X

ผู้ประกอบการดำน้ำ โวยแปลงปลูกปะการังเกาะทะลุเสียหายหนัก อธิบดี ทช.สั่งตรวจสอบด่วน

ผู้ประกอบการดำน้ำ ดำน้ำเกาะทะลุ โวยแปลงปลูกปะการังเสียหายยับ   อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นห่วง  สั่งการสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(กรมทช.) ลงพื้นที่ตรวจสอบหาข้อเท็จจริง  

 

(วันที่  2  มีนาคม 2564)  นายประจักษ์ ทองรัตน์  ทองรัตน์  กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรใต้น้ำ ชุมชนบ้านปากคลอง อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์  นำภาพปะการังน้ำตื้น บริเวณเกาะทะลุ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นแปลงปลูกปะการัง  แต่มีสภาพปะการังแตก กิ่งหักเสียหายเป็นพื้นที่กว้าง และบรรยายข้อความว่าพวกเราพยามฟื้นฟู รักษาความสมบูรณ์ทรัพยากรหน้าบ้านเรามาตลอด แต่ ณ เวลานี้เกิดอะไรขึ้น # เกาะทะลุ บางสะพานน้อย ตกลงว่าเป็นการฟื้นฟูเสริมจากการที่ปะการังแตกหักเสียหาย…..หรือว่าเด็ดยอดปักชำ…..กลุ่มเฝ้าระวังดูแลมา 3 ปี นี่หรือนโยบายรัฐ

ล่าสุดหลังจากภาพถ่ายใต้น้ำดังกล่าว ได้ถูกส่งต่อไปยังกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.)  นางสุมณา ขจรวัฒนากุล ผอ. สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(กรมทช.) กล่าวว่าเรื่องดังกล่าวนายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.) ได้ให้ทราบเรื่องและให้ความสนใจต่อกรณีดังกล่าว และสั่งการให้ตนเองติดตามตรวจสอบ และหาข้อมูลรายละเอียดความเสียหายของบริเวณแปลงปะการังตามภาพที่ปรากฏในเบื้องต้นว่าเกิดจาสาเหตุใด  พิกัดที่แน่ชัดอยู่จุดไหนของเกาะทะลุ จ.ประจวบคีรีขันธ์  เบื้องต้นพบว่าบริเวณดังกล่าว กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้มีการว่าจ้างบริษัทดำเนินการปลูกปะการัง ในพื้นที่เกาะทะลุ  เพิ่มเติมในพื้นที่ 25 ไร่ โครงการจะแล้วเสร็จในปี 2564 ซึ่งจุดดังกล่าวตามภาพที่ปรากฏน่าจะอยู่ในพื้นที่เมื่อหันหน้าจากฝั่งเข้าหาเกาะทะลุ น่าจะอยู่ฝั่งฝามือของเกาะก่อนถึงปลายหางเกาะทะลุ  เบื้องต้นสอบถามไปทางบริษัทที่เข้าไปดำเนินการยืนยันเบื้องต้นว่าไม่ได้มีการตัดหรือหักปะการังจากแปลงดังกล่าวแต่อย่างใด

นางสุมณา ขจรวัฒนากุล ผอ. สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.) กล่าวอีกว่า ตามสัญญาทางบริษัทที่เข้าดำเนินการจะต้องเก็บกิ่งพันธุ์ ที่หักเองหล่นตามธรรมชาติเท่านั้น จะไม่ให้ตัดหรือหักกิ่งพันธุ์แต่อย่างใด  และหากทางบริษัทจะดำเนินการตัดกิ่งพันธุ์ก็จะต้องทำหนังสือขออนุญาตจาก กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.) ก่อนหรือมีการอนุญาต อย่างไรก็ตามทางสถาบันวิจัยฯ จะจัดส่งนักวิชาการของสถาบันวิจัยฯลงพื้นที่ไปตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าวอีกครั้งภายใน 2 วันนี้ ซึ่งจะรู้ว่าทางบริษัทมีวีการดำเนินการอย่างไร  และปะการังที่ได้รับความเสียหายเกิดจากสาเหตุใดต่อไป  พร้อมกันนี้จะมีการรายงานให้ทางอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้รับทราบความคืบหน้าต่อไป

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน