ช้างป่าในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน บุกสวนมะละกอ ของชาวบ้านห้วยสัตว์ใหญ่ เสียหายกว่า 100 ต้น คาดเป็นฝีมือของช้างป่า ประมาณ 2-3 ตัว ส่วนที่บ้านของแม่ค้ากล้วยทอด พบว่ากลางดึกที่ผ่านมาพลายบุญมี บุกเข้ามาอีกรอบ รอบนี้รื้อตู้เย็น เครื่องซักผ้าพังประตูห้องน้ำจนเสียหายเพิ่มเติมอีก ล่าสุดวันนี้หน่วยงานในพื้นที่ ช่วยซ่อมแซมบ้านแล้วคาดเสร็จพรุ่งนี้
ข่าวน่าสนใจ:
- มท.1 เยือนจังหวัดนครพนม เปิดงานมหกรรมเทศกาลปลาลุ่มน้ำสงคราม ประจำปี 2567 ครั้งที่ 21 ผลักดัน Soft Power อำเภอศรีสงคราม
- หมดวาระอบจ.ตรัง รุ่งขึ้น “บุ่นเล้ง” เปิดตัวทันควัน ใช้ชื่อ “ทีมนายกบุ่นเล้ง” แทน “ทีมกิจปวงชน” ชูนโยบาย “รวมพลังที่ยิ่งใหญ่ ขับเคลื่อนตรังให้เป็น 1”
- ชาวบ้านยังผวา บ้านสไลด์ตกน้ำบางปะกงตามกัน ไม่กล้าออกไปทำกิน
- “ปลายฝน ต้นหนาว เคาท์ดาวน์ มิวสิคเฟส สุราษฎร์ธานี” ไฮไลท์ประกวดควายไทยมูลค่ากว่า 10 ล้าน
(วันที่ 22 กรกฏาคม 2564 ) นายวุฒิพงษ์ ศรีช่วย ผช.หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน พร้อมด้วย พ.ต.ท.สุวิทย์ มณีวงษ์ ผบ.ร้อย กองกำกับการ 1 ตชด.ค่ายนเรศวร ชุดพัฒนาการเคลื่อนที่ 712 ,นายประทีป กุ้งวงตาล ผู้ช่วยเจ้าพนักงานป้องกัน องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ และสื่อมวลชนลงพื้นที่ สำรวจความเสียหายสวนมะละกอของนายทวัฒน์ พูลผล อายุ 52 ปี เกษตรกรหมู่ 5 ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ หลังจากได้รับแจ้งว่า สวนมะละกอของตนเองถูกช้างป่าในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน บุกเข้ามาทำลาย โค่นต้นมะละกอติดต่อกัน 4 วัน จนต้นมะละกอที่กำลังออกลูกเตรียมเก็บเกี่ยวส่งขายเสียหายอย่างหนักกว่า 100 ต้น
นายทวัฒน์ พูลผล เกษตรกรหมู่ 5 ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ พาเจ้าหน้าที่สำรวจสภาพความเสียหายภายสวนมะละกอ 8 ไร่ พบว่าต้นมะละกอที่กำลังออกลูก ต้นละ 10-20 ลูก กำลังโตเต็มวัยพร้อมเก็บเกี่ยวส่งขายถูกช้างป่าบุกเข้ามาโค่นทำลาย และกินผลผลิตบางส่วน มีผลมะละกอหล่นกระจายอยู่เป็นจำนวนมาก จากการสำรวจพบว่า พฤติกรรมช้างป่าที่เข้ามาส่วนใหญ่จะโค่นต้นมากกว่ากัดกินผลผลิต ซึ่งค่าเสียหายยังไม่สามารถประเมินได้ จากการสำรวจร่องรอยเท้าช้างที่ปรากฏอยู่ในสวน ผช.หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ระบุว่า น่าจะเป็นช้างป่าเพศผู้ขนาดใหญ่ และช้างป่าตัวเล็ก ประมาณ 2-3 ตัว
ด้านนายประทีป กุ้งวงตาล ผู้ช่วยเจ้าพนักงานป้องกัน องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ จากการสำรวจพบว่า มีต้นมะละกอเสียหายทั้งหมด 102 ต้นส่วนใหญ่ต้นหักโค่น ซึ่งทางทางองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ เมื่อรับแจ้งแล้วก็จะออกสำรวจเก็บข้อมูล รายงานให้นายก อบต.ได้รับทราบและทำรายงานเพื่อนำเข้าสู่คณะกรรมการช่วยเหลือประชาชน มีนายก อบต. หรือผู้ได้รับมอบหมายจากนายก ท้องถิ่นอำเภอ ส่วนราชการที่ได้รับ,อบหมายจากอำเภอ ซึ่งใช้งบประมาณของ อบต.ห้วยสัตว์ใหญ่ ที่ผ่านมาจากข้อมูลพบว่าในเดือนกรกฏาคม มีรายงานช้างป่าบุกกักกินพืชเกษตรของชาวบ้าน ตลอดจนทำลายทรัพย์สินชาวบ้านเสียหายเพิ่มขึ้น โดยในส่วนของรายล่าสุดซึ่งเป็นแม่ค้ากล้วยทอด ได้พิจารณาและอนุมัติเงินจัดซื้ออุปกรณ์และวัสดุก่อสร้างไปแล้วจำนวน 8,500 บาท
ด้านนายวุฒิพงษ์ ศรีช่วย ผช.หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน กล่าวว่า ทางเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ได้จัดกำลังเจ้าหน้าที่ออกตระเวนขับไล่เฝ้าระวังช้างป่าที่ออกหากินตั้งแต่ช่วงเย็น ต่อเนื่องไปจนถึงช่วงกลางคืน แต่ด้วยพื้นที่ซึ่งช้างที่กระจายออกหากิน มีหลายจุด ดังนั้นจึงทำให้บางครั้งยังคงมีช้างป่าออกมาสร้างความเสียหายต่อบ้านเรือนและทรัพย์สิน ตลอดพืชผลทางการเกษตร โดยสาเหตุหนึ่งช้างป่าที่เข้ามาในพื้นที่เนื่องจากแนวรั้วกันช้างกึ่งถาวร ของทางภาครัฐที่ทำไว้ได้รับความเสียมานานมากแล้วและไม่มีการซ่อมแซม ส่วนการช่วยเหลือเยียวยานั้นยอมรับว่ายังไม่เข้าหลักเกณฑ์ของการช่วยเหลือเยียยาของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: