประกาศปิดสถานศึกษาใน 28 จังหวัด อย่างน้อย 1 เดือน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้น้ำนมดิบล้นตลาด สหกรณ์โคนมที่ยังจำเป็นต้องรับซื้อน้ำนมดิบจากสมาชิกเกษตรกรไม่สามารถระบายน้ำนมดิบได้ตามแผน ทำให้ต้องเททิ้งน้ำนมดิบไปแล้วกว่า 300 ตัน และยังมีปริมาณน้ำนมดิบที่เป็นปัญหาอยู่วันละประมาณ 40 ตัน

นายนนทะชัย  โนนพุทธา ผู้จัดการชุมนุมสหกรณ์โคนมภาคใต้-และภาคตะวันตก วันนี้ ตัวแทนจากสหกรณ์โคนมไทยเดนมาร์ค อ่าวน้อย จำกัด,สหกรณ์โคนมไทยเดนมาร์ค บ้านเนินดินแดง จำกัด , สหกรณ์โคนมไทยเดนมาร์ค ห้วยสัตว์ใหญ่ จำกัด , สหกรณ์โคนมกุยบุรี จำกัด  ,สหกรณ์โคนมไทยเดนมาร์ค ประจวบคีรีขันธ์  จำกัด และสหกรณ์โคนมไทยเดนมาร์ค ชะอำ-ห้วยทราย  จำกัด จ.เพชรบุรี ได้นัดรวมตัวกันเพื่อยื่นเรียกร้องต่อ นายอนุชิต สุกรินทร์  หัวหน้ากองบริหารงานทั่วไป รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าสำนักงาน อ.ส.ค.ภาคใต้ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาน้ำนมดิบอย่างเป็นรูปธรรม โดยได้ยื่นข้อเรียกร้องดังนี้ คือ

1.ขอให้ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานจัดซื้อผลิตภัณฑ์นทโรงเรียน ยู.เอช.ที.(นมกล่อง) แทนผลิตภัณฑ์นมโรงเรียน พาสเจอไรส์ เพื่อให้เด็กนักเรียนให้ดื่มนมอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเป็นการระบายผลิตภัณฑ์นมโรงเรียน ยู.เอช.ที. ของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นม ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมสามารถช่วยเหลือรับซื้อน้ำนมดิบของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมต่อไปได้ในช่วงที่มีมาตรการให้โรงเรียนปิดเรียน และมีแนวโน้มที่จะขยายพื้นที่เพิ่มมากขึ้น

2.ให้รัฐบาลจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างที่เกิดขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงการจัดซื้อผลิตภัณฑ์นมโรงเรียน ยู.เอช.ที. แทน ผลิตภัณฑ์นมโรงเรียน พาสเจอรไรส์ ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานจัดซื้อ หรือผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมโรงเรียนในโครงการอาหารเสริม (นมโรงเรียน)

และ 3. มีมาตรการเป็นการเร่งด่วน เพื่อระบายผลิตภัณฑ์นมโรงเรียนชนิด ยู.เอช.ที.คงเหลือจากผลกระทบวิกฤตโควิด-19 (รอบแรก) ของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมที่ช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม โดยการนำไปผลิตเป็นนมโรงเรียนชนิด ยู.เอช.ที.เอาไว้ทั้งหมด เนื่องจากขณะนี้ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นม มีสต๊อกคงเหลือจำนวนมาก ทำให้ไม่สามารถรับน้ำนมดิบเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมได้

ทั้งสองฝ่ายคือ ฝ่ายสหกรณ์โคนม และ ผ่าย อ.ส.ค.ภาคใต้ ได้ร่วมประชุมเพื่อทางออกร่วมกันนานกว่า 2 ชั่วโมง แต่ก็ไม่ได้ข้อยุติ โดยทาง อ.ส.ค.ภาคใต้ ตอนนี้กำลังผลิตเป็นไปตาม MOU กับสหกรณ์โคนมไทยเดนมาร์กทั้ง 6 แห่ง ในส่วนของน้ำนมดิบส่วนที่เกินเข้ามา เนื่องจากการปิดสถานศึกษาจากสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งเป็นปัญหาระดับชาติ  ต้องรอฟังแนวทางจากผู้บริหารสูงก่อน ตอนนี้ภาพรวมของ อ.ส.ค.ทั่วประเทศมีสต๊อกนมค่อนข้างเยอะ อีกทั้งการจะเพิ่มกำลังการผลิตจะติดปัญหาเรื่องวัสดุหีบห่อ ซึ่งกระบวนการการจัดซื้อ และขนส่ง จะต้องใช้เวลาประมาณ 30 วัน อาจะไม่ทัน ในเรื่องนี้ได้รายงานให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับทราบข้อมูลแล้วเบื้องต้น

ด้านนายนนทะชัย  โนนพุทธา ผู้จัดการชุมนุมสหกรณ์โคนมภาคใต้-และภาคตะวันตก  กล่าวว่าภายหลังประชุม วันนี้ ซึ่งอ.ส.ค.ภาคใต้ ไม่สามารถช่วยเหลือน้ำนมดิบที่เป็นปัญหาของ 3 สหกรณ์โคนมประจวบคีรีขันธ์และเพชรบุรี วันละประมาณ 40 ตันได้ นั้น  ทางสหกรณ์โคนมฯจึงมีความเห็นว่าต้องมีการยกระดับการเรียกร้องตั้งแต่วันพรุ่งนี้เป็นต้นไป เพื่อให้รัฐบาลช่วยเหลือความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นโดยจะนัดรวมตัวกันเทน้ำนมดิบ ที่เป็นปัญหาวันละ 40 ตัน ทุกวันจนกว่าจะได้รับการช่วยเหลือเยียวยา หรือมีทางออกให้เกษตรกรได้ชัดเจนมากกว่านี้

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน