ภารกิจช่วย “คุณลุงเลียงผา” ติดโคลนบริเวณชายหาดคุ้งโตนด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
วันที่ 17 มิถุนายน 2565 เวลาประมาณ 10:00 น. ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติ สัตวแพทย์ เจ้าหน้าที่องค์การแพนเทอร่า ประเทศไทย และเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด ร่วมช่วยเหลือเลียงผาพลัดหลงบริเวณบ้านคุ้งโตนด ตำบลเขาแดง อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หลังจากได้รับโทรศัพท์แจ้งข่าวจากพลเมืองดีในชุมชน
ข่าวน่าสนใจ:
เมื่อเดินทางถึงจุดเกิดเหตุ พบเลียงผาเพศผู้ ตัวเต็มวัย สภาพอิดโรย บริเวณขาทั้งสี่ข้างติดอยู่ในดินโคลนชายหาดคุ้งโตนด สัตวแพทย์จึงตรวจประเมินสุขภาพเบื้องต้น พบว่าเลียงผามีอาการอ่อนเพลียจึงฉีดวิตามินเพื่อฟื้นฟูร่างกายและเคลื่อนย้ายขึ้นรถยนต์นำตัวปล่อยสู่พื้นที่ธรรมชาติในเขตอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด
ทั้งนี้อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอดขอบพระคุณพลเมืองดี นายสัตวแพทย์ และเจ้าหน้าที่องค์การแพนเทอร่า ประเทศไทย ที่ร่วมให้กำลังใจและความช่วยเหลือเลียงผา สัตว์ป่าสงวน 1 ใน 19 ชนิดของไทย ไว้ได้อย่างปลอดภัยภายใต้สภาพอากาศที่ร้อนมากของพื้นที่ นับเป็นความโชคดีของคุณลุงเลียงผาที่ได้พบผู้คนใจดีมีจิตเมตตาในครั้งนี้
Ref. https://www.facebook.com/KhaosamroiyotNationalPark/
ข้อมูลเกี่ยวกับเลียงผา
ชื่อภาษาไทย / เลียงผา (เยือง หรือ กูรำ หรือ โครำ)
ชื่อภาษาอังกฤษ / Serow
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ / Capricornis sumatraensis
สิ่งที่น่าสนใจ :
รูปร่างคล้ายแพะ แต่ไม่มีเครา ขนหยาบและยาวกว่า มีสีดำเกือบทั้งตัว หูยาวเหมือนลา มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย เขายาวประมาณ 4 – 8 นิ้ว โคนเขามีหยักเป็นวงรอบ ๆ ปลายเขากลมเรียวโค้งไปข้างหลังเล็กน้อย เท้าของมันแข็งแรงมาก กีบเท้าแข็งแกร่งและสั้น เหมาะที่จะกระโดดไปตามหน้าผา มีต่อมขนาดใหญ่อยู่ใต้ตา
ถิ่นอาศัย :
อาศัยอยู่ในปัญจาบ แคชเมียร์ ทางใต้ของเทือกเขาหิมาลัยไปจนจรดอัสสัม จีนตอนใต้ พม่า ไทย อินโดจีน มาเลเซีย สุมาตรา ไต้หวัน ญี่ปุ่น ในประเทศไทยพบอยู่ตามป่าภูเขา และเกาะต่าง ๆ หลายแห่ง
อาหาร :
อาศัยอยู่ในปัญจาบ แคชเมียร์ ทางใต้ของเทือกเขาหิมาลัยไปจนจรดอัสสัม จีนตอนใต้ พม่า ไทย อินโดจีน มาเลเซีย สุมาตรา ไต้หวัน ญี่ปุ่น ในประเทศไทยพบอยู่ตามป่าภูเขา และเกาะต่าง ๆหลายแห่ง อาหารของเลียงผาได้แก่ ใบไม้อ่อน หน่อพืชบางชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีกลิ่นหอม รวมทั้งกินหญ้า เปลือกไม้ และกิ่งไม้
พฤติกรรม :
ชอบอาศัยอยู่ตามป่าสูงที่มีหน้าผาหรือโขดหินสูงชัน มีชะง่อนผากำบังเพียงพอ หรือเข้าไปอยู่ ในถ้ำที่คนเข้าไปไม่ถึง นิสัยปกติขี้อาย ปกติชอบออกหากิน แต่จะดุเมื่อบาดเจ็บหรือจนตรอก ปกติชอบออกหากินตามลำพังตัวเดียว ออกหากินตอนเย็นและเช้าตรู่ ส่วนตอนกลางวันนอนหลบพักตามป่าละเมาะหรือป่าลึก ๆ สามารถอดน้ำได้นานเป็นสัปดาห์
สถานภาพปัจจุบัน :
เลียงผามีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากถูกล่าอย่างหนัก เพื่อเอาเขา กระดูก และน้ำมันมาใช้ทำยาสมานกระดูก นอกจากนี้พื้นที่หากินของเลียงผาลดลงอย่างรวดเร็วจากการทำการเกษตรตามลาดเขา และบนพื้นที่ที่ไม่ชันจนเกินไป เลียงผาจัดเป็นสัตว์ป่าสงวน 1 ใน 15 ชนิด
อายุเฉลี่ย : มีอายุยืนราว 10 ปี
วัยเจริญพันธุ์ :
เลียงผามีฤดูผสมพันธุ์ประมาณช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ตั้งท้องนาน 7-8 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกเลียงผาพอมีอายุได้สองสามวัน ก็สามารถเดินตามแม่ได้ มันจะอยู่กับแม่นานราว 1 ปี
ที่มา: https://www.zoothailand.org
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: