รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมผู้บริหารองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย และหน่วยงานเกี่ยวข้องลงพื้นที่แก้ปัญหาน้ำนมดิบ ส่วนที่เกินเฉลี่ยวันละ 40 ตัน เบื้องต้นให้ อ.ส.ค.ปราณบุรี และ มวกเหล็ก รับน้ำนมดิบส่วนเกินผลิตเป็นนมกล่องยูเอชทีชั่วคราวไปจนถึงกลางเดือนมกราคม เพื่อส่งให้สหกรณ์โคนมฯนำไปจำหน่ายเอง และยอมรับ นมโรงเรียนเกือบห้าแสนถุงที่ค้างในสต๊อกนั้นต้องทิ้ง
วันนี้ (วันที่ 8 มกราคม 21564) นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมผู้บริหารองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย(อ.ส.ค.) ได้เดินทางมาที่สำนักงาน อ.ส.ค.ภาคใต้ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ และเข้าร่วมประชุมกับนายชาตรี จันทร์วีระชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และนายสังวาลย์ โพธิ์มี ประธานกรรมการชุมนุมสหกรณ์โคนมภาคใต้-และภาคตะวันตก นายนนทะชัย โนนพุทธา ผู้จัดการชุมนุมสหกรณ์โคนมภาคใต้-และภาคตะวันตก พร้อมตัวแทนสหกรณ์โคนมไทยเดนมาร์ค 6 แห่งประจวบฯและเพชรบุรี รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาทางแก้ปัญหากรณีน้ำนมดิบในพื้นที่ประจวบฯเพชรบุรี ตามสหกรณ์โคนไทยเดนมาร์ค 6 แห่งและชุมนุมสหกรณ์โคนมภาคใต้-และภาคตะวันตก ได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากมีการประกาศปิดสถานการศึกษาในพื้นที่ไวรัสโควิด-19 ระบาด ส่งผลทำให้สหกรณ์ต่างๆต้องนำน้ำนมดิบทิ้งไปแล้วกว่า 300 ตันเพื่อรับน้ำนมดิบจากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม รวมทั้ง สต๊อกในห้องเย็นของสหกรณ์โคนมไทยเดนมาร์ค ที่ผลิตนมพาสเจอร์ไรส์ นมโรงเรียนเพื่อโครงการอาหารเสริมเท่านั้น และนมเหล่านี้ที่อยู่ในถุงมีระยะเวลา 10 วันเท่านั้นตามาตรฐาน อย. หลังจากนั้นก็จะต้องนำไปทำลายทิ้งต่อไป นอกจากนั้นแล้วยังพบว่าข้อมูลของสหกรณ์โคนมไทยเดนมาร์ค อ่าวน้อย จำกัด มีนมโรงเรียนค้างสต๊อก 14,000 ถุง สหกรณ์โคนมไทยเดนมาร์ค ห้วยสัตว์ใหญ่ จำกัด มีนมโรงเรียนค้างสต๊อก 171,625 ถุง และสหกรณ์โคนม ชะอำ –ห้วยทราย จำกัด มีนมโรงเรียนค้างสต๊อก 200,000 ถุง รวมทั้งหมด 459,975 ถุง และต้องหยุดการผลิตเป็นการชั่วคราว
นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ภาคใต้เป็นพื้นที่มีการเลี้ยงโคนมมาก และมีปริมาณของน้ำนมดิบค่อนข้างเยอะ และมีการพูดคุยกันว่าจะทำยังไงให้ในภาคนี้สามารถรับน้ำนมได้เพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็นการสร้างโรงงานเพิ่มเพื่อให้สามารถรองรับน้ำนมดิบได้มากึงวันละ 200 ตัน ซึ่งจากกรณีปัญหาโควิด-19 เรามีนมโรงเรียนทั้งนมยูเอสที และพาสเจอร์ไรส์ ซึ่งทาง อ.ส.ค.จะรับผลิตนมยูเอสที ทั้งหมดก็มาติดปัญหาเรื่องของสต๊อกและติดปัญหาเรื่องกล่องนม ซึ่งไม่สามารถสั่งมาสต๊อกไว้หลายเดือนได้ ซึ่งข้อจำกัดของการรับนมของเกษตรกรจึงมีข้อจำกัดตามมา ซึ่งตอนนี้มีน้ำนมดิบของเกษตรกรในพื้นที่ประจวบฯและเพชรบุรี ส่วนหนึ่งล้นถึงวันละ 40 ตัน และ กำลังการผลิตของ อ.ส.ค.ทั้งการผลิตนมโรงเรียน และนมพาณิชย์ จึงไม่เพียงพอ
ข่าวน่าสนใจ:
วันนี้น้ำนมดิบ 40 ตันจะไปไหน ซึ่งมีการประสานงานกับทั้งจังหวัด อ.ส.ค. และผู้ประกอบการที่ผลิตนม จนได้ข้อสรุปว่า อ.ส.ค.ภาคใต้ปราณบุรีจะรับได้ 20 ตัน และ ที่ อ.ส.ค.มวกเหล็กรับไป 20 ตัน ในการผลิตเป็นนมกล่องยูเอสที และขอให้ทางผู้ว่าฯประจวบฯช่วยประสานกับทางผู้ว่าฯเพชรบุรี ด้วยเพราะน้ำนมดิบจากเพชรบุรีก็จะเข้ามาที่ อ.ส.ค.ภาคใต้ ด้วยดังนั้นจึงขอให้มีการบูรณาการกันเพื่อดำเนินการในการทำนมพาสเจอร์ไรส์ให้กับโรงเรียนต่อไป
ด้านนายสังวาลย์ โพธิ์มี ประธานกรรมการชุมนุมสหกรณ์โคนมภาคใต้-และภาคตะวันตก นายนนทะชัย โนนพุทธา ผู้จัดการชุมนุมสหกรณ์โคนมภาคใต้-และภาคตะวันตก กล่าวว่า หากทาง อ.ส.ค.ภาคใต้ รับข้อเสนอจากทางสหกรณ์โคนมไทยเดนมาร์ค ที่มายื่นข้อเรียกร้องให้ช่วยเหลือรับน้ำนมดิบที่ล้นอยู่วันละ 40 ตัน เมื่อหลายวันที่ผ่านมา ปัญหาการเทน้ำนมดิบทิ้งทุกวันก็คงไม่เกิดขึ้น ซึ่งวันนี้ทุกสหกรณ์โคนมไทยเดนมาร์คฯที่มาก็ยอมรับในแนวทางแก้ปัญหาถึงจะเป็นระยะสั้นก็ตาม โดยที่ประชุมให้ ให้ทาง อ.ส.ค.ภาคใต้ และ อ.ส.ค มวกเหล็ก รับน้ำนมดิบวันละ 40 ตัน แบ่งที่ละ 20 ตันเพื่อไปผลิตเป็นนมยูเอชที คือนมกล่องโรงเรียนและนมพาณิชย์ ซึ่งจะมีอายุประมาณ 6-8 เดือน โดยค่าขนส่งน้ำนมดิบนั้นทางสหกรณ์โคนมไทยเดนมาร์ค เป็นผู้รับผิดชอบ เมื่อผลิตเสร็จแล้วแต่ละสหกรณ์ก็จะรับผิดชอบในการนำนมกล่องกลับไปจำหน่ายต่อไป ซึ่งแต่ละสหกรณ์โคนมไทยเดนมาร์คประจวบฯเพชรบุรี ก็จะต้องมาประชุมหารือเพื่อการบริหารจัดการต่อไป แต่เป็นการแก้ปัญหาในระยะสั้นตั้งแต่วันพรุ่งนี้ไปจนถึงวันที่ 15 มกราคม 2564 เท่านั้นเพื่อที่จะไม่ต้องทิ้งน้ำนมดิบต่อไป
แต่อย่างไรก็ตามก็จะมีการประเมินสถานการณ์ต่อไป ดังนั้นช่วงนี้แต่ละสหกรณ์ก็สารถรับน้ำนมดิบจากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมต่อไป ก็จะลดผลกระทบความเดือดร้อนไปได้ระยะหนึ่งเท่านั้นเพราะเกษตรกรต้องรีดนมทุกวันเช้า-เย็น ในขณะที่ทางรองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายชาตรี จันทร์วีระชัย ก็จะมีการเรียปประชุมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถานการศึกษาเป็นการเร่งด่วน เพื่อหาทางรับนมพาสเจอร์ไรส์หรือนมโรงเรียนไปส่งยังนักเรียนถึงแม้จะอยู่ที่บ้านก็ตาม เพราะหาดทำได้ทางสหกรณ์โคนมไทยเดนมาร์คฯก็จะสามารถผลิตนมพาสเจอร์ไรส์ต่อไปได้
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: